Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24287
Title: | การพัฒนาระบบสแกนรังสีกระเจิงกลับเพื่อแสดงภาพสองมิติ |
Other Titles: | Development of a radiation backscatter scanning system for two-dimensional imaging |
Authors: | สุภสิทธิ์ คะวีรัตน์ |
Advisors: | สุวิทย์ ปุณณชัยยะ นเรศร์ จันทน์ขาว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การตรวจสอบสิ่งบกพร่องภายในเนื้อโลหะเคลือบผิว โดยใช้เทคนิคการกระเจิงกลับของรังสีสามารถจัดต้นกำเนิดรังสีและหัววัดรังสีไว้ด้านเดียวกันบนระนาบชิ้นงานได้ ทำให้มีข้อได้เปรียบกว่าเทคนิคการส่งผ่านรังสี งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาระบบสแกนข้อมูลการกระเจิงกลับของรังสีบีตาเพื่อสร้างภาพสองมิติจากข้อมูลภาพเชิงตัวเลขแสดงผลทันทีบนจอโทรทัศน์ในระบบสแกนแบบเรียงเส้น ออกแบบระบบกลขับเคลื่อน โปรบวัดรังสีกระเจิงกลับให้เคลื่อนที่บนพื้นที่ขนาด 40x30 ตารางเซนติเมตร มีความละเอียดในการเคลื่อนที่สเต็ปละ 1 มิลลิเมตร โดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ CP-AT32 ควบคุมการเก็บข้อมูลภาพ การแสดงภาพทางจอโทรทัศน์และการโอนถ่ายข้อมูลภาพไปยังไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบสร้างข้อมูลภาพนี้มีความละเอียดภาพ 400x300 จุดภาพ ให้ความเปรียบต่างภาพ 256 ระดับ และสามารถเก็บข้อมูลภาพได้ 2 ภาพบนหน่วยความจำขนาด 320 กิโลไบต์ จากผลการใช้ต้นกำเนิดรังสีบีตาของไอโซโทป Pm-147 ซึ่งมีพลังงาน 223 กิโลอิเล็กตรอนไวลต์ ความแรง 3.85 เมกะเบคเคอรอล และหัววัดไกเกอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร จับโปรบวัดแบบโคแอกเซียล โดยมีช่องบังคับลำรังสีขนาด 1 มิลลิเมตร สแกนข้อมูลภาพด้วยอัตราเร็ว 230 วินาทีต่อเส้นภาพ พบว่า ระบบเก็บข้อมูลภาพทำงานได้ดี สามารถแสดงภาพสิ่งบกพร่องจากผลของรังสีกระเจิงกลับบนชิ้นงานที่เคลือบผิวบาง ด้วยการแจกจงรายละเอียดภาพได้ขนาด 2 มิลลิเมตรและมีความเปรียบต่างของภาพดี ถ้าเปลี่ยนต้นกำเนิดรังสีให้มีพลังงานสูงขึ้น จะสามารถตรวจสิ่งบกพร่องในชั้นผิวได้ลึกกว่านี้ |
Other Abstract: | The use of radiation backscattering technique for inspection of defects in coated-sheet metal gives better advantage than the transmission technique because a set of radiation source and detector can be fixed at the same side of the object. A radiation backscatter scanning system for two dimensional imaging is developed with digital real time displaying on non-interlace scanning system television. The backscattering probe driving mechanism is designed for scanning 40X30 mm2 surface area with 1 mm step resolution. The CP-AT32 microcontroller is employed to control the imaging data collection, real time imaging display on television and data transferring to PC- microcomputer. This scanning system provides an image resolution of 400X300 pixels with 256 contrast levels and can be stored 2 images on 320 kbyte memory capacity. The Pm-147 beta source of 3.85 MBq activity, 223 keV of energy and a 2.5 cm diameter of end-window GM counter are coaxially arranged with 1 mm collimator as a backscatter probe for imaging data collection at a scanning rate of 230 s/scan line. The result reveals that the scanning system is properly operated with 2 mm image resolution and with good contrast. The beta source with higher energy can be used to inspect the deeper defects in coated-sheet metal. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24287 |
ISBN: | 9746368486 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supasit_kh_front.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_ch1.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_ch2.pdf | 6.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_ch3.pdf | 11.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_ch4.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_ch5.pdf | 941.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supasit_kh_back.pdf | 15.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.