Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24308
Title: ระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย
Other Titles: The marketing system of cotton insecticides
Authors: วิชัย ไม้แก่นสาร
Advisors: สมภพ เจริญกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ยาฆ่าแมลง -- การตลาด
ฝ้าย -- แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีการผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าเส้นใยฝ้ายจากต่างประเทศปีหนึ่งๆคิดเป็นมูลค่ากว่าสองพันล้านบาท ดังนั้นรัฐบาลจึงได้พยายามส่งเสริมให้มีการปลูกฝ้ายเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากฝ้ายเป็นพืชไร่ที่มีโรคและแมลงศัตรูรบกวน ซึ่งการปลูกฝ้ายถ้าหากจะได้รับผลดีนั้นจะต้องมีการใช้ยาปราบแมลงศัตรูพืช และมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตฝ้าย และยังผลให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นอันเนื่องมาจากการขายผลิตผลที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการซื้อยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายมาใช้ ซึ่งแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายทางด้านยาปราบศัตรูฝ้ายมากเพียงไรก็ตาม เกษตรกรก็จำเป็นที่จะต้องซื้อมาใช้เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถช่วยเพิ่มผลิตภาพของการผลิตฝ้ายให้สูงขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายมีความสำคัญเช่นที่กล่าวไปแล้ว จึงน่าที่จะให้ความสนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดของธุรกิจยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย เพื่อประโยชน์ในอันที่จะทำให้ปัจจัยการผลิตทางด้านยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายเข้าไปมีส่วนในการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายมากยิ่งขึ้น ในทางที่เหมาะสมซึ่งจะมีส่วนสำคัญช่วยให้เกิดการพัฒนาการเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจของยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ศึกษาถึงส่วนแบ่งตลาดของยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ศึกษาถึงช่องทางการจำหน่ายยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายของบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตรและศึกษาถึงลักษณะการส่งเสริม การจำหน่ายของยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ทั้งนี้มีความมุ่งหวังเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับทางราชการ ในการกำหนดมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายของบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตร รวมทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายต่อไปในอนาคตอีกด้วย ทางด้านข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ส่วนใหญ่ได้มาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายและร้านค้าต่างๆ เป็นจำนวน 200 ตัวอย่างและ 50 ตัวอย่าง ตามลำดับโดยใช้แบบสอบถามทำการเก็บข้อมูลในเขตจังหวัดที่มีพื้นที่การเพาะปลูกฝ้ายมาก จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เลย นครราชสีมา อุทัยธานี และสระบุรี ซึ่งจะทำการแบ่งตัวอย่างของเกษตรกรและร้านค้าไปตามสัดส่วนพื้นที่การเพาะปลูกฝ้าย ของแต่ละจังหวัด เมื่อได้จำนวนตัวอย่างที่เก็บในแต่ละจังหวัดก็ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่มีอคติอย่างง่าย จากสองอำเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับหนึ่ง และอันดับสองในจังหวัดนั้นๆนอกจากนี้แล้วได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิอีกบางส่วนในการศึกษาถึงบทบาทฝ้าย และยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย อันประกอบด้วย ลักษณะของยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายและการผลิต ราคาจำหน่าย ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการจำหน่ายของบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตร ตลอดจนตัวเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ทั้งยังได้ศึกษาถึงส่วนแบ่งตลาด และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย อีกด้วย ข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายส่วนหนึ่งนั้น ได้มาใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 4 ประการ คือ 1. บริษัทผู้ค้าระหว่างประเทศมีส่วนครองตลาดของยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายมากกว่าบริษัทผู้ค้าในประเทศ 2. ผู้ค้าวัสดุการเกษตรยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายไม่นิยมวิธีการขายโดยตรง 3. การโฆษณาทางวิทยุเป็นสื่อโฆษณาที่ให้ผลดีที่สุดในการส่งเสริมการจำหน่าย 4. วิธีการส่งเสริมการขายของผู้ค้าวัสดุการเกษตรที่นิยมใช้ที่สดคือการให้สินเชื่อแก่คนกลาง ซึ่งจากการศึกษาวิจัยนี้ ปรากฏว่าข้อมูลที่รับนั้นแสดงให้เห็นว่า สมมุติฐานทั้งสี่ข้อที่กำหนดไว้เป็นจริง และผลจากการศึกษายังทำให้ทราบถึงลักษณะที่สำคัญต่างๆของการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของระบบการตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ควรจะต้องได้รับการพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง โดยมีสาระสำคัญตลอดจนแนวทางต่างๆสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายและการผลิต ยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายที่ใช้กันอยู่นั้นมีทั้งแบบเป็นน้ำและเป็นผง โดยมีขนาดบรรจุต่างๆกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อเกษตรกรในการหาซื้อและนำไปใช้ ซึ่งยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายนี้ไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ ต้องทำการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา เยอรมันตะวันตก ฯลฯ ในรูปของหัวเชื้อยาหรือยาสำเร็จรูป แล้วค่อยทำการผสม หรือแบ่งบรรจุภายในประเทศ ตามสูตร หรือยี่ห้อต่างๆกันมากมายซึ่งการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายนี้ ทำให้บริษัทผู้ค้าสามารถชักจูงเกษตรกรให้ซื้อสินค้าของตนในราคาที่สูงขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าวนี้ทางราชการควรจะกำหนดให้แต่ละบริษัทฯใช้ชื่อสามัญของยาเป็นหลักควบคู่กับชื่อทางการค้า เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรเข้าใจได้ว่ายี่ห้อใดเป็นยาชนิดเดียวกัน ทำให้เลือกซื้อยาที่มีราคาถูกกว่าไปใช้อันจะทำให้ต้นทุนการผลิตฝ้ายของเกษตรกรลดลง นอกจากนี้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ควรทำการตรวจตราตามร้านค้าเพื่อป้องกันการปลอมปนยา หรือการขายยาที่มีคุณภาพไม่ตรงตามฉลาก แล้วทำการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายวัตถุมีพิษด้วย 2. ราคายาปราบแมลงศัตรูพืช สำหรับตลาดยาปราบศัตรูฝ้ายนั้น มีการกำหนดราคาจำหน่ายโดยการบวกกำไรส่วนเพิ่มเข้าไปในราคาจำหน่าย ทั้งสองระดับ คือระดับราคาขายจากร้านค้าตัวแทนจำหน่ายไปยังผู้ซื้อทั้งหมด และระดับราคาขายจากร้านค้าย่อยไปยังเกษตรกร ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง โดยมีความสัมพันธ์ไปทางบวกตามความรุนแรงในการระบาดของแมลงศัตรูฝ้าย และการแข่งขันของผู้จำหน่ายยาด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตฝ้ายของเกษตรกรโดยตรง ฉะนั้นจึงควรหาทางช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายโดยที่ทางราชการควรมีมาตรการในการควบคุมราคาจำหน่ายของยาให้เหมาะสม รวมทั้งดำเนินการส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนในการผลิตทางอ้อมของหน่วยธุรกิจเอกชน และทำให้ราคาจำหน่ายของยาอยู่ในระดับที่เกษตรกรสามารถหาซื้อไปใช้ในการผลิตฝ้ายโดยได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนทำการผลิตด้วย 3. ช่องทางการจำหน่ายยาปราบแมลงศัตรูฝ้าย ประกอบด้วยช่องทางสำคัญสองช่องทาง ช่องทางแรกจากบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตรขายผ่านร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าย่อยไปเกษตรกรผู้ใช้ ส่วนช่องทางที่สองนั้น เริ่มจากบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตรผ่านเอเย่นต์แล้วไปยังเกษตรกร จากการศึกษาพบว่าบริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตรนิยมใช้ช่องทางการจำหน่าย แบบแรกเป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90 ของร้านค้าทั้งหมดที่ทำการสำรวจ นอกจากนี้ร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างส่วนแบ่งตลาดของหน่วยธุรกิจนั้นๆทั้งนี้เพราะว่าร้านค้าเหล่านี้มีความคุ้นเคยและเป็นที่เชื่อถือของเกษตรกรในท้องถิ่นมาก อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาแนะนำตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุน ยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายและอื่นๆ แก่เกษตรกร จึงทำให้เป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการเลือกซื้อยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายของเกษตรกร 4. การส่งเสริมการจำหน่าย จากการศึกษาพบว่า บริษัทผู้ค้าวัสดุการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการจำหน่ายไปยังเกษตรกร และตัวกลางหลายรูปแบบควบคู่กันไป เช่นการทำแปลงทดลองสาธิต การโฆษณาผ่านสื่อมวลชน และการส่งเสริมการขาย โดยที่สื่อโฆษณาที่บริษัทผู้ค้าฯ นิยมใช้มากที่สุดในการแพร่ข่าวสารข้อมูลไปยังเกษตรกร คือการโฆษณาทางวิทยุ ส่วนการส่งเสริมการขายไปยังร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย หรือเอเย่นต์ที่นิยมใช้มากที่สุด คือการให้สินเชื่อ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เต็มใจที่จะสนับสนุนในการผลักดันยาของบริษัทนั้นๆออกสู่ตลาดให้มากที่สุด อันเป็นผลให้ยอดการจำหน่ายของบริษัทนั้นในตลาดยาปราบแมลงศัตรูฝ้ายเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง 5. เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ผลจากการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ ฐานะเศรษฐกิจในครอบครัวยากจน และส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของที่ดินเองแต่ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ การเป็นเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่สามารถที่จะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันเงินทุนในระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ ซึ่งเป็นผลให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายขาดแคลนเงินทุนที่นำไปใช้ดำเนินการผลิตฝ้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรเหล่านี้ควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือในหลายๆด้าน อาทิเช่น ควรมีการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ให้มากขึ้นเพื่อที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอรับเงินสินเชื่อจากสถาบันเงินทุนในระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งมีการขยายขนาดของสินเชื่อที่ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และควรมีการประกันราคาฝ้ายก่อนฤดูการปลูกเพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตที่ได้ในราคาเหมาะสมอันจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงคุ้มกับการลงทุน และสามารถใช้รายได้ที่ได้จากการเพาะปลูกฝ้ายไปในการดำรงชีพได้อย่างเหมาะสมเพียงพออีกด้วย
Other Abstract: Cotton is one of the major important economic plants of the country. By the fact that its productivity cannot meet the demand of industries, cotton fiber has been imported at about two thousand million Baht per year. The government has realised this situation and has agreed on a policy to promote cotton plantation. However, cotton is very vulnerable to diseases and insects. To obtain a satisfactory yield, which means more income to the planters, special care to cotton must be taken together with a large quantity of insecticides used. This means that cotton planters will have to invest more money. Although a great deal of expenses has been spent on insecticide, it is a "must" to do because this is a mean to increase the productivity. As cotton plantation depends very much on insecticide, the results from the study of cotton insecticide production and marketing system will help in increasing cotton productivity and, in the other end, planters income. This is, in return, the development of agriculture and economics of the country. This thesis has an objective to study the marketing system of cotton insecticide on general economic aspects , its market-shares distribution channels and its promotion with the aim to be a primary source of information in assisting the authority to define a proper measure about cotton insecticide with regards to the benefit of planters and to be used as guidance in setting a marketing policy for private business of cotton insecticide, as well as to be taken as the direction for future analysis of a product in this line. The thesis is based on information and data gathered through interviewing 200 cotton planters and 50 traders, respectively, in 7 provinces i.e. Lopburi, Phetchabul, Nakhonsawan, Loei, Nakhonrajasima, uthaithani, Saraburi, where cotton is commonly cultivated. The selection of representatives was distributed in proportion to the cotton growing areas in each province using an enquiring form. Representatives were then sampled impartially, taken into account the 2 districts in each province that rank the first and second in growing cotton. In addition, part of the secondary information and data was analysed to explain the role of cotton in the economics of the country and cotton insecticides market. The latter covers the nature, types, production, selling prices, distribution channels, marketing promotion taken by cotton insecticide traders, cotton planters, who were the target group of insecticide selling, market share and various typical problems in this business area. Part of the information and data from the study has been used to test the following four hypotheses; 1.International insecticide traders get more market share than local insecticide traders, 2. Cotton insecticide traders do not favour the direct sale method. 3. Radio is the best advertising media in marketing promotion. 4. The most popular sale promotion used by cotton insecticide traders is through credit sales. The study has proven that the above hypotheses are correct. The results from the study also reveal some significant nature and aspects of insecticide market which affects the efficiency of its marketing system both at present and in future and, therefore, should be improved as follows 1.Cotton insecticides are available in the market in both powder and liquid forms with different pack sizes for convenience in carrying and using. The products cannot be produced domestically, but have to be imported from overseas e.g. USA, West Germany, etc, in the form of concentrate or finished products and then mixed and repacked by local traders and sold in various different brand names. The differentiation in brand names by the traders for persuasive purposes has misled cotton planters to buy the product in a higher price. To eliminate this problem, the government should enforce the trading companies to declare the common name in couple with brand name. This will help the farmers to classify the same type of insecticide in different brand names. Furthermore, relevant authorities should regularly investigate the traders shops to prevent adulteration and selling of products with quality not in accordance with those declared on label and take judicial action to dishonest traders. 2. The selling prices of cotton insecticide is fixed by addition of profit in 2 levels i.e. from wholesalers or in other word supplier's agent to buyers and retailers to planters, These two prices fluctuate in relation to the severity of epidemic in plantation and traders1 competition. It has direct effects to production cost of cotton plantation. Therefore, to help the cotton planters, government should establish a proper measure of price control on cotton insecticide, provide an investment promotion scheme to the cotton insecticide manufacturers and importers. This will indirectly reduce the cost of manufacturing and results in the reduction of insecticide selling price to the level that cotton planters can effort it. The distribution of cotton insecticide is mainly through 2 channels. First channel is from agricultural trading companies to wholesalers, retailers and planters. Second channels is from agricultural trading companies to wholesalers and then to planters. The results of the study show that the majority of agricultural trading companies, 90% of the traders under this survey, prefers the first one. However, the wholesalers play a significant roles in the market share of this business because they have close contact with planters and are always taken as an adviser on insecticide, supporter of investment capital and therefore have important influence on planters in making the final selection of insecticide. About the promotion, it is found that trading companies have used various means with planters and middlemen e.g. demonstrative pilot scale plantation, advertisement via mass media and sale promotion. The commonly used media for information propaganda is through radio. The mean for sale promotion is to extend purchasing credit to agent. This can motivate the traders to contribute in releasing as much as possible the products into the market and then the increase of sale volume. The study found that most cotton planters are low educated, poor and own the land without a legal right. This prevents them to obtain a low interest loan from financial institutes resulting in the lack of investment capital to improve the production. The government should, therefore, accelerate the issuance of legal documents, so that they can use it as a guarantee in getting the mentioned loan. In addition, concerned authorities must increase the credit to planters, set a price guarantee scheme before the growing season to ensure that their crops are sold in a reasonable price which will help them to have
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24308
ISBN: 9745633216
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_Ma_front.pdf793.38 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Ma_ch1.pdf443.49 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Ma_ch2.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_Ma_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_Ma_ch4.pdf800.12 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Ma_back.pdf622.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.