Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24323
Title: การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวของการบัณฑิตศึกษา ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปีงบประมาณ 2521 - 2523
Other Titles: An analysis of cost per head in the graduate education of Chulalongkorn University during the fiscal year of 1978 - 1980
Authors: กุลวิตรา หรยางกูร
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์จะทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวของการบัณฑิตศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปีงบประมาณ 2521-2523 โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรายหัวของการบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ คือ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษย์ศาสตร์ โดยวิเคราะห์จำแนกตามแหล่งที่มาของเงิน คือ จากเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณ การรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่าย ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายทางตรงในการผลิตนิสิตจากเงินของคณะวิชา และสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย และค่าใช้จ่ายทางอ้อม จากแผนงานบริหารทั่วไป และแผนงานวิจัย การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัว ได้แยกการวิเคราะห์ออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวของการบัณฑิตศึกษาแต่ละคณะในรูปของ ค่าดำเนินการ ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี และค่าใช้จ่ายงบกลาง และวิธีที่ 2 วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในรูปของค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายแปรได้ จากผลการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวตามวิธีที่ 1 พบว่า สำหรับปีงบประมาณ 2521 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 30,205 บาท เป็นค่าดำเนินการ 24,077 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 4,803 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,325 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 14,061 บาท เป็นค่าดำเนินการ 11,329 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,401 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,325 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 17,459 บาท เป็นค่าดำเนินการ 14,972 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,162 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,325 บาท สำหรับปีงบประมาณ 2522 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 36,728 บาท เป็นค่าดำเนินการ 29,390 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 5,974 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,364 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 16,625 บาท เป็นค่าดำเนินการ 13,712 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,549 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,364 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 22,939 บาท เป็นค่าดำเนินการ 20,151 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,424 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,364 บาท สำหรับปีงบประมาณ 2523 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 41,155 บาท เป็นค่าดำเนินการ 32,560 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 7,085 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,520 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 18,329 บาท เป็นค่าดำเนินการ 14,983 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,826 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,520 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 21,586 บาท เป็นค่าดำเนินการ 18,488 บาท ค่าใช้จ่ายลงทุนประจำปี 1,578 บาท และค่าใช้จ่ายงบกลาง 1,520 บาท สำหรับผลการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวตามวิธีที่ 2 พบว่า ในปีงบประมาณ 2521 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 30,205 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 20,850 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 9,355 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 14,061 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 9,260 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 4,801 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 17,459 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 11,819 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 5,640 บาท ในปีงบประมาณ 2522 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 36,728 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 24,755 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 11,973 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 16,625 บาท เป็น 10,570 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 5,955 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 22,939 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 16,259 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 6,680 บาท ในปีงบประมาณ 2523 คณะวิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 41,155 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 27,795 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 13,360 บาท คณะวิชาทางสาขาสังคมศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 18,329 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 11,918 บาท และค่าใช้จ่ายแปรได้ 6,411 บาท และคณะวิชาทางสาขามนุษย์ศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรายหัว 21,586 บาท เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ 15,193 บาท ค่าใช้จ่ายแปรได้ 6,393 บาท จากการศึกษาพบว่า การหาแนวโน้มของค่าใช้จ่ายรายหัวในอนาคต ผู้ศึกษาควรจะคำนึงถึง ค่าใช้จ่ายแปรได้ เพราะค่าใช้จ่ายประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนการผลิตนิสิตและจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย คือมหาวิทยาลัยควรทำการสำรวจภาวะการณ์ว่างงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประเมินผลการทำงานของนิสิตนักศึกษาจากนายจ้างและศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้อาคาร ห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดมาตรฐานค่าใช้จ่ายรายหัว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตั้งงบประมาณประจำปีของรัฐบาล
Other Abstract: The purpose of this thesis was to analyze the cost per head in graduate education of Chulalongkorn University during the fiscal year 1978-1980. A comparison was made between the cost per head in graduate education in Sciences, Social Sciences and Humanities in terms of government budget received and expenditures from university revenue. These cost data were collected as direct costs from faculties and the Graduate School Funds and as indirect costs from the operating funds of the Central administration and the various research institutes. The analysis was carried out in two ways: first, the cost per head was analyzed into operating cost, annualized capital cost and central cost, and second, the cost per head was analyzed into fixed cost and variable cost. The result of the analysis in the first category was as follows: In the fiscal year 1978, the cost per head in graduate education in Science was 30,205 Bahts, being operating cost 24,077 Bahts, annualized capital cost 4,805 Bahts and central cost 1,325 Bahts. In Social Sciences, it was 14,061 Bahts, being operating cost 11,329 Bahts, annualized capital cost 1,407 Bahts and central cost 1,325 Bahts. In Humanities, it was 17,459 Bahts, being operating cost 14,972 Bahts, annualized capital cost 1,162 Bahts and central cost 1,325 Bahts. In the fiscal year 1979, the cost per head in graduate education in Science was 36,728 Bahts, being operating cost 29,390 Bahts, annualized capital cost 5,974 Bahts and central cost 1,364 Bahts. In Social Sciences, it was 16,625 Bahts, being operating cost 13,712 Bahts, annualized capital cost 1,549 Bahts and central cost 1,364 Bahts. In Humanities, it was 22,939 Bahts, being operating cost 20,151 Bahts, annualized capital cost 1,424 Bahts and central cost 1,364 Bahts. In the fiscal year 1980, the cost per head in graduate education in Science was 41,155 Bahts, being operating cost 32,550 Bahts, annualized capital cost 7,085 Bahts and central cost 1,520 Bahts. In Social Sciences, it was 18,329 Bahts, being operating cost 14,983 Bahts, annualized capital cost 1,826 Bahts and central cost 1,520 Bahts. In Humanities, it was 21,586 Bahts, being operating cost 18,488 Bahts, annualized capital cost 1,578 Bahts and central cost 1,520 Bahts. The results of the analysis in the second category was as follows: In the fiscal year 1978, the cost per head in graduate education in Science was 30,205 Bahts, being fixed cost 20,850 Bahts and variable cost 9,355 Bahts. Is Social Sciences, it was 14,061 Bahts, being fixed cost 9,260 Bahts and variable cost 4,801 Bahts. In Humanities, it was 17,459 Bahts, being fixed cost 11,819 Bahts and variable cost 5,640 Bahts. In the fiscal year 1979, the cost per head in graduate education in Science was 36,728 Bahts, being fixed cost 24,755 Bahts and variable cost 11,973 Bahts. Is Social Sciences, it was 16,625 Bahts, being fixed cost 10,670 Bahts and variable cost 5,955 Bahts. In Humanities, it was 22,939 Bahts, being fixed cost 16,259 Bahts and variable cost 6,680 Bahts. In the fiscal year 1980, the cost per head in graduate education in Science was 41,155 Bahts, being fixed cost 27,795 Bahts and variable cost 13,360 Bahts. Is Social Sciences, it was 18,329 Bahts, being fixed cost 11,918 Bahts and variable cost 6,411 Bahts. In Humanities, it was 21,586 Bahts, being fixed cost 15,193 Bahts and variable cost 6,393 Bahts. Furthur analysis revealed that in projecting the cost per head in the future, researchers should focus their attention to variable costs since these costs will vary in direct proportion to the number of graduate students, while rate of inflation nust also be taken into consideration. It is also recommended that Universities should make a survey of the unemployment situation, evaluate the efficiency of the post graduates in their work from employees and the efficient use of institutional buildings and teaching facilities. Finally, every university should complete its cost per head in the graduate education which can then be used in arriving at standard cost per head in graduate education to be used in allocating government budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24323
ISBN: 9745616273
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulvitra_Ho_front.pdf600.82 kBAdobe PDFView/Open
Kulvitra_Ho_ch1.pdf522.81 kBAdobe PDFView/Open
Kulvitra_Ho_ch2.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Kulvitra_Ho_ch3.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Kulvitra_Ho_ch4.pdf426.87 kBAdobe PDFView/Open
Kulvitra_Ho_back.pdf617.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.