Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24348
Title: พฤติกรรมการถือสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทในประเทศไทย
Other Titles: The Behavior of Thai Corcorate Liquid Assets Holdings
Authors: นพวรรณ โอภานุรักษ์
Advisors: โสตถิธร มัลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานศึกษาฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบพฤติกรรมการถือสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี 2536-2544 โดยใช้ข้อมูลงบการเงินบริษัทแบบรายไตรมาสและอาศัยการประมาณค่าตามแบบจำลอง Time-series Autoregression, แบบจำลอง Fix Effect Panel Data และแบบจำลอง Cross-sectional Regression ผลการศึกษาพบว่า บริษัทเหล่านี้มีพฤติกรรมการถือสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อให้สอดคล้องกับระดับเป้าหมาย โดยระดับเป้าหมายนี้ได้ถูกกำหนดอย่างมีนัยสำคัญจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของกระแสเงินสดรับและจ่าย อันได้แก่ ขนาดบริษัท ความแปรปรวนของกระแสเงินสด กระแสเงินสดรับ และปัจจัยด้านการจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีผลต่อระดับการถือสินทรัพย์สภาพคล่องในทิศทางที่สูงขึ้น ส่วนปัจจัยค่าใช้จ่ายในการลงทุน และระดับเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ มีผลต่อการถือสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทในทิศทางที่ลดลง ในขณะเดียวกันไม่พบว่าโอกาสในการเติบโตมีผลต่อระดับการถือสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัท นอกจากนั้น การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเงินสดส่วนเกินกับค่าใช้จ่ายลงทุนในช่วงเวลาถัดไปเปรียบเทียบกันระหว่างบริษัทสองกลุ่ม พบว่าบริษัทที่มีโอกาสในการเติบโตต่ำมีความพยายามสะสมสิทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินเพื่อนำไปใช้จ่ายลงทุนในช่วงเวลาถัดไปอย่างเห็นได้ชัด สิ่งนี้จึงยืนยันให้เห็นถึงปัญหา Agency Cost ของบริษัทที่มีโอกาสในการเติบโตต่ำเหล่านี้ในการใช้แหล่งเงินทุนภายในไปลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์แก่ฝ่ายบริหาร โดยเป็นการสร้างต้นทุนให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุนแทน สอดคล้องกับแนวคิด Free Cash Flow ของ Jensen (1986)
Other Abstract: This study examined the behavior of non-financial firms in liquid assets holdings. The focus of this study was on the firms listed on the stock Exchange of Thailand during the year 1993-2001. Data came from the Quarterly financial statement. Time-series Autoregressive (AR) Model, Fixed-Effect Panel Data Model, and Cross-sectional Regression Model were adopted to estimate the behavior. The empirical results expressed that these firms had the target level of liquid assets holdings which depended positively on firm size, the level of cash flow, cash flow variation and dummy variable of dividend payout, conversely on the level of net working capital and capital expenditure, and unrelated with growth opportunities. In addition, when testing relationship between excess liquid assets holding and capital expenditure in the next period, we found evidence that firms with low growth opportunities tended to accumulate more liquid assets for capital expenditures investment. This evidence indicated the agency problem in managing liquid assets of these firms, which led to the inefficiency in the utilization of internal capital and the costs to shareholders and external investors of these problem firms. Therefore, this hinding was consistent with the Free Cash Flow theory of Jensen (1986).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24348
ISBN: 9741714475
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppawan_op_front.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch1.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch2.pdf10.5 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch3.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch4.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch5.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_ch6.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Noppawan_op_back.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.