Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2439
Title: Relationship between extubation failure and pulmonary arterial hypertension after corrective congenital heart surgery in children
Other Titles: ความสัมพันธ์ระหว่างความล้มเหลวในการถอดท่อช่วยหายใจและภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดไปปอด (พัลโมนารี อาเทอรี) สูงภายหลังการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก
Authors: Jule Namchaisiri
Advisors: Kittisak Kulvichit
Somart Charuluxananan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Subjects: Pulmonary artery
Congenital heart disease
Hypertension
Issue Date: 2002
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Objective: 1. To determine the relationship between extubation failure and postoperative pulmonary hypertension after congenital heart surgery. 2. To apply the result to the selective criteria for fast-track patients for better postoperative care. Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: A cohort study from April 2002 to January 2003 contained seventy five patients composed of 19 exposed and 56 non-exposed. The patients underwent surgical correction of the high pulmonary blood flow typed congenital cardiac abnormalities were enrolled in this study. The pulmonary arterial pressure was measured after the operation was finished. The exposed group were patients who had a mean pulmonary arterial pressure greater than 25. The extubation failure group were patients who had the endotracheal tube in place for more than 24 hours. The demographic characteristics i.e. age, gender, body weight, height and body surface area, intraoperative data i.e. cross clamp time, cardiopulmonary bypass time, pulmonary arterial pressure and extubation time were recorded. Result: The incidence of the extubation failure in the exposure group was 73.7% ( 14 in 19 patients) and in the unexposure group was 16.1% (9 in 56 patients). The relative risk (risk ratio) was 4.58 (95% CI = 2.38-8.84). The complex congeniatl defects group had relative risk of 7.24 to extubation failure. There was no strong correlation (highest Pearson?s correlation coefficient was 0.50) between pulmonary arterial pressure and other variables including intubated duration. The cardiopulmonary bypass time was positively correlated to the intubated duration (Spearman's rho = 0.647). The negatively correlated were found with body weight, height and body surface area (Spearman?s rho = -0.645, -0.634 and -0.638 respectively). The multivariate analysis using multiple logistic regression showed the odds ratio of 7.81, 1.05 and 13.24 for pulmonary hypertension, aortic cross clamp time and the complexity of the defects respectively. Conclusion: The postoperative pulmonary hypertension had a statistically significant to be a risk factor for extubation failure. Furthermore, the complexity of the defects, the aortic cross clamp time, the cardiopulmonary bypass time and the small size patient should be considered as risk factors to extubation failure as well.
Other Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจและภาวะความดันของหลอดเลือดไปปอดสูง ภายหลังการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในเด็ก ว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันของหลอดเลือดไปปอดสูง จะมีโอกาสเกิดความล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ความดันของหลอดเลือดไปปอดปกติหรือไม่ และระดับของความดันของหลอดเลือดไปปอดสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่ รูปแบบการทดลอง: การวิจัยแบบสังเกตเชิงวิเคราะห์ชนิด cohort สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของหัวใจชนิดที่มีเลือดไปปอดมากกว่าปกติ และมาทำการผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เมษายน 2545 ถึงมกราคม 2546 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 75 ราย โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันในหลอดเลือดไปปอดสูงหลังผ่าตัด 19 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่หลังผ่าตัดมีความดันในหลอดเลือดไปปอดปกติ 56 ราย การวัดความดันในหลอดเลือดไปปอดทำบนเตียงผ่าตัดหลังจากผ่าตัดรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้วและพร้อมจะเย็บปิดแผลที่หน้าอก ผู้ป่วยที่มีความดันในหลอดเลือดไปปอดสูงได้แก่ผู้ที่มีค่าความดันมากกว่า 25 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยที่จัดว่าเกิดความล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจได้แก่ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง ข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนักตัว ส่วนสูง ระยะเวลาที่ต้องใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม ระยะเวลาที่หัวใจขาดเลือดขณะผ่าตัด ความดันในหลอดเลือดไปปอดหลังจากผ่าตัดและระยะเวลาที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ จะถูกเก็บรวบรวมเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา: พบมีภาวะล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 73.7 (14 จาก 19 ราย) และในกลุ่มไม่เสี่ยงร้อยละ 16.1 (9 จาก 56ราย) ผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะความดันหลอดเลือดไปปอดสูงจะมีค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ 4.58 (ค่าความเชื่อมั่น 95% เท่ากับ 2.38-8.84) ต่อการเกิดภาวะล้มเหลวในการถอดท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจชนิดที่ซับซ้อนจะมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อภาวะล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจเท่ากับ 7.24 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน (ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 0.5) ของค่าความดันของหลอดเลือดไปปอดกับตัวแปรใดๆ รวมทั้งระยะเวลาที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจด้วย ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจกับตัวแปรต่างๆ พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทางบวกกับระยะเวลาของการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม (ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.647 ) และมีความสัมพันธ์ไปในทางลบกับน้ำหนักตัว ส่วนสูงและพื้นที่ผิวของร่างกาย (ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ -0 .645, -0.634 และ -0.638 ตามลำดับ) การวิเคราะห์เพื่อดูความสำคัญของตัวแปรหลายตัวแปรพร้อมกัน พบว่าค่าความดันหลอดเลือดไปปอดสูง ระยะเวลาที่หัวใจขาดเลือดระหว่างผ่าตัดและความซับซ้อนของความผิดปกติมีค่าโอกาสเสี่ยงเท่ากับ 7.81, 1.05และ 13.24 ตามลำดับ สรุป: จากการศึกษาพบว่า ภาวะความดันของหลอดเลือดไปปอดสูงหลังการผ่าตัดรักษาหัวใจผิดปกติชนิดที่มีเลือดไปปอดมากกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการเกิดภาวะล้มเหลวในการถอดท่อช่วยหายใจ นอกจากนี้ความซับซ้อนของความผิดปกติของหัวใจ ระยะเวลาที่หัวใจขาดเลือดระหว่างผ่าตัด ระยะเวลาของการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมและผู้ป่วยที่มีขนาดตัวเล็กน่าจะพิจารณาเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มเหลวของการถอดท่อช่วยหายใจเช่นกัน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2002
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Health Development
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2439
ISBN: 9741717156
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jule.pdf412.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.