Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24400
Title: การจำแนกชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณแนวปะการัง เกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Identification and distribution of coral reef fish larvae at Khangkhao island, Chonburi province
Authors: นิพัทธ์ ส้มกลีบ
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
อภิชาติ เติมวิชชากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณแนวปะการังเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2544 ถึงเดือนกันยายน 2545 โดยทำการเก็บตัวอย่างทุกสองเดือน ในเวลากลางวันและกลางคืน จุดเก็บตัวอย่างแบ่งออก 12 สถานี รอบเกาะตามลักษณะชายหาด และแนวปะการังตลอดจนระยะห่างจากฝั่ง พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการตรวจวัดความเค็ม อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบร่วมกับปลาวัยอ่อนไปควบคู่กันด้วย พบปลาวัยอ่อนที่ได้จากถุงลากแพลงก์ตอน 43 วงศ์ โดยมีปลาวัยอ่อนในวงศ์ Engraulidae ปริมาณมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วงศ์ Gobiidae, Apogonidae, Carangidae, Cynoglossidae และ Nemipteridae ตามลำดับ ส่วนปลาวัยอ่อนที่ได้จากกับดักแพลงก์ตอนมีจำนวน 6 วงศ์ โดยปลาวัยอ่อนวงศ์ Pomacentridae มีปริมาณมากที่สุด ในจำนวนวงศ์ของปลาวัยอ่อนที่พบบริเวณรอบเกาะค้างคาวนี้ พบปลาที่จัดว่าเป็นปลาในแนวปะการังรวมทั้งสิ้น 19 วงศ์ โดยมีกลุ่มปลาที่อาศัยอยู่ถาวรในแนวปะการังและแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ปลาวัยอ่อนในวงศ์ Apogonidae, Pomacentridae, Gobiidae, Monacanthidae, Carangidae และ Sphyraenidae ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือปลาที่อาศัยแนวปะการังและแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงเพียงช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น เช่น ปลาวัยอ่อนในวงศ์ Serranidae, Labridae หรือวงศ์ Chaetodontidae ปริมาณปลาวัยอ่อนที่จัดว่าเป็นปลาในแนวปะการังนี้มีความแตกต่างกันในแต่ละเดือนและในแต่ละสถานีที่ทำการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายของปลาวัยอ่อนในแนวปะการังนอกจากลักษณะชายหาดและแนวปะการังแห่งนี้ ได้แก่ ปริมาณอาหารคือแพลงก์ตอนสัตว์, ผู้ล่าและความเค็มของน้ำ
Other Abstract: Identification and distribution of coral reef fish larvae at Khangkhao Island, Chonburi Province, were carried out during June 2001 to September 2002. Sampling periods were scheduled bimonthly with day and night samplings. The total of 12 stations were monitored around the island according to the shore profile, reef conditions and the distance from shore. Salinity, temperature dissolved oxygen and zooplankton were recorded in situ. Of the total 43 families of fish larvae were recorded from the area by plankton tows, Fish larvae in the family Engraulidae was the dominant groups. Fish larvae in the families of Gobiidae, Apogonidae, Carangidae, Cynoglossidae and Nemipteridae were next in term of abundance. Only 6 families of fish larvae were recorded in the demersal traps. Fish larvae in the family Pomacentridae was the dominant group in the demersal traps. The reef in Khangkhao Island, Chonburi Province served as nursing ground, feeding and shelters for 19 families of true coral reef fishes. True reef residents found in the area were Apogonidae, Pomacentridae, Gobiidae, Monacanthidae, Carangidae and Sphyraenidae. Other Fishes such as family Serranidae, Labridae or Chaetodontidae were temporary visitor. These coral reef fish larvae show spatial and temporal variation in term of abundance. Apart from the reef conditions, the fish larval distributions showed significant correlations with food abundance as zooplankton, predator and salinity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24400
ISBN: 9741723792
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipat_so_front.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_ch1.pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_ch2.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_ch3.pdf47.49 MBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_ch4.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_ch5.pdf918.99 kBAdobe PDFView/Open
Nipat_so_back.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.