Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24497
Title: การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในพุทธปรัชญาเถรวาท กับพุทธปรัชญามหายาน
Other Titles: A comparative study of the concept of the Buddha in Theravada and Mahayana philosophy
Authors: ผุดพรรณ ศุภพันธุ์
Advisors: วิจิตร เกิดวิสิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พระพุทธเจ้า
พุทธปรัชญา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในพุทธปรัชญาเถรวาทและพุทธปรัชญามหายานในแง่เปรียบเทียบ ในพุทธปรัชญาเถรวาท พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ตั้งปณิธานมุ่งบำเพ็ญบารมีมาแต่ในอดีตชาติ ในฐานะพระโพธิสัตว์เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์พระสัมมาสัมพุทธะ เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีถึงขั้นที่จิตมุ่งมั่นต่อพุทธภูมิก็จะได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่าจะได้ตรัสรู้ในอนาคต จากนั้นพระโพธิสัตว์ก็จะบำเพ็ญบารมีต่อมาจนกระทั่งได้ตรัสรู้และเข้าถึงภาวะการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 อันเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติตามสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ในพุทธปรัชญามหายาน มีการแบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท คือ พระอาทิพุทธะ พระมานุสสพุทธะ พระธยานิพิทธะ โดยพระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธะองค์แรกที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลก และเป็นบ่อเกิดแห่งพุทธะองค์อื่น พระมานุสสพุทธะจะมีลักษณะเหมือนกับพระพุทธเจ้าฝ่ายเถรวาทและหมายถึงองค์เดียวกัน ส่วนพระธยานิพุทธะนั้นกำเนิดจากอำนาจฌาณของพระอาทิพุทธะ พระธยานิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่มีลักษณะคล้ายเทพเจ้า มีลักษณะเป็นสัมโภคกาย ประทับอยู่ในพุทธเกษตรต่าง ๆ ในโลกธาตุอื่น ๆ และเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพสักการะเด่นชัดที่สุด ส่วนความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ถือเป็นแกนกลางที่สำคัญและเป็นจุดมายแรกของฝ่ายพุทธปรัชญามหายาน อนึ่งการเป็นพระโพธิสัตว์ในมหายาน มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ เข้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้า และมีความกรุณาช่วยเหลือ และเสียสละเพื่อผู้อื่น สำหรับเรื่องบารมีซึ่งพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู้ ถือเป็นหมวดธรรมที่สำคัญที่สุด ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในเถรวาทและมหายาน เหมือนกันในแง่ที่ว่า ได้เคยมีพระพุทธเจ้ามาเป็นจำนวนมากมายมาแล้วในอดีต พระพุทธเจ้าในเถรวาทและพระมานุสสพุทธในมหายานจะต้องบำเพ็ญบารมีมาแต่อดีตชาติในฐานะพระโพธิสัตว์ จนพระชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้จะมีมหาปุริสลักษณะ 32 และทรงบำเพ็ญเพียรจนได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 หนทางแห่งความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าจะเป็นผู้ชี้แนะ สั่งสอน นำทางให้มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข การปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจะช่วยทำให้ชีวิตพ้นจากวัฏสงสาร และถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนในแง่ที่ต่างกันคือ ฝ่ายมหายานจะเพิ่มเติมลักษณะพระพุทธเจ้าอีก 2 ประเภท คือ พระอาทิพุทธซึ่งอุบัติขึ้นมาพร้อมโลก และพระธยานิพุทธที่เกิดจากอำนาจฌานของพระอาทิพุทธ อยู่ในฐานะสัมโภคกาย สถิตอยู่ในพุทธเกษตร พระธยานิพุทธได้รับการ เคารพบูชามากที่สุดในมหายาน พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน คือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือแล้ว ไม่มีการกลับมาเกิดใหม่ ส่วนในพุทธปรัชญามหายานนั้นนิพพานหมายถึงสภาวะหมดกิเลสแต่ถือว่าสำคัญน้อยกว่าการสถิตย์อยู่ในสวรรค์, การช่วยเหลือชาวโลกของพระพุทธเจ้า ผู้วิจัยพบว่า วิถีทางของการปฏิบัติของศาสนิกทั้ง 2 นิกายจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพระพุทธเจ้า เนื่องจากในเถรวาทมีพระพุทธเจ้าประเภทมานุสสพุทธะการปฏิบัติบูชาจะเน้นให้บุคคลปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์โดยมีการกราบไหว้บูชาขออำนาจพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครอง ทั้งนี้บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความดีเป็นสำคัญ ส่วนในมหายานมี พระพุทธเจ้าประเภท อาทิพุทธะ และธยานิพุทธะ ซึ่งชาวพุทธมหายานมีความศรัทธาว่าจะเป็นผู้คอยช่วยเหลือและนำทางให้ตนพ้นทุกข์และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยการเคารพสักการบูชา สวดอ้อนวอน ภาวนาพระนามพระพุทธเจ้า เด่นชัดกว่าการปฏิบัติแบบเน้นการพึ่งตนเองของเถรวาท
Other Abstract: This thesis is intended for comparative study of the concept about Buddha in Theravada Philosophy and in Mahayana Philosophy According to Theravada Philosophy, the Buddha is a real human being, as well as a historic person who, as Bodhisattva, had had strong resolution since the past life to achieve the enlightenment to be Buddha. In details, when Bodhisattva had meditated to the stage that his mind attached to Buddhabhumi, he would receive the prophecy from one of any Buddhas about his future success in attaining enlightenment. Then after continuing meditation to enlight, Bodhisttva became Buddha and what he enlightened was ‘The Four Noble Truths’ which was guiding rle of mankind’s salvation from suffering. In Mahayana Philosophy, Buddha was classified into 3 types Adi-Buddha, Manussa-Buddha and Dhyani-Buddha. Adi-Buddha was the first Buddha who existed with the earth and was origin of the other Buddhas. Manussa-Buddha was similar to the Buddha of Theravada and meant the same. Dhyani-Buddha originated from the power of Jhana of Adi-Buddha and was resemble eternal spirits in respect of sambhogakaya. In addition Dhyani-Buddha was in various Buddhaksetra in other material worlds and remarkably received the highest worship. The Bodhisattva doctrine was the most important and meant to be the first aim of Mahayana. Being Bodhisattva in Mahayana, there were two important points. First it was to realize the being of Buddha and, secondly, was to help and devote for others. However Paramita which Bodhisattva had to practice to attain enlightenment was most important category of Dharma. In conclusion, the concept about Buddha in Theravada and Mahayana in similar in some aspects. That is, there had been many of Buddhas in the past. Both Buddha in Theravada and Manussa-buddha in Mahayana, as Bodhisattva, had compulsorily practiced for Paramita until the last stage with 32 Mahapurusalaksana to enlighten ‘The Four Noble Truths’ which was the salvation from suffering. Buddha had taught, preached and led mankind and living creatures to live tolerably in peace and happiness and undertaking the doctrine of Buddha, prevented life from the wheel of death and birth. However there were some differences between these two schools of Buddhism, that was the two additional aspects of Buddha in Mahayana. First of all Adi-Buddha which took place together with the earth and secondly dhyani-buddha which came from the power of Jhana of Adi-Buddha in the position of Sambhogakaya in Buddhaksetra. This Dhyani-Buddha gained the greatest worship in Mahayana. Theravada Philosphy believes that Buddha has come to the stage of Anupadisesanibbana which means the extinction of Kilesa. There is No either Pancakkhandha or reincarnation. But Nibbana in Mahayana Philosophy means stage without KiLesa which is less important than existing in heaven and salvaging mankind of Buddha. It is found that the practices of both schools were rather different according to the perceptual characteristics of their particular Buddha. In Theravada Philosophy, the Buddha was of Manussa – Buddha. This belief led to the practices which emphasized the buddha’s words as things to be followed and the paying of homage to the Buddha for this sarcred power. In Mahayana Philosophy, however, there had been buddhas who were of Adi – Buddha and Dhyani – Buddha. The Mahayana followers believed that buddhas were their helper as well as guiders who could lead them out of their dhuka and to a better life. To achieve these goals, they would offer offerings to the Buddha and prayed by mentioning the Buddha’s name. Their praying was more obvious than that practiced by the Tharavada followers.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24497
ISSN: 9745666246
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhudbhun_Su_front.pdf558.78 kBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch1.pdf301.35 kBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch3.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch6.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_ch7.pdf442.72 kBAdobe PDFView/Open
Bhudbhun_Su_back.pdf336.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.