Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24593
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกษม พันธุ์ศิริ
dc.contributor.advisorศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
dc.contributor.authorพรพรรณ สัมพันธรัตน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-19T12:08:38Z
dc.date.available2012-11-19T12:08:38Z
dc.date.issued2523
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24593
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractการให้ความปลอดภัยในการทำงาน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการบริหารงานบุคคลในองค์การ เพราะปัจจัยที่สำคัญจะมีผลให้งานขององค์การต่าง ๆ บรรลุผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพคือ “คน” นั่นเอง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในการทำงานเพื่อสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรอันมีค่ายิ่งในการดำเนินงาน และทำให้ลูกจ้างมีสุขภาพพลานามัยที่ดี เพื่อสร้างความเจริญให้แก่องค์การนั้น ๆ ต่อไป จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้อเรื่อง เป็นการศึกษาถึงการให้ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสารเคมีของอุตสาหกรรมผลิตถ่านไฟฉายในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาทั้งในกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ว่ามีวิธีการสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างไรบ้าง มีปัญหาข้อบกพร่องอย่างไร และมีหนทางแก้ไขปรับปรุงได้หรือไม่ ตลอดจนการศึกษาถึงความคิดเห็นและความต้องการของนายจ้างและลูกจ้างในกิจการดังกล่าวด้วย การศึกษาใช้วิธีรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากเอกสารทางวิชาการ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสังเกตการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า นายจ้างในทุกขนาดกิจการยังจัดให้มีสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีในสถานประกอบการของตน แต่นายจ้างในกิจการขนาดใหญ่ ยังจัดให้มีความปลอดภัยในการทำงานมากกว่ากิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น จัดให้มีการตรวจโรคลูกจ้างทั้งก่อนเข้าทำงาน และในระหว่างการทำงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลมากชนิด ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจในเรื่องการให้ความปลอดภัยในการทำงาน ถูกต้องกว่านายจ้างในกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น ความคิดเห็นในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประสบอันตรายจากการทำงานจะกระทบกระเทือนถึงผู้ใดบ้าง เป็นต้น และทั้ง 3 ขนาดกิจการมีความเห็นเหมือนกันในเรื่องอุปสรรคขัดขวางการให้ความปลอดภัยในการทำงาน คือตัวลูกจ้าง ซึ่งไม่ยอมใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่จัดไว้ให้ และประมาทเลินเล่อในการทำงาน เป็นต้น แต่ทางด้านลูกจ้างในทุกขนาดกิจการ มีความเห็นตรงกันว่า ยังมีสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีในสถานประกอบการที่ตนทำงานอยู่ และมาตรการการให้ความปลอดภัยในการทำงานของนายจ้างยังไม่สมบูรณ์ถูกต้อง ตลอดจนมีความมั่นใจในความปลอดภัยในการทำงานของตน ในปัจจุบันเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการอันดับแรกคือ ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เพียงพอกับจำนวนลูกจ้าง รองลงมาได้แก่ การป้องกันสภาวะแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น การป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น ควัน ลดความร้อน ปรับปรุงเครื่องจักร เพิ่มแสงสว่าง ฯลฯ ทั้งนี้ ในกิจการขนาดใหญ่ สามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่ากิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งขาดแคลนทั้งทุนทรัพย์ กำลังคน ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความบกพร่องทางด้านกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว ผู้เขียนยังได้เสนอแนะวิธีการในการแก้ไข ปรับปรุงทั้ง 3 ด้าน คือด้านนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เพราะเรื่องการให้ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้ง 3 ฝ่าย ซึ่งผู้เขียนหวังว่าแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งจะเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินการในอนาคต
dc.description.abstractalternativeThe provision of working safety is considered to be curcial for personnel management in organization. For successful operation, the most important factor is “human being”. It is necessary for an organization to create sufficient safety to preserve. The precious resource and to promote its healthiness for business prosperity. The purpose of this thesis is to study the provision of working safety regarding environmental and chemical hazards in battery factories in Bangkok Metropolis. The study is carried out in large size business; medium size and also small firms in the topics of how they provide safety in working presently, what problems tend to occur and to be solved, what are the opinions are requirements of the employers and employees in the business. The means of study are to correct data informations and various documents concerning laws and regulations, to interview the employers, the employees and the people involved. Observations with the Labor Department officers are also conducted for the situation’s analysis. The study concludes that the employers in all businesses are still in unsatisfied conditions. But the large business tends to provide more safety in working than those of medium and small firms eg. , employees’ physical check up before and during engagement, provision of personal safety equipments. Besides, there is more correct understanding about the losses when accidents occur. But all three sizes of business agree about the obstacles of working safety that the employees do not use the provided personal safety equipments, and their carelessness. But the employees, in all size of business mostly agree that the working conditions are still unsatisfactory and lack sufficient safety in working. The confidence of an individual worker in the provided safety is rather at a low level. [Furthermore], they urge to have more personal safety equipments in first priority. Secondly, the prevention of dust and smoke, heat reduction, machinery and light improvement, are requested. Only the large firm can provide such requirements more than the medium and the small ones, because it has more funds and personnel staff, etc. There are also some defects of the laws presently enforced for this matter and of the government officers’ practices and the lack of equipments essential for the safety measures. All these must urgently be improved by the government. Advices concerning the methods of improvement through the employer, the employee and the government have also been given as safety concerns to these three parties. The writer hopes that these suggestions will help the employee to maintain a suitable working safety and will be of benefit for their future operations.
dc.format.extent660258 bytes
dc.format.extent487539 bytes
dc.format.extent861718 bytes
dc.format.extent1176181 bytes
dc.format.extent654580 bytes
dc.format.extent4140672 bytes
dc.format.extent969338 bytes
dc.format.extent887950 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการให้ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสารเคมี ของอุตสาหกรรมผลิตถ่านไฟฉายในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe provision of working safety regarding environmental and chemical hazards in battery factories in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornphan_Su_front.pdf644.78 kBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch1.pdf476.11 kBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch2.pdf841.52 kBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch3.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch4.pdf639.24 kBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch5.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_ch6.pdf946.62 kBAdobe PDFView/Open
Pornphan_Su_back.pdf867.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.