Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24642
Title: การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยสาเหตุ ที่มีต่อความเคลื่อนไหวของราคาข้าวภายในประเทศ
Other Titles: A statistical analysis on the relationship of causal factors on domestic rice price fluctuation
Authors: ทองสุข ติยะชัยพานิช
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญและผูกพันธ์อยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนไทยทั้งประเทศประชาชนประชาชนภายในประเทศส่วนมากที่สุดบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในระดับราคาข้าวภายในประเทศย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนผู้บริโภคภายในประเทศมากที่สุด ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของระดับราคาข้าวภายในประเทศรวมทั้งศึกษาลักษณะและระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ในเชิงสาเหตุและผลต่อความเคลื่อนไหวของระดับราคาข้าวภายในประเทศ เพื่อให้ได้ข้อสรุปซึ่งจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการดำเนินนโยบายข้าว ผลการวิเคราะห์โดยอาศัยเทคนิควิธีการทางสถิติวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติ (Econometric Model Analysis) และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นโยงความสัมพันธ์ (Path Analysis) พบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในระดับราคาข้าวภายในประเทศมากที่สุดตามลำดับดังนี้คือ ระดับราคาข้าวส่งออกของไทย การส่งข้าวออกตามโครงการช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริการอัตราพรีเมี่ยมข้าวและการส่งออกในภาคเอกชนไทยและพบว่ามาตรการเพิ่มอัตราพรีเมี่ยมข้าวของรัฐบาลจะส่งผลโดยตรงให้ระดับราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มลดต่ำลง แต่ทว่าผลการวิเคราะห์เส้นโยงความสัมพันธ์พบว่ามาตรการเพิ่มอัตรา พรีเมียมข้าวดังกล่าวส่งผลกระทบทางอ้อมผ่านทางระดับราคาข้าวส่งออกให้ระดับราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมีข้อคิดเห็นที่เสนอแนะต่อรัฐบาลในการดำเนินนโยบายราคาข้าวในส่วนของมาตรการการใช้อัตราพรีเมี่ยมข้าวเป็นเครื่องมือรักษาระดับราคาข้าวภายในประเทศนั้นจำเป็นต้องพิจารณาทั้งผลกระทบโดยทางตรงและทางอ้อมให้ถ้วนถี่ยิ่งขึ้น
Other Abstract: Rice, the main food of native Thais, has played an important role and a close relationship with the Thai way of life. The change in the domestic rice price level definitely has a direct effect on domestic consumption. The objective of this study is to analyse the structure of domestic rice price level and the effect of causal factors on domestic rice price fluctuation. The result of this study is expected to be valuable and useful for the Government to pursue a rice policy. According to the result of study which depends on econometric model analysis and path analysis, it is found that the factors affecting fluctuation of domestic rice price level are exporting rice price level, U.S. Public Law 480, rice premium, and private Thai export, respectively. It is also found that public Thai rice, premium measurement has a direct effect on decreasing domestic rice price level. But by the path analysis, rice premium measurement has an indirect impact on increasing domestic rice price level through the exporting rice price level. Owing to the study, there are suggestions to the Government in pursuing a rice price policy, particularly in the matter of implementation of rice premium measurement for maintaining the domestic rice price level. In order to attain improvement the Government should consider properly both the direct and the in direct effects of the measurement.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24642
ISBN: 9745636894
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tongsook_Ti_front.pdf430.66 kBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_ch1.pdf650.39 kBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_ch2.pdf809.79 kBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_ch3.pdf438.61 kBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_ch5.pdf287.83 kBAdobe PDFView/Open
Tongsook_Ti_back.pdf512.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.