Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24667
Title: การวิเคราะห์หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 เกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม
Other Titles: An analysis of the Upper Secondary School Curriculum B.E. 2524 concerning inculcation of morality
Authors: ทัศนา หิรัญภัทร์
Advisors: สงัด อุทรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2524 ในส่วนที่เกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม (2) ศึกษาการรับรู้ และการปฏิบัติของครู-อาจารย์ ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 เกี่ยวกับการมุ่งเน้นการปลูกฝังจริยธรรมตามหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (3) ศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 6 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินการวิจัยจึงมีอยู่ 3 ลักษณะคือ (1) ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในส่วนที่เกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม โดยทำการวิเคราะห์ว่าหลักสูตรได้ระบุคุณลักษณะทางจริยธรรมคุณลักษณะต่างๆ มากน้อยอย่างไร การวิเคราะห์ดังกล่าวได้อาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาตัดสินในส่วนที่เป็นปัญหา (2) การศึกษาการรับรู้และการปฏิบัติของครู-อาจารย์เกี่ยวกับการมุ่งเน้นการปลูกฝังจริยธรรม ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรคือครู-อาจารย์เกี่ยวกับการมุ่งเน้นการปลูกฝังจริยธรรม ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรคือครู-อาจารย์ผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 397 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ Multi-Stage Random Sampling จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองภายใต้การแนะนำและปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา (3) ศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 627 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ Multi Stage Random Sampling จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 เครื่องมือเป็นแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ของกองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้คือ (1) แจกแจงความถี่คุณลักษณะทางจริยธรรมที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรแล้วหาค่าร้อยละ (2) หาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตของจริยธรรมแต่ละคุณลักษณะจากคำตอบของครูในส่วนที่เป็นการรับรู้และการปฏิบัติในการปลูกฝังจริยธรรม แล้วทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนทั้งส่วนที่เป็นการรับรู้และการปฏิบัติในการปลูกฝังจริยธรรมของครู-อาจารย์ จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียน และอายุ โดยใช้ค่า t และ One-way ANOVA (3) คำนวณหาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตของคะแนนจริยธรรมแต่ละคุณลักษณะของนักเรียนจำแนกตามเพศและขนาดของโรงเรียน แล้วทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการทดสอบค่า t สรุปผลการวิจัย 1. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปบลาย พุทธศักราช 2524 ได้ระบุคุณลักษณะทางจริยธรรมคุณลักษณะต่างๆเรียงตามลำดับมากไปหาน้อยดังนี้คือ (1) ใฝ่สัจจธรรม (2) สติ สัมปชัญญะ (3) การใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา (4) ซื่อสัตย์สุจริต (5) ไม่ประมาท (6) เมตตา กรุณา (7) หิริ โอตตัปปะ (8) ขยันหมั่นเพียร 2. เพศ ขนาดของโรงเรียน และอายุ ของครู-อาจารย์ ไม่มีผลทำให้การรับรู้หลักสูตรเกี่ยวกับการมุ่งเน้นในการปลูกฝังจริยธรรมในเกือบทุกคุณลักษณะแตกต่างกัน ยกเว้นในคุณลักษณะความไม่ประมาท ขนาดของโรงเรียนมีผลทำให้การรับรู้ของครู-อาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เพศ ขนาดของโรงเรียน และอายุของครู-อาจารย์ ไม่มีผลทำให้การปฏิบัติในการปลูกฝังจริยธรรมแตกต่างกันในเกือบทุกคุณลักษณะ ยกเว้นในคุณลักษณะซื่อสัตย์สุจริต เพศมีผลทำให้ครูปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. จากการเปรียบเทียบ การรับรู้และการปฏิบัติของครู-อาจารย์ในการมุ่งเน้นปลูกฝังจริยธรรมตามหลักสูตร ปรากฏว่าในคุณลักษณะ เมตตากรุณา และหิริโอตตัปปะ ครู-อาจารย์มีการรับรุ้และการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม คุณลักษณะการใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา สติสัมปชัญญะ เมตตากรุณา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร และไม่ประมาท อยู่ในระดับ 3 และมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม คุณลักษณะใฝ่สัจจธรรม และหิริโอตตัปปะ อยู่ในระดับ 3 และมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม คุณลักษณะใฝ่สัจจธรรม และหิริโอตตัปปะ อยู่ในระดับ 2 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน จำแนกตามเพศและขนาดของโรงเรียนแล้วปรากฏว่า ขนาดของโรงเรียนไม่มีผลทำให้นักเรียนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพสไม่มีผลทำให้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนแตกต่างกันในเกือบทุกคุณลักษณะ ยกเว้นคุณลักษณะใฝ่สัจจธรรม เพศมีผลทำให้ระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และในคุณลักษณะเมตตากรุณากับหิริโอตตัปปะ เพศมีผลทำให้ระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: Purposes: (1) to analyze the Upper Secondary School Curriculum B. E.2524 concerning inculcation of morality. (2) to study the perception and the conducts of teachers who teach in the Upper Secondary Schools under the jurisdiction of the General Education Department in the Educational Region Six concerning inculcation of morality. (3) t o study the moral reasoning of Matayom suksa six students in the Upper Secondary Schools under the jurisdiction of the General Education Department in the Educational Region Six. To meet the above objectives, the procedures were as follows: (1) analyzed the Upper Secondary School Curriculum B.E. 2524 concerning inculcation of morality to see how each morality characteristic is written. This analyzing stage was done under the decision of the specialists. (2) the study of perception and conducts of teachers concerning inculcation of morality, the samples were 397 teachers who teach the upper secondary grades in the upper second schools under the jurisdiction of the General Education Department in the Educational Region Six. The multi-stage random sampling was used. The instrument was rating scale questionaires which was constructed by the researcher under the supervision of the advisor. (3) the study of moral reasoning of Matayom suksa six students, the samples were 627 Matayom suksa six students from the upper secondary schools under the jurisdiction of the General Education Department in the Educational Region Six. Multistage random sampling was used. The instrument was a situational test belonged to the Research Section, Department of Educational Techniques. The statistical methodology for the data analyzing was (1) finding the percentage of the moral characteristics which have been written in the curriculum. (2) calculating arithmetic mean of each moral characteristic, from the teachers' answers in both perception part and conducts part, classified by sexes, school sizes and ages and then testing the difference level by t-test and One-way ANOVA. (3) calculating arithmetic mean of each moral characteristic from the students’ answers, classified by sexes and school sizes and then testing the difference level by t-test. Findings : 1. The moral characteristics showed in the Upper Secondary School Curriculum in order as follows: (1) seeking truth (2) conscience (3) Cogniitive Strategy (4) honesty (5) carefulness (6) kindness (7) shame of sins (8) diligence 2. Sexes, school sizes and ages did not effect the perception of the teachers in inculcation of morality in almost every moral characteristic, except the carefulness, the school size effected the perception of teachers. It was statistically significant different at .05 level. 3. Sexes, school sizes and ages did not effect the conducts of teachers in inculcation of morality in almost every moral characteristic, but the honesty, sexes effected the conducts of-the teachers. It was statistically significant different at .05 level. 4. Teachers ' perception and conducts were statistically significant different at .01 level in the moral characteristic kindness and shame of sins. 5. The moral reasoning levels of Matayom suksa six students were in the third level in the moral characteristics cognitive strategy, conscience, kindness, honesty, deligence and carefulness. The rest, seeking truth and shame of sins were in the second level. School sizes did not effect the moral reasoning level in almost every moral characteristic except the honesty, school sizes effected the moral reasoning level of the students. It was statistically significant different at .05 level. Sexes did not effect the moral reasoning level in almost every moral characteristic except seeking truth, kindness and shame of sins. It was statistically significant different at .05 level in the moral characteristic seeking truth. And it was statistically significant different at .01 level in the moral characteristics kindness and shame of sins.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24667
ISBN: 9745631787
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tussna_Hi_front.pdf657.36 kBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_ch1.pdf503.28 kBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_ch3.pdf424.54 kBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_ch4.pdf887.54 kBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_ch5.pdf518.65 kBAdobe PDFView/Open
Tussna_Hi_back.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.