Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24717
Title: การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Other Titles: An evaluation of the nursing specialty curricurum of the Faculty of Nursing, Mahidol University
Authors: พรทิพย์ อาจณรงค์
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาอบรมระยะสั้นของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้โมเดลซิป (CIPP Model) เป็นรูปแบบในการวางแผนการประเมิน ทั้งนี้การประเมินหลักสูตรในปัจจัยต่าง ๆ ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากหลักสูตรในปีการศึกษา 2523 ทั้งสาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ (โรคติดเชื้อ) และสาขาการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก กลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่ คณาจารย์ผู้สอน 51 คน ผู้เข้ารับการอบรม 57 คน ผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการอบรม 57 คน และคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี วิเคราะห์เนื้อเรื่อง หาค่ามัชฌิมเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม 1.1 การประเมินจุดมุ่งหมายของหลักสูตร พบว่า จุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตรมีลักษณะของจุดมุ่งหมายที่ดี และสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์และวัตถุประสงค์เฉพาะแต่ละสาขาวิชา 1.2 การประเมินเนื้อหาสาระของหลักสูตร พบว่า เนื้อหาสาระมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระแต่ละส่วนก็ยังมีความซ้ำซ้อนกันอยู่บ้าง ซึ่งควรต้องมีการพิจารณาปรับปรุง 2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น 2.1 การประเมินปัจจัยด้านผู้เข้ารับการอบรม พบว่า หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรมตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ เป็นหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่เหมาะสมและผู้เข้ารับการอบรมก็มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าผลสรุปซึ่งแสดงว่าเกณฑ์คุณสมบัตินี้เหมาะสมดีแล้วก็ตาม ก็ยังคงมีจุดอ่อนอยู่เล็กน้อยในส่วนที่มิได้มีการกำหนดแน่ชัดในเรื่องประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวข้องกับแขนงวิชาที่อบรมซึ่งควรพิจารณาปรับปรุงหรือแก้ไข เพื่อบ่งชี้เกณฑ์ส่วนนี้ให้ชัดเจนขึ้น 2.2 การประเมินปัจจัยด้านบุคลากร พบว่า หลักสูตรฯ มีบุคลากรทั้งในด้านคณะกรรมการและคณาจารย์ผู้สอนเหมาะสมดีแล้ว 2.3 การประเมินปัจจัยด้านอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมประกอบการเรียนการสอนอุปกรณ์ต่าง ๆ มีเพียงพอที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน แต่ก็ยังมีบริการบางส่วนที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น เรื่องห้องสมุด เป็นต้น 2.4 การประเมินปัจจัยด้านการวางแผนการดำเนินงานตลอดหลักสูตร พบว่าคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตร ได้มีการวางแผนการดำเนินงานตลอดการอบรมไว้อย่างมีระเบียบ 3. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า การดำเนินการหลักสูตรโดยทั่วไปเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะในด้านการเรียนการสอนเป็นไปโดยราบรื่น และเป็นที่พอใจของผู้เข้ารับการอบรม แต่ก็ยังมีบริการในด้านสวัสดิการต่าง ๆ บางประการที่ผู้เข้ารับการอบรมแสดงความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงให้ดีขึ้น 4. ผลการประเมินผลิตผล พบว่า ผลิตผล คือผู้สำเร็จการอบรม เป็นผู้มีความรู้ทางวิชาการ และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทาง จากผลสรุปดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แม้จะมีบางส่วนในองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรที่ควรจะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงให้มีคุณภาพ และให้เหมาะสมมากขึ้นก็ตาม แต่โดยส่วนรวมแล้วจะพบว่า หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางนี้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นและเป็นที่พอใจของผู้เข้ารับการอบรม และอาจารย์ผู้สอน และได้ผลผลิตบรรลุตามวัตถุประสงค์
Other Abstract: The purpose of this research was to analyse and evaluate, the Nursing Specialty Curriculum which was a short training course of the Faculty of Nursing, Mahidol University by using CIPP Model. In this evaluation, the samples consisted of 51 lecturers, 57 nurses who attended the course with all these nurses’ administrators and also 8 members of the nursing specialty committee. All of the samples were concerned with the course in academic year 1980. Data were collected by using questionnaires and an informal interview technique. Content analysis, arithmetic mean, standard deviation and t-test were employed to analyse the obtained data. The results of the evaluation were [summarized] as follow: 1. Context Evaluation 1.1 The evaluation of the objectives of the curriculum has shown that the general objectives had the characteristics of a good educational objective, and there was a relevancy between the objectives and a philosophy of the Faculty of Nursing. 1.2 The evaluation of the contents of the curriculum has shown that there was a relevancy between the contents and the objectives of the curriculum. The contents were appropriate although there was an overlapping in some parts of the contents which must be considered. 2. Input Evaluation 2.1 The evaluation of the nurses who attended the course has shown that the selection criteria was appropriate and all the nurses who attended the course met the criteria. Although this conclusion has shown that all of the criterias were appropriate but there were some weak points, such as the nursing experienced criteria did not definite and specifically, which must be considered. 2.2 The evaluation of the personnels has shown that the working committee and lectures could conduct the course successfully. 2.3 The evaluation of the educational resources has shown that there were enough resources to serve the teaching and learning process. However some of these resources such as library must be improved. 2.4 The evaluation of course planning has shown that the nursing specialty committee had well planned to work through the course. 3. Process Evaluation It was shown that the nursing specialty committee could run the course orderly as the plan, and by doing that way it could satisfy the nurses who attended the course although some of the nurses thought that some services must be improved. 4. Product Evaluation It was shown that after the course finished the nurses had knowledge in theory and had efficiency in practice. From the above summary, it could imply that the Nursing Specialty Curriculum was successful although some factors of the curriculum must be improved.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24717
ISBN: 9745620319
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthip_Ar_front.pdf601.45 kBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_ch1.pdf491.21 kBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_ch3.pdf553.82 kBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_ch4.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_ch5.pdf666.76 kBAdobe PDFView/Open
Pornthip_Ar_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.