Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24774
Title: | การขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวในชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Socialization practices among families in a Bangkok slum |
Authors: | พรทิพา หอมจันทร์ |
Advisors: | ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สังคมประกิต -- ไทย -- กรุงเทพฯ ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ การย้ายถิ่นภายในประเทศ ชุมชนแออัดซอยสวนพลูพัฒนา |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์จะศึกษาแบบชีวิตของครอบครัวในชุมชนแออัดซอยสวนพลูพัฒนา โดยเน้นการเปรียบเทียบการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่ไม่ได้รับการสงเคราะห์และครอบครัวที่มีฐานะไม่มั่นคงที่ต้องรับการสงเคราะห์จากกองสังคมสงเคราะห์สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร และการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภูมิหลังโครงสร้างของครอบครัว อาชีพ รายได้ รายจ่าย ภาวะหนี้สิน ความสัมพันธ์ในครอบครัวของครอบครัวทั้ง 2 แบบ อีกทั้งยังได้เปรียบเทียบความสัมพันธ์ในครอบครัวกับการขัดเกลาทางสังคม และเปรียบเทียบภาวะหน้าที่ของภรรยาของครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงและฐานะไม่มั่นคงด้วย ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์หัวหน้าและภรรยาของครอบครัวที่มีฐานะไม่มั่นคงของ 25 ครอบครัว ครอบครัวที่มีฐานะมั่นคง 25 ครอบครัว การสัมภาษณ์ครั้งนี้ในการสอบถามเป็นแนวทาง แบบสอบถามที่ใช้ครั้งนี้แบ่งเป็น 1. แบบสอบถามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิหลังและโครงสร้างทางสังคมของครอบครัว 2. ส่วนที่เกี่ยวกับอาชีพ รายได้ รายจ่าย ภาวะหนี้สินของครอบครัวทั้งของสามีและภรรยา 3. ส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว 4. ส่วนที่เกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม ผลจากการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นคือ 1. ฐานะครอบครัวกับการขัดเกลาทางสังคม 1.1 ฐานะครอบครัวจะมีผลต่อการขัดเกลางทางสังคมนั่นคือ ในครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงจะให้การขัดเกลาทางสังคมได้ดีกว่าครอบครัวที่มีฐานะไม่มั่นคง 1.2 จากการแบ่งกลุ่มครอบครัวที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามข้อมูลการสัมภาษณ์ที่พบว่า ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวมีผลต่อการขัดเกลาทางสังคมเช่นกันนั่นคือ ในครอบครัวไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจะให้การขัดเกลาทางสังคมได้ดีกว่าครอบครัวที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ 2. ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีผลต่อการขัดเกลาทางสังคมนั่นคือ ในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ดี จะให้ขัดเกลาทางสังคมได้ดีกว่าครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ไม่ดี 3. ครอบครัวที่มีฐานะมั่นคง ภาระความรับผิดชอบของภรรยาจะน้อยกว่าครอบครัวที่มีฐานะไม่มั่นคง นอกจากนี้ยังพบว่า ครอบครัวทั้งที่มีฐานะมั่นคงและไม่มั่นคงจะคาดหวังการศึกษาสูงสุดของลูกให้เป็นไปตามความสามารถของลูก และตามกำลังความสามารถในการส่งของพ่อแม่ |
Other Abstract: | The main purpose of the study is the analysis of the relationship between socio-economic conditions of slum families and the nature of child training. Data were obtained from a sample of 50 families living in a squatter slum in Bangkok Soi Suan Plu Patama Slum. Based on the files prepared by social workers of Bangkok Metropolitan Administration in chavge of the slum, two groups of 25 families each were selected for intensive interview, one representing families classified as experiencing socio-economic problems and the other having economic stability. Data were obtained on various aspects of family life and socialization practices such as socio-economic background, family structure, occupations, incomes, debts, hasband-wife relationship, wives role in earning income, attention and care given to children and expectations of children’s behavior, achievement, independence training, strictness, disciplining training. The interviews were based on a structured questionnaire and were conducted with the heads of families and their wives-Good cooperation was obtained through the assistance of the social workers in chavge of the slum. The data obtained were analyzed on a percentage basis, comparing the differences in socialization practices between the two groups of families and aiming at finding the relationship between socialization practices and certain socio-economic characteristics of the families. The data support all the hypothesis set up to guide this study. The analysis of the data reveals that : 1.There is a relationship between socio-economic conditions of families [and] their stable families use of socialization practices. The socio-economically stable families use practices that are more conducive to children’s personality development that economically unstable ones. 2. Stable husband-wife relationship contribute to better socialization practices within the families. 3. In economically stable families, [wives’] role is earning extra income to support the families is less demanding than in economically unstable ones. The wives’ role in socialization of the children is thus more positive in the former than in the latter group of families. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24774 |
ISBN: | 9745668087 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Porntipa_Ho_front.pdf | 528.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_ch1.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_ch2.pdf | 568.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_ch3.pdf | 535.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_ch4.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_ch5.pdf | 396.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Porntipa_Ho_back.pdf | 533.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.