Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24868
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนเรื่องกรรมใน พุทธศาสนา และ ศาสนาฮินดู |
Other Titles: | The doctrine of karma in buddhism and hinduism : a comparative study |
Authors: | จีรวรรณ ชินะโชติ |
Advisors: | สุนทร ณ รังษี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้ เพื่อเรียนรู้ถึงทรรศนะเรื่องกรรม ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูและเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกัน และความแตกต่างของหลักคำสอนดังกล่าวในปรัชญาทั้งสองระบบ จากการศึกษาวิเคราะห์ ทำให้พบว่า ในหลักคำสอนของทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูนั้น แนวความคิดเรื่องกรรมเป็นความคิดที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงอภิปรัชญาของระบบทั้งสอง หลักคำสอนเรื่องกรรมของพุทธปรัชญา และปรัชญาฮินดูเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากในหลักใหญ่ๆ แต่แตกต่างกันในรายละเอียด พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู เห็นพ้องกันว่า กฎแห่งกรรมซึ่งเป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นทั้งกฎธรรมชาติและกฎทางศีลธรรม ในแง่ที่เป็นกฎธรรมชาติกฎนี้ยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้น เป็นไปตามอำนาจของเหตุปัจจัย ในแง่ที่เป็นกฎทางศีลธรรม กฎนี้มีหลักกว้างๆว่า ผลย่อมสอดคล้องกับเหตุ ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำว่าทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นกรรมดี และทำอย่างไรจึงจัดเป็นกรรมชั่วนั้น พระพุทธศาสนากับศาสนาฮินดูมีความเห็นสอดคล้องกันบางส่วน และแตกต่างกันบางส่วน เช่นเรื่องการฆ่าสัตว์โดยเจตนา ซึ่งพุทธศาสนาถือว่า เป็นบาปทุกกรณี แต่ศาสนาฮินดู เห็นว่า ถ้าเป็นกรณีฆ่าสัตว์บูชายัญ ก็ไม่บาป เป็นต้น พระพุทธศาสนาถือว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่มีอยู่อย่างอิสระ ไม่ขึ้นกับพระผู้เป็นเจ้าหรือผู้มีอำนาจสูงสุดใดๆ แต่ศาสนาฮินดูถือว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่กำหนดขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จึงเป็นเจ้าแห่งกฎแห่งกรรม พุทธปรัชญาเห็นว่า บุคคลจะเป็นอะไรและอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมหรือการกระทำของตนเอง แต่ปรัชญาฮินดูถือว่า ทุกสิ่งรวมทั้งมนุษย์เกิดจากพรหมัน เพราะฉะนั้น มนุษย์จะเป็นอะไรและอย่างไร นอกจากจะขึ้นอยู่กับกรรมของตนเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าด้วย กล่าวโดยสรุป จากการวิจัยเรื่องนี้ ทำให้พบว่า หลักคำสอนเรื่องกรรมเป็นหลักคำสอนที่สำคัญทั้งของพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ซึ่งในหลักคำสอนเรื่องนี้ ศาสนาทั้งสองมีความเห็นสอดคล้องกันในหลักใหญ่ๆ แต่แตกต่างกันในรายละเอียดหลายประการ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study the concept of karma, one of the significant concepts of Buddhism and Hinduism. A comparison will be made to show the similarities and differences of this concept in both religions. The result of a critical and analytical study reveals that the doctrine of karma is one of the significant teachings of both systems and relates necessarily to their metaphysics. The concept of karma of Budhism and Hinduism is similar in the general considerations but different in some particular details. The two religions agree on the point that the law of karma which is the law of cause and effect is both the law of nature and the law of morality. As a natural law it maintains that everything comes into being according to the nature of its cause. In its status as the law of morality it has a general rule that the result of a man’s action is to be regarded as good or evil, Buddhism and Hinduism have some points of difference and similarity, e.g. Buddhism regards every intended killing of animal as a sin while Hindusim holds that the killing of animal in the sacrificial ceremony is not a sin. Buddhism maintains that the law of karma exists by its own nature depending neither on God nor on any other Supreme Bing. But Hindusim holds that the law of karma is the law determined by God and He is its Lord. According to Buddhism what and how a man will depends on what he did in the past and is doing at present. To Hinduism everything including man comes from Brahman; what and how a man will depends on both his own karma and the grace of God. To conclude, this research has revealed that the doctrine of karma is significant to both Buddhism and Hinduism. In the scope of this doctrine the two systems agree in general aspects of the law and differ in some particular details. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24868 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jeerawan_sh_front.pdf | 397.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_ch1.pdf | 260.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_ch2.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_ch3.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_ch4.pdf | 978.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_ch5.pdf | 319.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jeerawan_sh_back.pdf | 250.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.