Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2487
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล | - |
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี | - |
dc.contributor.author | จิริสุดา ธานีรัตน์, 2513- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-14T10:01:20Z | - |
dc.date.available | 2006-09-14T10:01:20Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745311022 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2487 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความชุกของความเครียด ความชุกของความเครียดจากงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาลปทุมธานี และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากงานตามรูปแบบ Demand-Control-Support ปัจจัยจากงานด้านอื่น และปัจจัยนอกงาน กับความเครียด รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงพยาบาลปทุมธานีทั้งหมด 696 คน โดยส่งแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและให้ตอบด้วยตนเอง ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเป็น 6 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไป เหตุการณ์สำคัญในชีวิต แบบวัดบุคลิกภาพแบบ เอ และ บี แบบวัดความเครียดจากงานตามรูปแบบ Demand-Control-Support เหตุก่อความเครียดจากงาน 2 ด้าน คือ ด้านจิตสังคมและด้านวัตถุ และแบบวัดสุขภาพจิต GHQ-30 ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตอบกลับร้อยละ 59.2 (412คน) เป็นเพศหญิงร้อยละ 89.6 อายุเฉลี่ย 33.9 + 8.84 ปี ความชุกของความเครียดร้อยละ 23.2 และความชุกความเครียดจากงานตามรูปแบบ Demand-Control-Supportร้อยละ 11.3 และความเครียดจากงานมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านวิชาการและสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วน 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยจากงานคือระดับความเครียดจากงาน 2) ปัจจัยจากงานด้านอื่นคือเหตุก่อความเครียด 2 ด้าน ด้านจิตสังคม (ความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ) และด้านวัตถุ (สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพและทางชีวภาพ) และ 3) ปัจจัยนอกงาน คือ รายได้ ฐานะทางการเงิน และเหตุการณ์สำคัญในชีวิต (มีหนี้สินหัวหน้าครอบครัวตกงาน และครอบครัวแตกแยก) มีความสัมพันธ์กับความเครียดที่มีแนวโน้มเป็นปัญหาสุขภาพจิตในบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือกับบุคลากรที่มีความเครียดจากงานและนอกงาน โดยสนับสนุนให้เริ่มมีโครงการช่วยเหลือบุคลากรที่มีปัญหาสุขภาพจิตและให้บริการงานอาชีวอนามัยกับบุคลากรภายในโรงพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงานให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชนต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | Objectives of this research were to study : the prevalence of stress, the prevalence of occupational stress in Pathumthani hospital personnel and the factors of work from Demand-Control-Support theory of Karasek, factors from other work and factors other than work that related with stress. This study was a cross-sectional descriptive research using 696 subjects from the hospital. The tool used was the researchers questionnaire which was a self-administered questionnaire consisted of 6 parts as follow : General individual data, Life event questionnaires, Personality questionnaires, Occupational stress questionnaires adapted from Demand-Control-Support model by Karasek, Causes of stress at work (stressors) questionnaires and General Health Questionnaires (GHQ-30), Thai version. The result of this study found that returned questionnaires was 59.2% (412), 89.6% of them were female with mean age 33.9 + 8.84 years. The study showed that the prevalence of stress was 23.2% and the prevalence of occupational stresswas 11.3%. The occupational stress significantly related with educational performance and biological health hazard (p<.05). The associated factors of stress were factors of work itself, other work factors such as job stressors from psychosocial (career development) and objects (physical and biological health hazards), non-work factors such as income, financial status and important life events : being in debt, family leader losing his/her job and family disputes. These factors related to stress and were found to be significant (p<.05). The result can be used for preventing and helping people who get stress from work and from other factors beside work by setting a project helping stressed personnel who have psychiatric problems and servicing holistic occupational health to hospital personnel. This can improve quality of health care workers life who could help other people in public health. | en |
dc.format.extent | 1858301 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความเครียดในการทำงาน | en |
dc.subject | บุคลากรโรงพยาบาล | en |
dc.subject | โรงพยาบาลปทุมธานี | en |
dc.title | ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากงานของบุคลากรในโรงพยาบาลปทุมธานี | en |
dc.title.alternative | Prevalence and related factors of occupational stress of personnel in Pathumthani hospital | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | อาชีวเวชศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornchai.Si@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Wiroj.J@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chirisuda.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.