Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์-
dc.contributor.advisorเกรียง ตั้งสง่า-
dc.contributor.advisorพิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ-
dc.contributor.authorฉัตรชัย ยาจันทร์ทา, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-14T10:26:31Z-
dc.date.available2006-09-14T10:26:31Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745321222-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2491-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractโรคนิ่วไตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลกและ ประชากรไทย ภาวะที่พบมากในผู้ป่วยโรคนิ่วและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดนิ่วซ้ำคือภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำเนื่องจากซิเทรตเป็นสารยับยั้งการเกิดผลึกนิ่วที่สำคัญที่สุดในระบบทางเดินปัสสาวะ มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำมะนาวระยะสั้นสามารถเพิ่มซิเทรตและลดการเกิดนิ่วได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาผลของการรับประทานมะนาวผงที่มีซิเทรต แมกนีเซียม โพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระต่อปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไต เปรียบเทียบกับการได้รับยา โพแทสเซียมซิเทรตในขนาดเท่ากัน ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคนิ่วไตจำนวน 36 คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม แล้วเสริมด้วยมะนาวผง (กลุ่มที่ 1) โพแทสเซียมซิเทรต (กลุ่มที่ 2) และแลกโทสผง (กลุ่มที่ 3) วันละ 1 ซองต่อวันเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังการเสริมพบว่าระดับของสารชีวเคมีในพลาสมาของประชากรกลุ่มที่ 1 2 และ 3 ไม่มีค่าเปลี่ยนแปลง สำหรับค่าซิเทรตและโพแทสเซียมในปัสสาวะของประชากรกลุ่มที่ 1 และ 2 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งไม่พบในกลุ่มที่ 3 ค่าความเป็นกรดด่างในปัสสาวะของกลุ่มที่ 2 เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มที่ 1 และ 3 นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีค่าความต้านทานการเกิดผลึกในปัสสาวะไม่เปลี่ยนแปลง แต่กลุ่มที่ 2 มีค่าความต้านทานการเกิดผลึกในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสารกลูธาไทโอนในเลือดซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 เพิ่มขึ้นขณะที่กลุ่มที่ 2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มที่ 3 ส่วนผลิตผลของลิพิดเปอร์ออกซิเดชั่นที่วิเคราะห์เป็นมาลอนไดอัลดีไฮด์ในพลาสมาและปัสสาวะมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ 1 แต่ไม่มีนัยสำคัญในกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งสอดคล้องกับการพบค่าเอนไซม์เอ็นอะซิทิลกลูโคซามินิเดสในปัสสาวะมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ 1 แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกลุ่มที่ 2 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่ 3 ผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ป่วยนิ่วไตที่ได้รับการเสริมนะนาวผง สามารถเพิ่มปริมาณสารยับยั้งการก่อนิ่วและแก้ไขภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น ลดการทำลายของเซลล์บุท่อไตได้en
dc.description.abstractalternativeNephrolithiasis is the health problem that affects quality of life of people in Thailand and worldwide. The usual abnormal condition found in renal stone formers and is the fundamental cause of stone recurrence is hypocitraturia. Citrate is the most important stone inhibitor in urinary tract. There are some studies showed the benefit of short-term lemonade consumption, increase the citrate and decrease stone recurrence. This study aims at the effect of lime powder, which consists of citrate, magnesium, potassium and antioxidants, on urinary stone risk factors in renal stone formers compared with renal stone formers treated with equivalent potassium citrate salt. 36 renal stone formers were recruited. They were separated into 3 groups: Lime powder treatment (Group I), Potassium citrate treatment (Group II), and Lactose treatment or placebo (Group III). Each group consumed 1 sack of treatment powder a day for 3 consecutive months. After the session, total plasma biochemistry of all groups showed insignificantchange. Urinary citrate and potassium of group I and II increased significantly, whereas, there was no significant change in group III. Urinary pH in group II was significantly higher. Moreover, the permissible index of oxalate in group I remained neutral, while it was significantly decrease in group II. From this study, glutathione increased in group I and decreased in group II. No change was found in group III. Concerning the oxidative stress, lipid peroxidation product, Malondialdehyde (MDA) in plasma and urine of group I were significantly decreased. Slight decrease was found in group II and group III. This supports the significant decrease of urinary N-acetyl-[beta] -glucosaminidase enzyme in group I and slightly decreases in group III. From the study, lime powder treatment can increase the stone inhibitors, correct the oxidative stress, and decrease renal tubular cell damage. Therefore, lime consumption will decrease the urinary stone risk factors and also increase the antioxidants. This results the better function of renal. Long-term effect of lime consumption should be conducted to prevent recurrence.en
dc.format.extent1593142 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนิ่วกระเพาะปัสสาวะ--ปัจจัยเสี่ยงen
dc.subjectมะนาวผงen
dc.titleผลของมะนาวผงต่อปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในผู้ป่วยโรคนิ่วไตen
dc.title.alternativeEffect of lime powder on urinary stone risk factors in renal stone formersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineชีวเคมีทางการแพทย์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPhisit.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchai.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.