Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24926
Title: | การวิเคราะห์เนื้อหาและความหมายของรายการสารคดีสิ่งแวดล้อม ทางโทรทัศน์ (2532-2534) |
Other Titles: | A content and discourse analysis of environmental documentary programmes on television (1989-1991) |
Authors: | จิรวรรณ กมลรัตนโยธิน |
Advisors: | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและศึกษาความหมายรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2532-2534 โดยศึกษาจากรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมจำนวน 6 รายการ ดังต่อไปนี้ รายการขนาดสั้น 1) รายการฟ้าสีคราม 2) รายการน้ำใสใบเขียว 3) รายการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม รายการขนาดยาว 1) รายการสิ่งแวดล้อมไทย 2) รายการโลกสลับสี 3) รายการสารคดีน้ำ เนื้อหาของรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทั้งหมดจำแนกได้เป็น 17 ประเภท ในการศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถจัดได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มรณรงค์ทางสิ่งแวดล้อม 4) กลุ่มผสมระหว่างกลุ่มรณรงค์ทางสิ่งแวดล้อมและกลุ่มปฎิรูป 2) กลุ่มปฏิรูป 3) กลุ่มเปลี่ยนระบบ 4) กลุ่มผสมระหว่างกลุ่มรณรงค์ทางสิ่งแวดล้อมและกลุ่มปฎิรูป 5) กลุ่มผสมระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มเปลี่ยนระบบ 6) ไม่ระบุวิธีแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์มีความเคลื่อนไหว ในช่วงปีแห่งการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2532-2534) มีจำนวนมากขึ้นและเนื้อหาสาระมีความหลากหลายมากขึ้น 2. เรื่องที่รายการสารคดีสิ่งแวดล้อมขนาดสั้นเสนอมากที่สุด ได้แก่ เรื่องทรัพยากรป่าไม้ ส่วนเรื่องที่รายการสารคดีสิ่งแวดล้อมขนาดยาวเสนอมากที่สุด ได้แก่ เรื่องสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม 3. รายการสารคดีสิ่งแวดล้อมขนาดสั้นเสนอวาทกรรมในการแก้ไขปัญหาแนวรณรงค์ทางสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ส่วนรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมขนาดยาวไม่เสนอวาทกรรมแนวรณรงค์ทางสิ่งแวดล้อมเลย แต่เสนอวาทกรรมแนวปฏิรูปและแนวเปลี่ยนระบบมากที่สุด |
Other Abstract: | The purpose of this study is to analyse the contents and discourses of six environmental documentary programmes on television in 1989-1991. These environmental documentaries are devided into two groups: Short Programmes 1) Fasikram (Blue Sky) 2) Namsaibaikeaw (Water is Clear, Leaves are Green) 3) Pitaksingwadlom (Environmental Conservation) Long Programmes 1) Singwad lomthai (Thai Environment) 2) Loksalabsi (Colourful Earth) 3) Sarakadinam (Water documentary) The content of the abore programmes are classified into 17 subjects. These are, then, analysed according to 5 groups of environmental discourse: 1) Conservationist group 2) Reformist group 3) Environmentalist group 4) Conservation and reformist group 5) Reformist and environmentalist group 6) No recommendation The results of the study show that, 1. During the year of Environmental Protection (1989-1991), there are more environmental documentary programmes and the content are more diversed. 2. Short environmental documentaries presented the issue of forest conservation most often. Long documentaries put more emphasis on the environmental and culture. 3. Short environmental documentaries presented conservation as their discourse for environmental solutions. On the contrary, long environment[tal] documentaries presented system reform and environmentalism as their discourses for environmental solutions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24926 |
ISBN: | 9745818836 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jirawan_ka_front.pdf | 558.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch1.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch2.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch3.pdf | 638.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch4.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch5.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_ch6.pdf | 806.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jirawan_ka_back.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.