Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2493
Title: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Knowledge, attitude and practice to prevent and control of dengue hemorrhagic fever in community at Amphoe Phra Pradaeng, Samut Prakan province
Authors: ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504-
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกำหนดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2544-2546 อำเภอพระประแดงมีอัตราการป่วย 137.9, 138.2 และ 126.0 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนโดยใช้การสัมภาษณ์หัวหน้าหรือผู้แทน 967 ครัวเรือน และสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและสถานที่ไม่ใช่ครัวเรือน จำนวน 27 แห่ง ด้วยวิธี Multistage cluster sampling ระหว่างเดือน กันยายน ตุลาคม 2547 ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-44 ปี จบประถมศึกษา อาชีพรับจ้าง ได้รับข้อมูลข่าวสารไข้เลือดออกจากโทรทัศน์/วิทยุ มีบทบาทต่องานไข้เลือดออกในชุมชนเพียงร้อยละ 9.6 ในการสำรวจครัวเรือนพบว่าส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว มีผู้อาศัยเฉลี่ย 4 คน 2 ใน 3 ของครัวเรือนไม่มีเศษวัสดุและไม่มี น้ำท่วมขังใต้ถุนบ้าน ในช่วง1ปีที่ผ่านมานับถึงวันสัมภาษณ์มีบุคคลในครัวเรือนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 369.4 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าจากรายงานของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอฯ ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 4 เท่า พบผู้ป่วยมีอายุ < 15 ปี ร้อยละ 50.0 ดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายครัวเรือน [ค่า Breteau Index (BI) และค่า House Index (HI) เฉลี่ย 164.7 และ 52.9 ตามลำดับ]สูงกว่าเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาก ส่วนดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายสำหรับสถานที่ไม่ใช่ครัวเรือน [ค่า Container Index (CI) เฉลี่ย 18.0] สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานฯเช่นกัน ครัวเรือนที่มีภาชนะพบลูกน้ำมากที่สุดคือภาชนะที่ไม่ใช้เก็บกัก น้ำดื่มน้ำใช้ เช่น กระป๋อง วัสดุที่ไม่ใช้(ร้อยละ 52.4) วิธีการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำดื่มน้ำใช้ที่ ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้มากที่สุดคือ การปิดฝาภาชนะตลอดเวลา(ร้อยละ 58.8) ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของประชาชนในครัวเรือนพบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.4,77.4 และ 68.7 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติของประชาชน ความรู้กับการปฏิบัติของประชาชน และทัศนคติกับการปฏิบัติของประชาชนพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 การศึกษาครั้งนี้พบว่าโรคไข้เลือดออกยังมีการระบาดอยู่ ยังพบเศษวัสดุและน้ำท่วมขังให้ถุนครัวเรือนใช้วิธีการควบคุมและกำจัดลูกน้ำในภาชนะต่างๆของครัวเรือนไม่ครอบคลุม ยังพบมีลูกน้ำในภาชนะขังน้ำมาก และมีระบบการแจ้งป่วยต่ำกว่าที่เป็นจริง ดังนั้นควรให้ความรู้แก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกวิธี ควรจัดระบบเฝ้าระวังททางระบาดวิทยาของอำเภอและเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อกระตุ้นในประชาชนมีการตื่นตัว รูและปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
Other Abstract: At present, the ministry of Public Health puts DHF in the first rank of disease surveillance and indicates that the prevention and control of DHF should be emphasized in order to reduce the rate to lower than 50 per 100,000. DHF was reported in Amphoe Phra Pradaeng in 2000-2003 at 137.9, 138.2 and126.0 per 100,000 population respectively. A sample of 967 households and 27 nonresidential places in Amphoe Phra Pradaeng was randomly selected by multistage cluster sampling during September to October 2004. The head or representative of households were interviewed for the knowledge, attitude and practice to prevent and control of control of DHF and the illness with DHF in family during the past 1 year. Breteau index (BI) and House index (HI) for residential households and Container index (CI) for nonresidential places were used in this survey to indicate the density of Aedes mosquitos larvae. The result of the study revealed that most of households in Amphoe Phra Pradaeng had moderate knowledge (67.4%), attitude(77.4%) and proper practice (68.7%) in prevention and control of DHF. The study showed that there was relationship between knowledge, attitude and practice with statistical significance (p<0.01). The occurrence of DHF in this survey was 369.4 per 100,000 population which was 4 times higher than the reported rate in Amphoe Phra Pradaeng during the same period of time. Every larvae index in both households and nonresidential places showed much higher than indicated index for prevention and control of DHF. DHF is still an important public health problem. More attention should be paid on increasing proper knowledge and correct information to community which will create the awareness, good attitude, and serious well practice to decrease the mosquitos larvae. Good supervision should be frequently and continuously conducted by responsible staffs and well trained public health volunteers so as to get more participation of the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2493
ISBN: 9741766742
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lumyuan.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.