Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25004
Title: ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนมัธยมศึกษาและความหนาแน่น ของประชากรในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Secondary school changes and student population density in Bangkok Metropolis
Authors: บุบผา อนันต์สุชาติกุล
Advisors: อุทุมพร ทองอุไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนมัธยมศึกษาและความหนาแน่นของประชากรแต่ละอำเภอในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึง 2516 โดยหาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนในรูปของสมการโพลีโนเมียลของจำนวนห้องเรียนกับเวลา และหาความหนาแน่นของประชากรโดยคำนวณเรโช (Ratio) ระหว่างจำนวนประชากรวัยเรียนต่อจำนวนห้องเรียน ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนมัธยมศึกษาของแต่ละอำเภอในกรุงเทพมหานคร แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แบบการเปลี่ยนแปลงเป็นปริมาณคงที่โดยตลอดซึ่งแทนได้ด้วยสมการโพลีโนเมียลกำลังหนึ่ง มีอยู่ 5 อำเภอ (ป้อมปราบ ยานนาวา บางเขน มีนบุรี และบางกอกน้อย) แบบการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกช้ากว่าในระยะหลังซึ่งแทนได้ด้วยสมการโพลีโนเมียลกำลังสอง มีอยู่ 16 อำเภอ (พระนคร ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ ดุสิตและพญาไท บางกะปี หนองจอก ลาดกระบัง ธนบุรี บางกอกใหญ่ คลองสาน ตลิ่งชัน บางขุนเทียน ภาษีเจริญ หนองแขม และราษฏร์บูรณะ) และแบบการเปลี่ยนแปลงในระยะที่สองเร็วกว่าในระยะแรกแต่พอมาระยะที่สามการเปลี่ยนแปลงเริ่มลดลง ซึ่งแทนได้ด้วยสมการโพลีโนเมียลกำลังสาม มีเพียงอำเภอเดียว (พระโขนง) สมการโพลีโนเมียลเหล่านี้มีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ขึ้นไปทั้งสิ้น 2. ความหนาแน่นของประชากรวัยเรียนแต่ละอำเภอ แบ่งได้ 3 ลักษณะ เช่นกัน (บางกะปี มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ตลิ่งชัน หนองแขม) อำเภอที่ความหนาแน่นของประชากรคงที่มี 6 อำเภอ (พระนคร ปทุมวัน บางรัก ยานนาวา บางกอกใหญ่ บางขุนเทียน) และอำเภอที่ความหนาแน่นของประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมีอยู่ 8 อำเภอ (บางเขน ดุสิตและพญาไท บางกอกน้อย ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ พระโขนง ธนบุรี คลองสาน) นอกจากนี้ยังพบว่า ความหนาแน่นของประชากรในจังหวัดพระนครต่ำกว่าจังหวัดธนบุรีตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ลักษณะที่เหมือนกันคือ ความหนาแน่นของประชากรทั้งสองจังหวัดมีแนวโน้มสูงขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น 3. จากการศึกษาสภาพการปัจจุบันของอำเภอต่างๆในปี พ.ศ. 2516 และเมื่อใช้อัตราส่วนของห้องเรียนต่อจำนวนนักเรียนเท่ากับ 1 ต่อ 45 เป็นเกณฑ์ จะจัดระดับความสามารถในการรับนักเรียนของแต่ละอำเภอ โดยคิดเป็นร้อยละของประชากรวัยเรียนทั้งหมดในแต่ละอำเภอจัดได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับที่ 1 สามารถรับนักเรียนเข้าศึกษาในอำเภอของตนได้มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไปมี 4 อำเภอ (พระนคร บางรัก ตลิ่งชัน หนองแขม) ระดับที่ 2 อำเภอที่สามารถรับนักเรียนเข้าศึกษาในอำเภอของตนได้ ระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 70 มี 14 อำเภอ (บางกะปิ พระโขนง มีนบุรี ลาดกระบัง บางขุนเทียน ปทุมวัน ป้อมปราบ ยานนาวา บางเขน ดุสิตรวมกับพญาไท ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ บางกอกใหญ่ และบางกอกน้อย) ระดับที่ 3 สามารถรับได้ระหว่าง ร้อยละ 10 ถึง ร้อยละ 30 มี 4 อำเภอ (สัมพันธ์วงศ์ ธนบุรี คลองสาน และหนองจอก).
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the secondary School. Changes and Student Population Density on Bangkok Metropolis from 1964 to 1973. The polynomial function of classrooms and times, and the Ratio Method are used. The findings are as follows: 1. Three different types of polynomial functions of Secondary School Changes are significantly showed (α= .01). The first degree polynomial function representing uniformed upward changes in fitted for data of 5 amphoes (Pom Prap Suttru Phai, Yan Nawa, Bang Khen, Min Buri, and Bangkok Noi). The second degree polynomial function representing a parabola change is fitted for data of 16 amphoes (Phra Nakhon, Pathum Wan, Bang Rak, Samphanthwong, Dusit include Phaya Thai, Bang Kapi, Nong Chok, Lat Krabang, Thon Buri, Bangkok Yai, Khlong San, Taling Chan, Bang Khun Thian, Phasi Charoen, Nong Khaem, and Rat Burana) and the third degree polynomial functions representing three different changes is fitted for data of only one amphoe (Phrakhanong) 2. Three different characters of changes in student population density in each amphoe computed by Ratio Method are: a) Eight amphoes tend to decrease (Pom Prap Sattru Phai, Samphanthawong, Bang Kapi, Min Buri, Nong Chok, Lat Krabang, Taling Chan, Bang Khun Thian, Phasi Charoen, Nong Khaem, and Rat Burana) b) Eight amphoes tend to increase (Bang Khen, Dusit include) c) Six amphoes remain constant (Phra Nakhon, Pathum Wan, Bang Rak, Yan Nawa, Bangkok Yai, and Bang Khun Thian) It is found that the student population density of Phra Nakhon Province is lower than that of Thon Buri Province. However the density of both provinces tends to steadily increase. 3. In comparing with the standard ratios of classroom per students (1:45), four amphoes are able to admit above 70% of school age population (Phra Nakhon, Bang Rak, Taling Chan, and Nong Khaem), fourteen amphoes are between 30-70% of school age population (Bang Kapi, Phra Khanong, Min Buri, Lat Krabang, Bang Khum Thian, Pathum Wan, Pom Prap Sattru Phai, Yan Nawa, Bang Khen, Dusit include Phaya Thai,Phasi Charoen, Rat Burana, Bangkok Yai, and Bangkok Noi) and four amphoes are between 10-30% of school age populations (Samphanthawong, T.hon Buri, Khlong San:Nong Chok).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25004
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boobpa_An_front.pdf491.22 kBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_ch1.pdf354.01 kBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_ch2.pdf586.89 kBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_ch3.pdf290.6 kBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_ch4.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_ch5.pdf424 kBAdobe PDFView/Open
Boobpa_An_back.pdf602.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.