Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25051
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการเลือกสอนวิชาเลือก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: administrators and teachers concerning the selection of elective subjects in pratom suksa five-six of elementary schools in Sisaket Province
Authors: พิมล วิเศษสังข์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับความพร้อมในการสอนวิชาเลือกระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับด้านความพร้อมในการสอนวิชาเลือก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ 3.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับความพร้อมในการสอนวิชาเลือก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา ในเมืองและนอกเมืองจังหวัดศรีสะเกษ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) ได้ผู้บริหาร จำนวน 155 คน และครู จำนวน 307 คน รวม ตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 462 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ (Check list) แบบทดสอบ (Test) แบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open-ended) จากแบบสอบถามที่ส่งไป จำนวน 550 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืน 462 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.00 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความคิดเห็น โดยให้ค่าซี (Z-test) สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับความพร้อมของครูในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลในวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพ และวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ปรากฏว่าอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน และความเข้าใจของครูในด้านต่างๆ เกี่ยวกับวิชาเลือกดังกล่าว ก็อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกัน ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับความพร้อมในด้านครูผู้สอน อาคารสถานที่และแหล่งบริการทางวิชาการ และวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียน ในวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพ ปรากฏว่าอยู่ในระดับน้อย เช่น เดียวกันทุกด้าน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ทุกด้าน ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวในวิชาเลือกภาษาอังกฤษ ก็อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกันทุกด้านและไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนในเมือง เกี่ยวกับความพร้อมของครูในการสอนวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพ และวิชาเลือกภาษาอังกฤษ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปรากฏว่าอยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านการวัดและประเมินอยู่ในระดับมาก และความเข้าใจของครูโรงเรียนในเมืองเกี่ยวกับวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพ และภาษาอังกฤษ ด้านความเข้าใจเกี่ยวหลักสูตร และวัสดุหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล ปรากฏว่าอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน และความเข้าใจของครูโรงเรียนนอกเมืองเกี่ยวกับการสอนวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพและภาษาอังกฤษ ก็อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกัน ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนในเมือง และผู้บริหารและครูโรงเรียนนอกเมือง เกี่ยวกับความพร้อมในด้าน ครูผู้สอน อาคารสถานที่และแหล่งบริการทางวิชาการ และวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียน ในวิชาเลือกการงานและพื้นฐานอาชีพ อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 เฉพาะด้านอาคารสถานที่และแหล่งบริการทางวิชาการ ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็น ในวิชาของผู้บริหารและครูโรงเรียนในเมือง และผู้บริหารและครูโรงเรียนนอกเมือง เกี่ยวกับความพร้อมในด้าน ครูผู้สอน อาคารสถานที่และแหล่งบริการทางวิชาการและวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียน ในวิชาเลือกภาษาอังกฤษก็อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกันทุกด้าน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 เฉพาะด้านครูผู้สอน ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes of the Study : 1.To study the opinions of school administrators and teachers concerning the readiness in the teaching of elective of elective subjects in pratom suksa five-six of elementary schools in srisaket province. 2. To compare the opinion of school administrators and teachers concerning the readiness in the teaching of elective subjects in pratom suksa five-six of elementary schools in srisaket province. 3. To compare the opinions of school administrators and teachers concerning the readiness of the teaching of elective subjects in pratom suksa five-six of elementary schools within the municipal area and those who are outside the municipal area in Srisaket province. Procedure: Sample of this study consisted of school administrators and teachers who were teaching in protom suksa five-six of elementary schools in Srisaket province during academic year 1982. The stratified random sampling technique was used to select the sample which were composed of 155 administrators and 307 teachers, totaling the sample to be 462 in numbers. The instrument used in this research were two questionnaires, one for administrators and the other teachers, which were constructed in forms of check list, test, rating-scale and open-ended. Out of 550 questionnaires sent out, 462 or 84.00 percent were completed and returned. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Z-test. Findings : Opinions of school administrators toward the readiness of teachers’ understanding in curriculum and materials, teaching and learning activities, and evaluation concerning the pratom suksa five-six Work Oriented Education English in elementary schools in sisaket province showed that the readiness was at the low level. The understanding of teachers themselves was also rated at the low level. Opinion of school administrators and teachers toward the readiness of teachers. Group and buildings, academic resources center, and learning materials concerning work oriented education showed that they both rated the readiness was at the low level and were not significantly different at the 0.05 level. Opinions of school administrators and teachers toward the readiness concerning English were also at the low level and were not significantly different at the 0.05 level. Opinions of school administrators of schools within the municipal area toward the readiness of teachers’ understanding in curriculum and materials and teaching and learning activities concerning work oriented education showed that the readiness was at the low level, but the opinions concerning the understanding of evaluation were at the high level. Concerning the English, the opinion showed that the readiness was at the low level. And the teachers’ understanding themselves in the schools within the municipal area was at the low level. Opinions of school administrators in the schools outside the municipal area toward the readiness of teachers’ understanding in curriculum and materials, teaching and learning activities, and evaluation concerning Oriented Work Education and English showed that the readiness was at the low level. The understanding of teachers within the municipal themselves was also rated at the low level. Opinions of school administrators and teachers within the municipal area and those outside the municipal area toward the readiness of teachers, ground and building and academic resources center and software-hardware and learning materials concerning Oriented Work Education showed that the readiness was at the low level. The opinion toward ground and building and academic resources center were significantly different at the 0.05 level, but those toward the readiness of the others were not significantly different. Opinions of administrators and teacher within the municipal area toward the readiness of teachers, ground and building and academic resources center and software-hardware and learning materials concerning English showed that the readiness was at the low level The opinions toward the readiness of teachers were not significantly different at the 0.05 level, but those toward the readiness of the others were significantly different at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25051
ISSN: 9745616087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimon_wi_front.pdf990.83 kBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_ch1.pdf917.35 kBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_ch2.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_ch3.pdf686.21 kBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_ch4.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
pimon_wi_back.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.