Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25098
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซุบซิบกับความร่วมมือในการพัฒนา : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: The relationship between gossiping behavior and development cooperation: a case study of Pra Plueng village, Tombol Nok Auk, Ampheo Pak Thong Chai, Nakhon Ratchasima Province
Authors: บุญศรี ปราบณศักดิ์
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและโครงสร้างของการซุบซิบของประชาชนในชนบท เกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระดับท้องถิ่นตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซุบซิบดังกล่าว กับความร่วมมือในการพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกจำนวน 69 คน จากกลุ่มต่างๆ 3 กลุ่ม ในหมู่บ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คือ กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต การวิจัยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 48 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.57 ของประชากรทั้งหมด) ในการวิจัยผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัยไว้ 5 ประการคือ 1. บุคคลที่แตกต่างกันในลักษณะการเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ มีพฤติกรรมการซุบซิบที่แตกต่างกัน 2. ไม่มีความแตกต่างระหว่างปริมาณการซุบซิบที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวกับปริมาณการซุบซิบที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงาน 3. การซุบซิบมักกระทำในระหว่างบุคคลที่มีความเหมือนกันมากกว่า ระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกัน 4. การซุบซิบมักกระทำในระหว่างบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบสนิทสนมมากกว่าระหว่างบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบผิวเผิน 5. มีความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้ซุบซิบต่อผู้ถูกซุบซิบ กับความร่วมมือในการพัฒนา การทดสอบสมมติฐานปรากฏว่า สมมติฐานข้อที่ 1 ได้รับการยืนยันว่าเป็นจริงส่วนมาก สมมติฐานข้อที่ 2 ไม่ได้รับการยืนยัน ส่วนสมมติฐานข้ออื่นๆ นอกนั้นได้รับการยืนยันทุกข้อ จากผลการวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตระหนักในการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำการสื่อสารอย่างเป็นทางการ และให้ปริมาณสารสนเทศจากแหล่งที่เป็นทางการมากเพียงพอ เพื่อมิให้ประชาชนต้องแสวงหาสารสนเทศโดยการซุบซิบ ซึ่งอาจมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนอันมีผลกระทบต่อความร่วมมือในการพัฒนาของประชาชน
Other Abstract: The major purposes of this study were: to understand the gossiping behavior and gossip structure of people in the rural area, dealing with the local change agents, and to study the relationship between gossiping behavior and development cooperation. The total population for this study contained 69 members from three groups in Pra Plueng Village, Tombol Nok Auk, Amphoe Pak Thong Chai, Nakhon Ratchasima Province, namely: The Women’s Group, The Youth’s Group, and The Group for Production Credit. The sample used for this research consisted of 48 members (or 69.57% from the total population). Five hypotheses were formulated and tested in this study: 1. The members of different groups will have different patterns of gossiping behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25098
ISBN: 9745624187
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsri_Pr_front.pdf441.87 kBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch1.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch2.pdf806.31 kBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch3.pdf719.46 kBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch5.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch6.pdf735.14 kBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_ch7.pdf381.49 kBAdobe PDFView/Open
Boonsri_Pr_back.pdf498.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.