Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25106
Title: การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไประดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาระหว่างวิธีสอน โดยใช้ชุดการสอนและการบรรยาย
Other Titles: A comparison of general science achievement between instructional packages and lecture method at the certificate of education level
Authors: บุญสืบ พันธุ์ดี
Advisors: สำเภา วรางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2514
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย ๑.เพื่อศึกษาค้นคว้าการสร้างชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ๑๐๒ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ๒.เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้น ๓.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ๑๐๒ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา เมื่อเรียนโดยชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย การดำเนินการวิจัย ๑. สร้างชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ๑๐๒ จำนวน ๕ ชุด และสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนประจำชุดการสอนทั้ง ๕ ชุดด้วย ๒. นำชุดการสอนที่สร้างขึ้นทั้ง ๕ ชุดไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผล ๓. นำชุดการสอนไปหาประสิทธิภาพโดยการทดลองกับนักเรียน ๑ คน, ๑๐ คน และ ๓๐ คน ตามลำดับ นำผลจากการทดสอบหลังเรียน จากการทดสอบกับกลุ่ม ๑๐ คนและ ๓๐ คนไปหาประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์ ๙๐/๙๐ ๔. ทดสอบความแตกต่างนัยสำคัญของคะแนนคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อดูว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ๕. เปรียบเทียบผลการเรียนระหว่างการเรียนจากชุดการสอนและการเรียนจากการ กลุ่มทดลอง ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน, เรียนจากชุดการสอน และทำแบบทดสอบหลัง กลุ่มควบคุม ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรียนจากครูโดยตรง แล้วทำแบบทดสอบหลังเรียน นำผลการทดสอบทั้ง ๒ กลุ่มไปทดสอบความแตกต่างนัยสำคัญของคะแนนเฉลี่ยโดยการทดสอบค่า “ที” ผลการวิจัย ๑. ผู้เชี่ยวชาญประเมินผลชุดการสอนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๙๙ ๒. ประสิทธิภาพของชุดการสอนเมื่อเฉลี่ยทั้ง ๕ ชุด ได้ดังนี้ เมื่อทดสอบกับประชากร ๑๐ คนได้ ๙๐.๖๕/๘๗.๒๒ เมื่อทดสอบกับประชากร ๓๐ คนได้ ๙๑.๑๔/๘๗.๒๘ ๓. ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน และการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง มีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑ แสดงว่านักเรียนเรียนจากชุดการสอนแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น ๔. ผลการเปรียบเทียบการเรียนจากชุดการสอนและเรียนจากการบรรยายของครูปรากฏว่า ถ้าแยกเปรียบเทียบทีละชุดความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕ ถ้าคิดรวมกันทั้ง ๕ ชุดแล้วเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕ ข้อเสนอแนะ ๑. การเรียนจากชุดการสอนหลายๆชุด ติดต่อกันจะให้ผลดีกว่าการเรียนจากชุดการสอนเพียงชุดเดียว ๒. ควรสร้างชุดการสอนของทุกๆ แขนงวิชาให้มากขึ้นและให้ครอบคลุมเนื้อหา ทุกบททุกตอน ๓. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับชุดการสอนต่อไป
Other Abstract: Purposes: 1. To study the background of and to construct a General Science 102 Instructional Package for the Certificate of Educational Level. 2. To determine the effectiveness of the Instructional Package. 3. To compare student achievement in General Science 102 with the Instructional Package and the Lecture Method at the Certificate of Education Level. Procedures: 1. Construction of five General Science 102 Instructional Packages, and conduct of pre and post-tests for each packages. 2. Evaluation of the five packages by certain experts. 3. Determination of the effectiveness of the five packages experimental use with one, Ten and them thirty participants in turn and then taking the post-test results with the ten and thirty participants to calculate the effectiveness by using the 90/90 criterion. 4. Determination of the significant difference between the arithmetic means of pre-test and post-test results examine the learning progress of each of the selected students. 5. Comparison of the achievement between learning with the instructional packages and with the lecture method, using two groups of students The Experimental Group: Pre-test, use of instructional package and post-test. The Control Group: Pre-test, learning directly from the teacher and post-test. Determination of the significant difference between the arithmetic means of the pre-test and the post-test results of both groups by using the T-test. Results: 1. The average score of the instructional packages as evaluated by the experts was 87.99. 2. The average effectiveness of the five packages was as follow: 90.65/87.62 with the group of ten students. 91.14/87.28 with the group of thirty students. 3. The difference between the arithmetic means of the pre-test and the post-test scores was significant at the .01 level. This shows that students’ knowledge had been increased. 4. The results of learning with the package and with the lecture method indicated the following: -If comparison was done with each group separately, there was no significant difference between the experimental group and the control group at the .05 level. –If comparison was done with the aggregate of the five groups significant difference between the experimental group and the control group at the .05 level. Recommendation: 1.Learning results will be better where packages are presented in series rather than when presented singly. 2. More instructional packages should be constructed to encompass all subject field as well as complete courses. 3. More research on instructional packages should be conducted.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยานิพนธ์, 2514
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25106
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsuep_Pu_front.pdf472.26 kBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_ch1.pdf858.83 kBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_ch2.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_ch3.pdf444.99 kBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_ch4.pdf376.58 kBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_ch5.pdf335.58 kBAdobe PDFView/Open
Boonsuep_Pu_back.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.