Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25118
Title: คลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Earthquake waves recorded in the northern parts of Thailand
Authors: ปราถนา บุญชาญ
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมคลื่นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของประเทศ ไทยในปัจจุบันอันเนื่องจากความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวมีโอกาสของการเกิดเหตุการณ์มากกว่าที่อื่น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาและเก็บข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ได้จากการเก็บข้อมูลโดยเครื่องมือตรวจวัด แผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติที่ทางสำนักงานแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาได้เก็บข้อมูลไว้แต่เป็นลักษณะ ข้อมูลที่เป็นแบบดิจิตอลดังนั้นเราจึงต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณสมบัติที่มีความจำเป็นในทางด้าน วิศวกรรมเพื่อเป็นแนวทาง ในด้านการออกแบบ จากการเก็บข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวคือตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้น มามีจำนวนมากแต่ทั้งนี้จึงได้เลือกศึกษาคลื่นแผ่นดินไหวที่มีขนาดของ Amplitude (counts) มีค่ามากกว่า 100,000 นั้น โดยได้เก็บข้อมูลทั้งหมดได้ 13 เหตุการณ์ และในจำนวนนี้มี 2 เหตุการณ์ที่เป็นประกาศ แผ่นดินไหวโดย กรมอุตุนิยมวิทยาคือเหตุการณ์คือ วันที่ 18 กันยายน 2546 และเหตุการณ์วันที่ 22 กันยายน 2546 โดยคลื่นทั้งสองเหตุการณ์มีขนาด 5 - 6 ริคเตอร์และรู้สึกได้ โดยการนำข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวมาวิเคราะห์หาค่าความเร็วสูงสุดและการใช้โปรแกรม MATLAB เพื่อใช้ FFT วิเคราะห์หา สเปกตรัมของคลื่นแผ่นดินไหวเพื่อให้ทราบถึงความถี่ของคลื่น ( Frequency) จากการวิเคราะห์จากแผ่นดินไหวที่เกิดในภาคเหนือของประเทศไทยนั้นที่วัดได้ค่า Amplitude ประมาณ 100,000 - 7,000,000 โดยเครื่องมือตรวจวัดแบบอัตโนมัตินั้นเมื่อนำมาหาความเร็วสูงสุดที่ผิวดิน มีค่าประมาณ 0.001-0.20 (cm/s) และค่าความเร่งสูงสุดประมาณ 0.002g-0.008g มีค่า Predominant Frequency ประมาณ 0.5 - 5 Hz ซึ่งค่าที่ได้จะเห็นชัดเจนเฉพาะคลื่นแผ่นดินไหวที่มีค่า Amplitude ที่มีค่า มากๆ เท่านั้น
Other Abstract: The purpose of this study is to collect the earthquake waves that were recorded by the earthquake monitoring stations in the northern provinces of Thailand. Although, the frequency of earthquake recorded was rare, it was noteworthy to digitize the records. Thai meteorological department, has installed several automatic earthquake recorded device in Chaingmai, Chaingrai, Tak, Nan. Data collection has been started since installation of device in 1998. However 1there is still no systematic data interpretation. The study aimed to identify earthquake waves that greater than amplitude 100,000 counts. There are 13 events at which 2 events were the earthquake event noticed by Thai meteorological department. Those were occurring 18 September 2003 and 22 September 2003. Two waves measure a 5-6 Richter can be felt in Bangkok. The waves had been analyzed using the FFT to characterize their nature. The maximum ground velocity at the surface is about 0.001-0.20 cm/s. The maximum acceleration is about 0.002g-0.008g and predominant frequency is about 00.5-5 Hz.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25118
ISBN: 9741762607
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Partthana_bo_front.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_ch1.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_ch2.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_ch3.pdf18.55 MBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_ch4.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_ch5.pdf518.24 kBAdobe PDFView/Open
Partthana_bo_back.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.