Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25235
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาจารย์ ในวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Opinions of instructors concerning intergroup conflict of instructors in Northeastern teachers colleges
Authors: บุญช่วย ศิริเกษ
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพความไว้วางใจของอาจารย์ต่อฝ่ายบริหารในวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อศึกษาลักษณะความแตกต่างด้านสถานภาพและภูมิหลังของอาจารย์วิทยาลัยครูกลุ่มสนับสนุน กลุ่มเป็นกลาง และกลุ่มต่อต้านฝ่ายบริหาร 3. เพื่อศึกษาสภาพความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการบริหารและการดำเนินงานของวิทยาลัยครู ระหว่างอาจารย์กลุ่มสนับสนุน กลุ่มเป็นกลาง และกลุ่มต่อต้านฝ่ายบริหาร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ทำการศึกษาคืออาจารย์ประจำในวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วยอาจารย์ทั้งหมดของวิทยาลัยครูเลย วิทยาลัยครูมหาสารคาม และวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จำนวนอาจารย์รวม 423 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน ตอนแรกเป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความไว้วางใจของอาจารย์ต่อฝ่ายบริหาร ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารและการดำเนินงานของวิทยาลัยครูแบ่งเป็น 5 ด้านคือ ด้านหลักการบริหารทั่วไป ด้านโครงสร้างและระบบบริหารงาน ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบและการปฏิบัติงานของอาจารย์ ด้านผลประโยชน์และสิ่งจูงใจในการทำงาน และด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าไคสแควร์ วิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ สรุปผลการวิจัย 1. สภาพความไว้วางใจของอาจารย์ต่อฝ่ายบริหารในวิทยาลัยครูปรากฏดังนี้ 1.1 อาจารย์มีความไว้วางใจโดยเฉลี่ยต่อฝ่ายบริหารในระดับปานกลาง ทั้งโดยส่วนรวมและในแต่ละวิทยาลัยครู เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิทยาลัยครูทั้ง 3 แห่งที่เป็นกลุ่มตัวอย่างประชากร พบว่า อาจารย์วิทยาลัยครูบุรีรัมย์มีระดับความไว้วางใจสูงที่สุด อาจารย์วิทยาลัยครูเลยมีระดับความไว้วางใจต่ำที่สุด 1.2 อาจารย์กลุ่มเป็นกลาง (ไว้วางใจในระดับปานกลาง) มีจำนวนมากที่สุดร้อยละ 71.63 อาจารย์กลุ่มสนับสนุน (ไว้วางใจสูง) มีจำนวนน้อยที่สุดร้อยละ 7.74 นอกนั้นเป็นกลุ่มต่อต้าน (ไว้วางใจต่ำ) ได้พบว่าสัดส่วนของอาจารย์กลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านของวิทยาลัยครูมหาสารคามและวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ใกล้เคียงกัน และต่ำกว่าสัดส่วนของอาจารย์ในกลุ่มดังกล่าวของวิทยาลัยครูเลย 2. ลักษณะความแตกต่างทางสถานภาพและภูมิหลังของอาจารย์ พบว่าอาจารย์วิทยาลัยครูกลุ่มสนับสนุน กลุ่มเป็นกลาง และกลุ่มต่อต้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านต่อไปนี้คือ สถานภาพสมรส สถาบันที่สำเร็จการศึกษาภายในประเทศ ตำแหน่งทางการบริหาร และงานประจำที่รับผิดชอบ 3. สภาพความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาจารย์ปรากฏดังนี้ 3.1 อาจารย์กลุ่มสนับสนุน กลุ่มเป็นกลาง และกลุ่มต่อต้าน มีความขัดแย้งในความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารและการดำเนินงานของวิทยาลัยครู (รวมทุกด้าน) และเป็นความขัดแย้งในระดับต่ำ 3.2 อาจารย์ทั้งสามกลุ่มมีความขัดแย้งในความคิดเห็นเป็นรายด้านเฉพาะด้านหลักการบริหารทั่วไป และด้านโครงสร้างและระบบบริหารงานเท่านั้น และพบว่าเป็นความขัดแย้งในระดับต่ำ ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบว่ามีความขัดแย้ง 3.3 กลุ่มอาจารย์ทั้งสามกลุ่มมีความขัดแย้งในความคิดเห็นรายข้อเป็นส่วนน้อย (18 ใน 60 ข้อ) และพบว่าเป็นความขัดแย้งในระดับต่ำเกือบทุกข้อ
Other Abstract: Purposes of the study 1. To study the trust of the instructors in the North eastern teachers colleges toward the administrators. 2. To study the difference of status and background of the instructors in each group of confident group, neutral group and alienated group. 3. To study the conflict concerning administration and management of the teachers colleges among the confident, neutral and alienated groups. Methodology : The population in the study comprised all the Northeastern teachers colleges’ instructors. The samples are the 423 instructors in Loei, Mahasarakam and Burirum teachers colleges by using cluster sampling teachnique. The instrument used in the collection of data were questionnaires, each of which consisted of the three parts : a checklist for the informant’s personnel data, a rating scale for the informant’s opinion concerning trust and the opinion concerning general education, structure and administrative system, the responsibility and performance of the instructors, benefit and incentive to work and characteristic of the administrations. The statistical treatment included percentage, arithmetic mean, standard deviation, chi-square test, analysis of valiance and Scheffe’s method. Findings and Conclusions : 1. Instructor’s trust to the administrators in teachers colleges are as follows : 1.1 By all and each of college, they have trust on the administrators in middle level, while the instructors in Burirum teachers college have a highest trust as Loei teachers colleges’ instructors is lowest. 1.2 The neutral group has the most percentage (71.63), the confident group has the least (7.74) and the other is the alienated group. The number of instructors in confident and alienated groups in Mahasarakam teachers college are similar to Burirum, and less than Loei. 2. The demographics of instructors are as follows : The difference of three groups of teachers college’s instructors, as the confident, neutral and alienated groups, there is statisticaly significant at .05 level in marriage status, the educated institutes in the country, the administrative position and the responsibility to work. 3. The conflict among three groups are as follows : 3.1 All groups of instructors have low conflict of administration and management in teachers colleges. 3.2 The conflict of the general administration and the structure and administrative system are low, while the other are not. 3.3 All groups of the instructors have a little of conflict (18 from 60 items) and nearly each of them are low conflict.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25235
ISBN: 9745624055
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchuay_Si_front.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_Ch1.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_Ch2.pdf38.33 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_Ch3.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_Ch4.pdf24.39 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_Ch5.pdf11.14 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Si_back.pdf17.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.