Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25244
Title: | คุณสมบัติอันพึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากทัศนะของเกษตรกรในโครงการเกษตรกรรมจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Desirable characteristics of agricultural extension agents as viewed by agriculturists in Chom Thong agricultural project, Chiang Mai province |
Authors: | บุญธรรม มั่งทอง |
Advisors: | จาระไน แกลโกศล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน รัฐบาลของเราได้พยายามอย่างเต็มที่ในอันที่จะเร่งรัดการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบท นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การพัฒนาสมบูรณ์แบบในพื้นที่เฉพาะแห่ง ประการหนึ่ง และอีกลักษณะหนึ่งได้แก่ การพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับงานด้านนั้น ๆ แม้ว่าความสำเร็จของการพัฒนาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการก็ตาม แต่ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ยอมรับกันก็คือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ๆ ว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการพัฒนาชนบท เพื่อลดแนวโน้มของความล้มเหลวนี้ การกำหนดและการเลือกคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด เราได้พบกันบ่อยครั้งว่า ส่วนใหญ่แล้วคุณสมบัติต่าง ๆ มักได้รับการกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยมิได้คำนึงถึงประชาชนที่เป็นเป้าหมาย โครงการวิจัยนี้จึงมีความมุ่งหวังที่จะลดช่องว่างนั้น โดยการแสวงหาในมุมกลับ คือ หาความต้องการของประชาชนที่เป็นเป้าหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แต่เนื่องจากการวิจัยที่ครอบคลุมทั้งประเทศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะกระทำได้ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ จึงเลือกโครงการเกษตรกรรมจอมทองขึ้นมาทำการศึกษาในขั้นแรก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการของเกษตรกร เกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2. เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของคุณสมบัติแต่ละประเภทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3. เพื่อศึกษาความเข้าใจและการยอมรับของเกษตรกรในความหมายของคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สมมุติฐานของการวิจัย 1. เกษตรกรต่างเพศกันมีความต้องการเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน 2. เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความต้องการเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน 3. เกษตรกรต่างเพศกันให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน 4. เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน 5. เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาเดิมต่างกัน มีความต้องการคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน6. เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาเดิมต่างกัน ให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่างกัน วีดำเนินการวิจัย 1. เลือกกลุ่มประชากรจากเกษตรกรในโครงการเกษตรกรรมจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 2. สำรวจภาคสนามโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจความต้องการ ระดับความสำคัญและความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากประชากรมาเข้ารหัส (coding) แล้วนำไปวิเคราะห์หาความถี่ หาร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (statistical package for the social science) ผลการวิจัย ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณสมบัติสำคัญ 3 ประการที่เกษตรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมี คือ การตรงต่อเวลา เป็นลำดับ 1 ความชำนาญในการส่งเสริมการเกษตร เป็นลำดับ 2 และการมีประสบการณ์ด้านการเกษตร เป็นลำดับ 3 2. เกษตรกรต้องการได้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นเพศชายมากกว่าที่เป็นเพศหญิง 3. เกษตรกรต้องการได้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีอายุระหว่าง 30-34 ปี มากที่สุด 4. เกษตรกรไม่เพ่งเล็งเกี่ยวกับการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรว่าเป็นสิ่งสำคัญ 5. เกษตรกรให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ดังนี้ คือ การตรงต่อเวลา เป็นลำดับ 1 การทำงานด้วยความเต็มใจ เป็นลำดับ 2 และการเข้าใจความต้องการของเกษตรกร เป็นลำดับ 3 6. เกษตรกรจำนวนสูงสุดเข้าใจความหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ดังนี้ 1) ความเมตตา หมายถึง การช่วยเหลือ 2) การเข้ากับเกษตรกรได้ หมายถึง การไม่ถือตัว 3) ความสุภาพเรียบร้อย หมายถึง การใช้วาจาสุภาพ 4) การไม่เห็นแก่ตัว หมายถึง การเห็นแก่ส่วนรวม 5) ความยุติธรรม หมายถึง ความเที่ยงตรง 6) การให้อภัย หมายถึง การยกโทษให้แก่ผู้ทำผิด 7) ความเอื้อเฟื้อ หมายถึง การช่วยเหลือ 8) ความร่าเริง หมายถึง การยิ้มแย้ม 9) การสมาคม หมายถึง การเข้ากับคนได้ทุกคน 10) จิตใจเยือกเย็น หมายถึง การมีความคิดรอบคอบ 11) การได้รับการฝึกอบรมด้านการเกษตร หมายถึง การผ่านการปฏิบัติงานด้านการเกษตร 12) ความอดทน หมายถึง การทนต่อความยากลำบาก 13) การมีประสบการณ์ด้านการเกษตร หมายถึง การผ่านการฝึกอบรมด้านการเกษตร 14) การมีความรู้ด้านการส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การมีความสามารถในการแนะนำด้านการเกษตร 15) การมีความชำนาญในด้านการส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การผ่านงานด้านการเกษตร 16) การมีความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ หมายถึง การมีความรู้ความสามารถ 17) ความฉลาด หมายถึง การรู้ปัญหาของเกษตรกร 18) ความเข้มแข็ง หมายถึง ความอดทน 19) การกล้าตัดสินใจ หมายถึง ความเชื่อมั่น 20) ความกระตือรือร้นในการทำงาน หมายถึง การขยันทำงาน 21) การทำงานด้วยความคล่องแคล่ว หมายถึง การทำงานเร็ว 22) การทำงานด้วยความตั้งใจ หมายถึง การทำงานด้วยความเอาใจใส่ 23) การทำงานด้วยความเต็มใจ หมายถึง การทำงานด้วยความขยัน 24) การเข้าใจความต้องการของเกษตรกร หมายถึง การรู้ความต้องการของเกษตรกร 25) การสนใจแสวงหาความรู้ หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้ 26) การรู้วิธีส่งเสริมการเกษตรให้เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละคน หมายถึง การรู้สภาพของพื้นที่ 27) การตรงต่อเวลา หมายถึง การไม่ผิดนัด 28) การไม่ขัดคอ หมายถึง การมีความคิดเห็นตรงกัน การทดสอบสมมุติฐาน จากการศึกษาสรุปได้ว่ายอมรับสมมุติฐานทั้งหมดยกเว้นสมมุติฐานข้อที่ 5 ซึ่งมีคุณสมบัติ 2 ประการที่ไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาต่างกันแต่มีความคิดเห็นเหมือนกัน ในแง่เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านการมีประสบการณ์ด้านการเกษตรและการเข้ากันได้กับเกษตรกร |
Other Abstract: | Statement of Problem It is known that at present our government is putting full effort to accelerate the national development with the special emphasis on rural development. The policy on rural development is two folds. One is the development directed to the total development in specific region and the other, the development implemented by the government agencies which has the direct responsibility on those activities. Even though the success of the program depends on countless factors, it might be acceptable that government officials whose duties concern with such projects play important part on the success and failure of rural development. To decrease the tendency for this failure, determination and selection on their qualification is highly important. As we frequently find, these qualifications are mostly determined by the responsible government officials without the concern from the target audience. This research project is intended to fill in such gap by searching for the feedback, the target audience’s needs on the characteristics of the agricultural extension agents. Since the nation-wide survey is impossible for thesis project, ChomThong Agricultural Project is purposively selected as an original study. Purpose of the Study 1. To find the desirable characteristics of agricultural extension agents as viewed by agriculturists. 2. To find the important level of desirable characteristics of agricultural extension agents viewed by agriculturists. 3. To find how the agriculturists understand and accept the meaning of each characteristic of agricultural extension agents. Hypothesis 1. Need for desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by sexes. 2. Need for desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by educational levels. 3. The important level of desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by sexes. 4. The important level of desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by educational levels 5. Need for desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by former domiciles. 6. The important level of desirable characteristics of agricultural extension agents may differ by former domiciles. Procedures 1. Whole population was selected from the members of Chomthong Agricultural Project, Chiang Mai Province. 2. The field research was conducted through the questionnaires for finding out the need, important level and the understanding on characteristic meanings of agricultural extension agents. 3. The replied questionnaires were coded and statistically analysed through percentage and mean by SPSS Results The results of the study are as follows :- 1. The three highestly favoured characteristics are punctuality, activeness and expertness in agriculture. 2. The agriculturists refer male agricultural extension agent. 3. The most favourable range of age is 30-34 years. 4. Any style of dressing is favoured. 5. The agriculturists name the following qualities as the most important characteristics of the agricultural extension agent being punctual, willing to work and understand the need of the agriculturists. 6. The meanings of each characteristic as defined by the agriculturists are as follows :- 1) Mercy means help. 2) To be congenial with agriculturists means not be conceited. 3) Politeness means using sweet words. 4) Selfishlessness means to sacrifice for public. 5) Justice means fairness. 6) Forgiveness means not getting angry. 7) Hospitality means help. 8) Cheerfulness means smiling. 9) Socialbility means being able to get along with others. 10) Calmness means being thoughtful. 11) Being trained in agriculture means use to perform agricultural activities. 12) Patience means tolerance for hardship. 13) Having experience in agriculture means used to be trained in agriculture. 14) Having knowledge in agriculture means being able to give advice on agricultural matters. 15) Being skillful in agriculture means used to performed agricultural work. 16) Being appropriate to the position means full of knowledge and ability. 17) Intelligence means knowing the problems of agriculturists. 18) Forcefulness means patience. 19) Boldness for decision means confidence. 20) Being energetic for work means being diligent. 21) Being active in work means working quickly. 22) Being attentive to work means working with care. 23) Willing to work means working with diligence. 24) Understanding the need of agriculturists means knowing the need of agriculturists. 25) Being searchful for knowledge means searching for knowledge. 26) Knowing how to promote each agriculturist means knowing the geographical condition of the assigned area. 27) Being punctual means not missing the appointment. 28) Agreeable means sharing of the same idea. Hypothesis Testing According to the study, it can be concluded that all of the hypothesizes are accepted, except for the fifth hypothesis which two of its characteristics are rejected. The rejection includes the factor on the similarity of the attitude of the agriculturists from different domicile on agricultural experience and congenial characteristics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25244 |
ISSN: | 9745618217 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boondham_Mu_front.pdf | 7.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_Ch1.pdf | 5.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_Ch2.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_Ch3.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_Ch4.pdf | 11.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_Ch5.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boondham_Mu_back.pdf | 27.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.