Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25293
Title: งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา 8
Other Titles: Educational administrative tasks of secondary schools in educational region 8
Authors: ชัชวาลย์ อำมาตย์มณี
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตศึกษา 8 2. เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตศึกษา 8 โดยเฉพาะงานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตศึกษา 8 และปัญหาเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท ในโรงเรียนดังกล่าวในข้อ 2 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตศึกษา 8 รวม 17 โรงเรียน โดยยึดจังหวัดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เลือกโดยสุ่มตัวอย่างมาร้อยละ 60 ของจังหวัดที่ตั้งอยู่ในเขตศึกษา 8 การเลือกโรงเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างมาร้อยละ 50 ของโรงเรียนในแต่ละจังหวัดที่สุ่มได้ ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เทคนิคในการสังเกต สัมภาษณ์ และตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ ครูฝ่ายบริหาร ครูฝ่ายวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียน ข้อมูลที่ได้มานั้นใช้การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกัน ผลของการวิจัย 1. โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา 8 ส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างของระบบบริหารการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์ใหญ่ หรือครูใหญ่ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในโรงเรียน และมีผู้ช่วยหรือหัวหน้าฝ่ายรับผิดชอบงานในฝ่ายต่าง ๆ ลดหลั่นลงมาซึ่งมักจะมี 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ และฝ่ายปกครอง โรงเรียนส่วนใหญ่มิได้จัดทำแผนภูมิการแบ่งสายงาน และแจกแจงพรรณนารายละเอียดของงานในหน้าที่ และความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ อย่างชัดเจน 2. ผู้บริหารการศึกษามีความคิดเห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติงานบริหารการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีระดับความสำคัญดังนี้ งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารบุคคล งานบริหารวิชาการ งานบริหารธุรการ และงานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3. ครูฝ่ายวิชาการมีความคิดเห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติงานบริหารการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาถึงลำดับความสำคัญ ครูฝ่ายวิชาการมีความเห็นมากน้อยตามลำดับดังนี้ งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารธุรการ งานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และงานบริหารวิชาการเป็นลำดับสุดท้าย 4. ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติงานบริหารการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างสูงในด้าน งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารธุรการ และโรงเรียนปฏิบัติงานบริหารการศึกษาในด้าน งานบริหารวิชาการ และงานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ซึ่งมีระดับความสำคัญมากน้อยตามลำดับดังนี้ งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารธุรการ งานบริหารวิชาการ และงานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chachwal_Um_front.pdf376.63 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_ch1.pdf432.61 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_ch2.pdf778.12 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_ch3.pdf353.83 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_ch4.pdf974.23 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_ch5.pdf525.99 kBAdobe PDFView/Open
Chachwal_Um_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.