Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25336
Title: การประเมินผลโครงการบ้านจัดสรรสวัสดิการข้าราชการบำนาญ ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Other Titles: An evaluation of housing welfare for pensioned government officials in vientiane, Lao P.D.r.
Authors: สมมณี ประทุมไชย
Advisors: ชวลิต นิตยะ
กุณฑลทิพย พาณิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการบ้านจัดสรรสวัสดิการข้าราชการบำนาญที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณะรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ค. 2537-2539 มีวัตถุประสงค์เพี่อเป็นสวัสดิการข้าราช การบำนาญผู้มิคุณความติต่อประเทศชาติในช่วงการทำการปฏิวัติชาติเพี่อเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ค.2518 เป็นโครงการนำร่องโครงการแรกที่เป็นบ้านจัดสรรสวัสดิการใน สปป. ลาว การวิจัยครั้งมิวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาประเมินผลโครงการ โดยประเมินผลการดำเนินงานด้านกายภาพ และด้านการเงินของโครงการเปรียบเทียบกับแผนที่ได้วางไว้ ศึกษากลุ่มบ้านจัดสรร 4 แห่งแบบสำมะโนประชากร จำนวน 160 หลัง ด้วยการสำรวจ บันทึกถ่ายภาพและการสังเกต การแจกแบบสอบถามผู้อยู่อาศัย การศึกษา เชิงลึกโดยมีตัวอย่าง 20 หลังคาเรือน โดยสัมภาษณ์และร่างผังแบบอาคารที่พักอาศัย และการสัมภาษณ์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม นำประกอบกับ การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ด้านการดำเนินงานทางกายภาพไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ลักษณะ ทางกายภาพโดยรวมของผังรวมโครงการไม่เอื้อแก่การเป็นชุมชนที่มีคุณภาพ ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้โครงการเช่น 3 ใน 4 แห่ง มีปัญหาขาดระบบน้ำประปา ถนนในโครงการยังใช้งาน ไม่ดี และแบบบ้านยังมีหลายส่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย เช่น ห้องรับแขกมีขนาดเล็ก ห้องนอนมีขนาดเล็ก จำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอ และที่ตั้งของห้องครัวไม่เหมาะสม (2) ด้านการดำเนิน งานด้านการเงินสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ในสวนงบประมาณการก่อสร้างซึ่งสามารถสร้างบ้านได้ตาม จำนวนที่กำหนด แต่การดำเนินการทำสัญญาซื้อ-ขายเพี่อเก็บเงินคืนไม่ตรงตามแผนการคือทำสัญญา ซื้อ-ขายได้เพียง 84 คนคิดเป็นร้อยละ 52.0 ยังไม่สามารถทำสัญญาซื้อ-ขายจำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 เนื่องจากผู้อยู่อาศัยไม่มิวินัยทางการเงิน หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบละเลยหน้าที่ไม่เร่งติดตาม จากผลการวิจัยทั้งหมดจึงสรุปได้ว่าโดยภาพรวมโครงการนี้ทำได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการและ สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยรวมของรัฐบาล แม้ว่าเมื่อพิจารณาด้านการลงทุนโครงการฯ แล้วจะไม่มีความคุ้มค่าในด้านการเงิน แต่มีความคุ้มค่าในด้านจิตใจทั้งภาครัฐบาล และข้าราชการบำนาญ สำหรับ การทำโครงการในอนาคตมีข้อเสนอแนะว่าไม่ควรทำต่อในรูปแบบเดิม และควรมีการปรับปรุงหลายด้านทั้งใน ระดับนโยบายในการจัดสวัสดิการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ โครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบและที่สำคัญคือ ความพร้อมด้านเงินลงทุนของรัฐบาล
Other Abstract: The development of welfare housing for pension government officials was launched during 1994-1996 aiming to provide welfare for pension government officials who served the country during the national revolution in 1975. It was the first housing welfare project in Laos. The objective of the study is to assess overall project by evaluating both physical and financial processes and comparing them to the planned schedule of 4 communities, 160 family registrations were investigated, photographed, observed, and questioned 20 households were selected for an in-depth study, using interviews, and examinations of the drafts of the residential diagrams. In addition, scholars and experts in the field were interviewed. Questionnaires were analyzed, and qualitative data analyses were employed. Findings can be concluded as follows: First, the physical process was not as successful as it should have been. The overall physical diagram of the project did not favor a quality community. Moreover, the construction of basic infrastructure in 3-4 communities was not complete due to the lack of water supply system and, roadways were not yet fully utilized. Many parts of house plan still needed some changes to comply with the residents' ways of life. For example, the size of small living room and small bedroom needed some adjustment, the number of restrooms were not sufficient, and the location of kitchen was not appropriate. Second, financially, the project succeeded in terms of the construction budget, which was enough for building the number of houses expected. However, the process of signing the contract was not on schedule. Only 84 people or 52 % signed the sale contract, while 76 people or 48 % did not. The reasons were that the residents did not have discipline in their spending, and the government did not pursue the procedure. In conclusion, the overall project proceeded as planned and in line with the government policy on housing development. Although the investment was not worthwhile, it benefited psychologically both the government and pension government officials. With respect to future project, it was recommended to follow the same procedures. Also, there are many aspects that should be taken into account, such as the welfare policy, the procedures, the structure of parties responsible, and the most important, the government preparedness in financial investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25336
ISBN: 9741746687
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sommany_pa_front.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch1.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch2.pdf9.47 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch3.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch4.pdf14.32 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch5.pdf11.68 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_ch6.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Sommany_pa_back.pdf11.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.