Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25417
Title: | Taxonomic revision and phylogenetic analysis of the trees snail genus Amphidromus Albers and implication for biogeography of Thai species |
Other Titles: | การปรับปรุงอนุกรมวิธานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการของหอยต้นไม้สกุล Amphidromus Albers และการแสดงยัยทางชีวภูมิศาสตร์ของสปีชีส์ที่พบในประเทศไทย |
Authors: | Chirasak Sutcharit |
Advisors: | Somsak Panha Takahiro Asami |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Science |
Issue Date: | 2004 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The genus Amphidromus is the colourful land snail occupying the arboreal habitat and extensive distribution over Southeast Asia. The snails exhibit various peculiar biological features which apparently represent adaptive specializations, and it is presently under severe extinction pressure due to forest destruction. Although Amphidromus have consistently attracted the attention of biologist, these studies have generally lacked an accurate taxonomy and evolutionary perspective. This thesis addresses this shortcoming by concerning systematic studies focusing on the two subgenera, Amphidromus and Syndromus. A combined approach of morphology and molecular phylogeny were used in effort to test previously proposed conventional shell taxonomy. Taxonomic studies using genitalia, radula and shell of 10 species from Thailand. The result revealed that the subgenus Amphidromus has a longer epiphallic caecum and larger shell size than the subgenus Syndromus. The terminal portion of male organ, the sculpture of both sex organs and radula morphology are also significant for classification of the two subgenera. The anatomy of genitalia and radula characteristic are congruent with the conventional shell taxonomy. It should be noted that, at least as far as the close relations within the complicated species of A. atricallosus, A. inversus and A. glaucolarynx are concerned. The phylogenies of 17 Amphidromus species were examined based on morphological characters and mtl6S rDNA sequences. Both results perform monophyly of the genus and subgenus Amphidromus, but the morphological cladogram could not reflect the relationship among species level. While, the mtDNA phylogeny exhibits a paraphyletic of the subgenus Syndromus. Amphidromus glaucolarynx was arranged into the most basal clade in the genus. The rest members of Syndromus S. str. were clustered monophyletic. Intraspecific polyphyly of mtDNA haplotypes was detected in several taxa of both subgenera. The results indicate that taxonomic relations in many cases have to reviewed, for example A. glaucolarynx should be classified separately from the two subgenera. The revision of the subgenus Syndromus based on reproductive isolation between populations seems to discover the existence of multiple cryptic species with similar shell-color patterns for example in A. (Syndromus) xiengensis. In addition, the present study is the first hand information providing the evidence of phylogenetic constraint of chiral dimorphism of the genus Amphidromus. The substitution rates available for pulmonate mitochondrial rDNA suggest that the ancestral dimorphism originated in the Oligocene (35 Mya) based on the most conservative estimate of the substitution rate, or in the Pliocene (3.5 Mya) at the youngest age of divergence. |
Other Abstract: | หอยต้นไม้สกล Amphidromus เป็นทากบกที่มีความสวยงามและมีการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดไต้ว่าเป็นหอยที่มีรูปแบบจำเพาะทางชีววิทยา เพราะมีดวามสามารถในการปรับตัวให้สามารถอาศัยอยู่บนต้นไม้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน ปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย แม้ว่าหอยต้นไม้สกุล Amphidromus จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ แต่โดยพื้นฐานแล้วการศึกษายังขาดความถูกต้องในต้านการจัดจำแนกและการศึกษาทางวิวัฒนาการ เป็นอย่างมาก การศึกษาครั้งนี้ได้เน้นทางอนุกรมวิธานและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยในสกุลย่อย Amphidromus และ สกุลย่อย Syndromus ทำการศึกษาโดยอาศัยทั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยา และความสัมพันธ์ของสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุล เพื่อนำใช้ในการประเมิน ความถูกต้องของการจัดจำแนกหอยสกุลนี้ในประเทศไทย สำหรับการศึกษาทางอนุกรมวิธานั้นใช้ลักษณะเปลือกรวมทั้งระบบสืบพันธุ์ และฟันในหอย 10 ชนิด พบว่าหอยสกุลย่อย Amphidromus มีขนาดของเปลือกที่ใหญ่กว่าและมี epiphalic caecum ยาว กว่าหอยสกุลย่อย Syndromus นอกจากนี้ส่วนปลายของระบบสืบพันธุ์เพศผู้ ลวดลายภายในของอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ และ สัณฐานวิทยาของตนสามารถใช้ในการจำแนกหอยในทั้งสองสกุลย่อยได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับระบบการจัด จำแนกแบบเดิมที่อาศัยเปลือกเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังสามารถบอกถึงความใกล้ชิดภายในสายพันธุ์หอยต้นไม้ที่มีความสลับซับซ้อนต่อการจัดจำแนกได้ เช่น A. inversus, A. atricallosus และ A. glaucolarynx จาการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยจำนวน 17 ชนิด โดยอาศัยทั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยา และลำดับเบสที่อยู่ บนไมโตคอนเดรีย 16S rDNA พบว่าข้อมูลทั้งสองส่วนนี้มีความสอดคล้องกันแสดงความสัมพันธ์แบบวิวัฒนาการบรรพบุรุษเดียว ในหอยทั้งสกุลนี้และในสกุลย่อย Amphidromus แต่ผลจากข้อมูลทางสัณฐานวิทยาไม่สามารถบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ในระดับชนิดได้ ในขณะที่ผลจากศึกษาลำดับเบสบนไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอของหอยในสกุลย่อย Syndromus ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบวิวัฒนาการขนาน โดยมี A. glaucolarynx แยกออกมาบริเวณฐานของแผนภูมิ ส่วนหอยต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลย่อย Syndromus ที่เหลือจะมีความสัมพันธ์เป็นแบบวิวัฒนาการบรรพบุรุษเดียว นอกจากนี้แล้วความสัมพันธ์แบบวิวัฒนาการหลายบรรพบุรุษของไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอภายหอยในชนิดเดียวกัน ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในหอยหลายชนิดจากทั้งสองสกุลย่อย จากผลการศึกษาดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอนุกรมวิธานของหอยต้นไม้ในหลายกรณีเช่น A. glaucolarynx ควรที่แยกออกจากสองสกุลย่อย การปรับปรุงอนุกรมวิธานในสกุลย่อย Syndromus โดยอาศัยหลักการการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ระหว่างประชากร อาจจะบ่งชี้ว่ายังมีสปีชีส์ที่ซ้อนเร้น ซึ่งมีลักษณะลวดลายสีสันของเปลือกคล้ายคลึงกันอยู่ อาทิ เช่นในหอยต้นไม้ชนิด A. (S.) xiengensis เป็นต้น นอกจากนี้ยังแสดงหลักฐานลักษณะกำหนดทางวิวัฒนาการของการขดวนของ เปลือกแบบเวียนซ้ายและเวียนขวาในหอยสกุลนี้ได้เป็นครั้งแรก และจากการคำนวณอายุโดยอาศัยอัตราการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการของ ลำดับเบสบนไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอทำให้คาดการณ์ได้ว่าบรรพบุรุษของหอยต้นไม้สกุลนี้อาจจะถือกำเนิดมาในยุคโอลิโกซีน (ประมาณ 35 ล้านปี) หรือในยุคไพลโอซีน (ประมาณ 3.5 ล้านปี) โดยใช้เป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงสุดและต่ำสุดที่เคยมีรายงานในหอยทากบก |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2004 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Biological Sciences |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25417 |
ISBN: | 9741765592 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chirasak_su_front.pdf | 6.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch1.pdf | 800.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch2.pdf | 885.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch3.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch4.pdf | 29.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch5.pdf | 21.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_ch6.pdf | 7.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chirasak_su_back.pdf | 22.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.