Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2541
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร ศุภพงษ์ | - |
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี | - |
dc.contributor.author | ชาติวุฒิ จำจด, 2518- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-16T07:53:51Z | - |
dc.date.available | 2006-09-16T07:53:51Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741765622 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2541 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานของการให้ภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลภาครัฐของประเทศไทย รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงาน โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ชนิดให้ตอบด้วยตนเอง ไปยังโรงพยาบาลภาครัฐจำนวน 524 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 78.2 (410 จาก 524) จากโรงพยาบาลที่ตอบกลับ 410 แห่ง พบว่าโรงพยาบาล 310 แห่ง (ร้อยละ 75.6) มีนโยบายในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยมีการดำเนินงานการให้ภูมิคุ้มกันก่อนการสัมผัสเชื้อ (253 แห่ง, ร้อยละ 61.7) มากกว่าการให้ภูมิคุ้มกันหลังการสัมผัสเชื้อ (238 แห่ง, ร้อยละ 58.0) มีการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก่อนเข้างานในโรงพยาบาล 235 แห่ง (235 จำ 410, ร้อยละ 57.3) โดยตรวจบุคลากรที่เข้าใหม่ทุกคน 127 แห่ง (ร้อยละ 31.0) และตรวจเฉพาะกลุ่มสี่ยง 108 แห่ง (ร้อยละ 26.3) บุคลากรกลุ่มเสี่ยงได้รับภูมิคุ้มกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ในโรงพยาบาล 156 แห่ง (ร้อยละ 38.0) ปัญหาหลักในการดำเนินการคือปัญหาสภาพทางการเงินที่ไม่เอื้ออำนวย และโรงพยาบาลต้องการการสนับสนุนด้านวัคซีนในการดำเนินการมากที่สุด ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการมีนโยบายในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่การมีการดำเนินงานระบบคุณภาพของโรงพยาบาล และการผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA; Hospital Accreditation) โรงพยาบาลควรมีนโยบาย และแนวทางในการดำเนินงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน สำหรับหน่วยงานส่วนกลางของรัฐ (1) ควรมีการจัดหาวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีโดยคิดมูลค่า หรือมีเงินงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินการ และ (2) ควรจัดทำแนวทางการดำเนินงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นมาตรฐาน และแพร่หลายเข้าถึงได้ง่าย | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this cross sectional descriptive study were to determine the situation and associated factors of hepatitis B immunization for healthcare workers (HCWs) in Thai governmental hospitals. Self administered questionnaires were sent to 524 governmental hospitals through out the country during October and November 2004, and the response rate was 78.2 percent (410 out of 524 hospitals). Majority of the hospitals had the hepatitis B immunization policies for their healthcare workers 310/410, 75.6%). The implementations of preexposure program (253/410, 61.7%) were more frequent than postexposure program (238/410, 58.0%). The preplacement examinations of hepatitis B immune statuses were conduceted for all new HCWs in 127 hospitals (31.0%) and only for new high risk HCWs in 108 hospitals (26.3%). The preexposure immunizations for high risk HCWs were carried out in 156 hospitals (38.0%). Financial problem was the main obstacle for running the immunization program and vaccine provision by the government was the most needed support for the hospitals. Hospital Accreditation (HA) statuses of the hospitals were found to related to the existence of their hepatitis B immunization policy and immunization. Policy and implementation of hepatitis B immunization f9or HCWs, especially for the high risk ones, should exist in all government hospitals. Central authority should: (1) provide adequate budget of hepatitis B vaccine for the hospitals and ; (2) prepare and distribute the national standard guideline on hepatitis B immunization for HCWs. The reimbursement regulation for lhepatitis B vaccine should also be revised. | en |
dc.format.extent | 1604903 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภูมิคุ้มกัน | en |
dc.subject | วิทยาภูมิคุ้มกัน | en |
dc.subject | ไวรัสตับอักเสบบี | en |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | en |
dc.title | สถานการณ์การให้ภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐของประเทศไทย พ.ศ. 2547 | en |
dc.title.alternative | Situation of hepatitis B immunization for healthcare workers in Thai governmental hospitals, 2004 | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | อาชีวเวชศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Soontorn.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Wiroj.J@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charttiwut.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.