Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25434
Title: การศึกษาสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษา ในวิทยาลัยพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: A study of the physical fitness of the physical education instructors of the college of physical education in the north-easten region
Authors: สุระ สุบินดี
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาชายในวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชัยภูมิ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดมหาสารคาม และวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 59 คน ดำเนินการวิจัยโดยให้กลุ่มประชากรเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 9 รายการ คือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก แรงบีบมือ แรงเหยียดหลัง แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ความจุปอด เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบแต่ละรายการมาวิเคราะห์ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความปรวนแปรทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา กลุ่มอายุ 20 - 30 ปี มีค่าเฉลี่ยดังนี้ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 72.11 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก 117.29 มิลลิเมตรปรอท แรงบีบมือ 0.76 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แรงเหยียดหลัง 1.69 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แรงเหยียดขา 1.86 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ความอ่อนตัว 13.55 เซนติเมตร ความจุปอด 59.36 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย 5.73 เปอร์เซนต์ และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด 39.64 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที 2. ค่าเฉลี่ยของการทดสอบสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุ 31-40 ปี มีค่าเฉลี่ยดังนี้ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 69.75 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ในขณะพัก 123.75 มิลลิเมตรปรอท แรงบีบมือ 0.76 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แรงเหยียดหลัง 1.60 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แรงเหยียดขา 1.73 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ความอ่อนตัว 12.32 เซนติเมตร ความจุปอด 53.26 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย 9.33 เปอร์เซนต์และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด 33.93 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที 3. สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุ 20 - 30 ปี และ 31 – 40 ปี ในแต่ละรายการ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในรายการทดสอบ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะบีบตัวในขณะพัก แรงบีบมือ แรงเหยียดหลัง แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ความจุปอด และเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกายส่วนในรายการทดสอบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ในกลุ่มอายุ 20 – 30 ปี อาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชัยภูมิ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอุดรธานี และวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และในกลุ่มอายุ 31 – 40 ปี อาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดศรีสะเกษแตกต่างกับวิทยาลัยพลศึกษาอุดรธานี และวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และ .05 ตามลำดับ 4. เกณฑ์สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้ 4.1 แรงบีบมือ ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำ และต่ำมาก จะมีแรงบีบมือต่อน้ำหนักตัว ทั้งอายุ 20 - 30 ปี และ 31 - 40 ปี ดังนี้ 0.95 กิโลกรัมขึ้นไป, 0.86 – 0.94 กิโลกรัม, 0.68 – 0.85 กิโลกรัม, 0.59 – 0.67 กิโลกรัม และ 0.58 กิโลกรัมลงมา ตามลำดับ 4.2 แรงเหยียดหลัง ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำ และต่ำมาก จะมีแรงเหยียดหลังต่อน้ำหนักตัว ดังนี้ อายุ 20 - 30 ปี ตั้งแต่ 2.30 กิโลกรัมขึ้นไป, 2.00 – 2.29 กิโลกรัม, 1.40 – 1.99 กิโลกรัม, 1.10 – 1.39 กิโลกรัม และตั้งแต่ 1.09 กิโลกรัมลงมา ตามลำดับ และอายุ 31 - 40 ปี ตั้งแต่ 2.17 กิโลกรัมขึ้นไป, 1.89 – 2.16 กิโลกรัม, 1.33 – 1.88 กิโลกรัม, 1.05 – 1.32 กิโลกรัม และตั้งแต่ 1.04 กิโลกรัมลงมา ตามลำดับ 4.3 แรงเหยียดขา ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำและต่ำมาก จะมีแรงเหยียดขาต่อน้ำหนักตัว ดังนี้ อายุ 20 -30 ปี ตั้งแต่ 2.61 กิโลกรัมขึ้นไป, 2.24 – 2.60 กิโลกรัม, 1.50 – 2.23 กิโลกรัม, 1.13 – 1.49 กิโลกรัม และตั้งแต่ 1.12 กิโลกรัมลงมา ตามลำดับ และอายุ 31 -40 ปี ตั้งแต่ 2.40 กิโลกรัมขึ้นไป, 2.07 – 2.39 กิโลกรัม, 1.41 – 2.06 กิโลกรัม, 1.08 – 1.40 กิโลกรัม และตั้งแต่ 1.07 กิโลกรัมลงมา ตามลำดับ 4.4 ความอ่อนตัว ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำและต่ำมาก จะมีความอ่อนตัว ดังนี้ อายุ 20 -30 ปี ตั้งแต่ 24.0 เซนติเมตรขึ้นไป, 18.8 – 23.9 เซนติเมตร, 8.4 – 18.7 เซนติเมตร, 3.2 – 8.3 เซนติเมตร และตั้งแต่ 3.1 เซนติเมตรลงมา ตามลำดับ และอายุ 31 -40 ปี ตั้งแต่ 28.4 เซนติเมตรขึ้นไป, 20.4 – 28.3 เซนติเมตร, 4.4 – 20.3 เซนติเมตร,-4.4 – 4.3 เซนติเมตร และตั้งแต่ -4.5 เซนติเมตรลงมา ตามลำดับ 4.5 ความจุปอด ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำและต่ำมาก จะมีความจุปอดต่อน้ำหนักตัวดังนี้ อายุ 20 -30 ปี 74.89 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป, 67.13 – 74.88 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 51.61 – 67.12 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 43.85 – 51.60 ลูกบาศก์เซนติเมตร และตั้งแต่ 43.84 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงมา ตามลำดับ และอายุ 31 -40 ปี ตั้งแต่ 75.01 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป, 64.14 – 75.00 ลูกบาศก์เซนติเมตร 42.40 – 64.13 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 31.53 – 42.39 ลูกบาศก์เซนติเมตรและตั้งแต่ 31.52 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ 4.6 เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย ระดับมากเกินไป มาก ปานกลาง ค่อนข้างน้อย และน้อย จะมีปริมาณไขมัน ดังนี้ อายุ 20 –30 ปี ตั้งแต่ 9.28 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป, 7.51 – 9.27 เปอร์เซนต์, 3.97 – 7.50 เปอร์เซนต์, 2.20 – 3.96 เปอร์เซนต์ และตั้งแต่ 2.19 เปอร์เซนต์ลงมาตามลำดับ และอายุ 31 -40 ปี ตั้งแต่ 15.50 เปอร์เซนต์ขึ้นไป, 12.42 – 15.49 เปอร์เซนต์, 6.26 – 12.41 เปอร์เซนต์, 3.18 – 6.25 เปอร์เซนต์ และตั้งแต่ 3.17 เปอร์เซ็นต์ลงมา ตามลำดับ 4.7 สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ระดับดีมาก ดี พอใช้ ต่ำ และต่ำมาก จะมีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ดังนี้ อายุ 20 -30 ปี ตั้งแต่ 62.29 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาทีขึ้นไป, 50.97 – 62.28 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที, 28.33 – 50.96 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที, 17.01 – 28.32 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที และตั้งแต่ 17.00 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาทีลงมา ตามลำดับ และอายุ 31 – 40 ปี ตั้งแต่ 53.53 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาทีขึ้นไป, 43.74 – 53.52 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที, 24.16 – 43.73 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที, 14.37 – 24.15 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที และตั้งแต่ 14.36 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาทีลงมา ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate and to compare the physical fitness of the physical education instructors in the college of physical education in the northeastern region and to set up the physical fitness levels for the physical education instructors. The subjects were 59 male physical education instructors from four colleges of physical education in northeastern region Chaiyapoom, Udornthani, Mahasarakarm and Srisaket. The physical fitness variables which used to compare were : resting heart rate, resting systolic blood pressure, vital capacity, grip strength, back muscle strength, leg muscle strength, body flexibility, percent of body fat and maximum oxygen putake. The obtained data were then analysed in order to find the means and standard deviations and the One Way Analysis of variance in which the significant difference among groups were determined. It was found that : 1. The means of test items for the physical education instructors in the age group 20 – 30 years were 72.11 beats per minute for the resting heart rate, 117.29 mm.Hg. for the resting systolic blood pressure, 0.76 kilograms per body weight for the grip strength, 1.69 kilograms per body weight for the back muscle strength, 1.86 kilograms per body weight for the leg muscle strength, 13.55 centimeters for the body flexibility, 59.36 milliliters per body weight for the vital capacity, 5.73 percents for the percent of body fat and 39.64 milliliters per body weight per minute for the maximum oxygen uptake. 2. The means of test items for the physical education instructors in the age group 31 – 40 years were 69.75 beats per minute for the resting heart rate, 123.75 mm.Hg. for the resting systolic blood pressure, 0.76 kilograms per body weight for the grip strength, 1.60 kilograms per body weight for the back muscle strength, 1.73 kilograms per body weight for the leg muscle strength, 12.32 centimeters for the body flexibility, 53.26 milliliters per body weight for the vital capacity, 9.33 milliliters percents for the percent of body fat and 33.93 milliliters per body weight per minute for the maximam oxygen uptake. 3. The physical fitness of test items for the physical education instructors in the college of physical education in the northeastern region in the age group 20 – 30 years 31 – 40 years were not significant difference at the .05 level for the resting heart rate, resting systolic blood pressure, grip strength, back muscle strength, leg muscle strength, body flexibility, vital capacity and percent of body fat. While the maximum oxygen uptake for the age group 20-30 years the physical education instructors in the college of physical education in Srisaket was better than the Chaiyapoom, Udornthani and Mahasarakarm with significant difference at the .01 level and the age group 31-40 years of the physical education instructors in the college of physical education in Srisaket was better than the Udornthani and Mahasarakarm with Significant difference at the .01 and .05 level respectively. 4. The physical fitness levels for the physical education instructors in the college of physical education in the northeastern region were categorized as following : 4.1 The grip strength of group 20-30 and 31-40 years were categorized into excellent, good, moderate, rather low and low level as 0.95 and over; 0.86-0.94; 0.68-0.85; 0.59-0.67; 0.58 and under respectively 4.2 The back muscle Strength of group 20-30 years were categorized into excellent good, moderate, rather low and low level as 2.30 and over; 2.00-2.29; 1.40-1.39; 1.09 and under respectively and the age group of 31-40 years as 2.17 and over; 1.89-2.16; 1.33-1.88; 1.05-1.32; 1.04 and under respectively 4.3 The leg muscle strength of group 20-30 years were categorized into excellent, good, moderate, rather low and low level as 2.61 and over; 2.24-2.60; 1.50-2.23; 1.13-1.49; 1.12 and under respectively and the group of 31-40 years as 2.40 and over; 2.07-2.39; 1.41-2.06; 1.08-1.40; 1.07 and under respectively. 4.4 The flexibility of group 20-30 years were categorized into excellent, good, moderate, rather low and low level as 24.0 and over, 18.8-23.9; 8.4-18.7; 3.2-8.3; 3.1 and under respectively and the age group of 31-40 years as 28.4 and over; 20.4-28.3; 4.4-20.3; -4.4-4.3; -4.5 and under respectively. 4.5 The vital capacity of group 20-30 years were categorized into excellent, good, moderate, rather low and low level as 74.89 and over; 67.13-74.88; 51.61-67.12; 43.85-51.60; 43.84 and under respectively and the age group of 31-40 years as 75.01 and over; 64.14-75.00; 42.40-64.13; 31.53-42.39; 31.52 and under respectively 4.6 The percent of body fat of group 20-30 years categorized into high, rather high, moderate, rather low and low level as 9.28 and over; 7.51-9.27; 3.97-7.50; 2.20-3.96; 2.19 and under respectively and the age group of 31-40 years as 15.50 and over; 12.42-15.49; 6.26-12.41; 3.18-6.25; 3.17 and under respectively 4.7 The maximum oxygen uptake of group 20-30 years were categorized into excellent, good, moderate, rather low and low level as 62.29-and over; 50.97-62.28; 28.33-50.96; 17.01-25.32; 17.00 and under respectively and the age group of 31-40 years as 53.53 and over; 43.74-53.52; 24.16-43.73; 14.37-24.15; 14.36 and under respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25434
ISBN: 9745645435
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sura_Su_front.pdf579.39 kBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_ch1.pdf517.82 kBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_ch2.pdf585.99 kBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_ch3.pdf271.6 kBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_ch5.pdf630.68 kBAdobe PDFView/Open
Sura_Su_back.pdf719.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.