Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25476
Title: โครงสร้างทางการเมืองสมัยสุโขทัย
Other Titles: The Sukhothai political structure
Authors: วิไลลักษณ์ เมฆารัตน์
Advisors: วไล ณ ป้อมเพ็ชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐสุโขทัยเป็นรัฐไทยที่สามารถแผ่อำนาจทางการเมืองออกไปได้กว้างขวางในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 คือในช่วงรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ถึงพ่อขุนรามคำแหง ข้อน่าสังเกตคือ อำนาจทางการเมืองนี้มีอยู่ในระยะเวลาอันสั้น เมื่อมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สุโขทัยก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรกัมพูชาในรูปของ “รัฐในอุปถัมภ์” ความสัมพันธ์นี้มีผลให้สุโขทัยสามารถแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐไทยอื่น ๆ ได้เป็นผลสำเร็จทันทีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ซึ่งหมายถึงการสูญสิ้นอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาเหนือบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาลงโดยสิ้นเชิงด้วย ปัจจัยในการส่งเสริมอำนาจทางการเมืองของสุโขทัย ที่สำคัญประการหนึ่งจึงเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งเอื้ออำนวยให้อย่างมาก ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือ บุคคลิกภาพและความสามารถทางการรบของผู้นำซึ่งมีอยู่ต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกันคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนรามคำแหง ปัจจัยนี้เป็นลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปของรัฐในระยะแรก ๆ ซึ่งยังมิได้จัดระเบียบการควบคุมอำนาจให้อยู่ในรูประบบแน่นอน ยังคงอาศัยอัจฉริยภาพของผู้นำเป็นข้อต่อรองให้เกิดการยอมรับทางการเมือง อำนาจทางการเมืองของสุโขทัยจะคงอยู่ได้นานเพียงใดขึ้นอยู่กับสองปัจจัยนี้ อย่างไรก็ตามกลับพบว่า อำนาจทางการเมืองภายในรัฐสุโขทัยเองดำเนินไปอย่างที่เรียกได้ว่ามีความมั่นคงแม้ว่าจะไม่มีการวางรูปแบบการปกครองที่แน่นอน และเมืองต่าง ๆ มีโอกาสแยกเป็นอิสระจากเมืองหลวงได้ในบางครั้ง แต่ไม่อาจท้าทายอำนาจทางการเมืองของเมืองหลวงจนยกกำลังมายึดไปได้ สภาพทางการเมืองเช่นนี้สะท้อนให้เห็นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งสามารถจัดระเบียบการสืบทอดอำนาจให้อยู่ในสายราชวงศ์เดียว ปัญหาทางการเมืองในช่วงก่อนที่พระมหาธรรมราชาลิไทขึ้นครองราชย์นั้นนับเป็นเรื่องเล็กน้อยมากเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับราชวงศ์อื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งเสริมความมั่นคงทางการเมือง อีกประการหนึ่งคือ พุทธศาสนาซึ่งอยู่ในฐานะอุดมการณ์แห่งรัฐ ( State Ideology ) และเป็นตัวเชื่อมประสานความคิดทางการเมืองระหว่างกษัตริย์และประชาชนเข้าด้วยกัน โครงสร้างทางการเมืองอันอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองภายในแก่ราชวงศ์พระร่วง แต่ไม่อาจเสริมสร้างอำนาจให้เพิ่มพูนเหนือรัฐอื่น ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เมื่อรัฐอยุธยาเริ่มแข่งขันอำนาจสุโขทัยจึงต้องสูญเสียเอกราชในที่สุด
Other Abstract: At the beginning of the thirteenth century, during the reigns of King Sri Indraditya and King Ram Khamhaeng, the kingdom of Sukhothai reached the highest stage of its political power expansion. The political power of this kingdom lasted only for a brief span of time and in the beginning of the fourteenth century, Sukhothai was annexed to the Kingdom of Ayudhya. The research shows that the connection between Sukhothai and the khmer kingdom was on the good terms of “Cliont-Patron Relationship.” Owing to this connection, immediately after the death of Jayavarman VII which signified the decline of the khmer power over the Menam valley, Sukhothai became then the ruler of other in the area instead of Khmer Kingdom. It might be stated therefore that one of the main factors which helped to establish Sukhothai political power is the favourable political situation. Another important factor is a string of capable leaders: King Sri Indraditya and King Ram Khamhaeng, who had charismatic personality and military talent. This factor is a common characteristic of any early state which did not acquire a well organized system of control. So, the acceptance of Sukhothai predominance by other Thai States was based on the capability of its leaders. The continuity of Sukhothai political mightiness depended upon these two factors. Surprisingly, though there was a lack of an appropriate form of administration, Sukhothai enjoyed a political stability within its kingdom. It happened that other States renounced the suzerainty of Sukhothai but they never had enough power to conquer the capital of Sukhothai. This political situation is due to the fact that the Sukhothai kings managed to keep the right of succession within their own dynasty. The political conflicts before King Li Thai’s ascension to the throne were trifles comparing with those happening to other contemporary dynasties. Buddhism, the State Ideology, is the other factor which supported the political stability of the Sukhothai kingdom. The religion united kings and their people within the same political ideas. The political structure based on these factors which confirmed the right of the Pra Ruang dynasty to rule the Sukhothai kingdom, but it failed to support the power of the kingdom over other states forever. Therefore when the new kingdom of Ayudhya emerged as a strong and powerful, Sukhothai eventually melt away.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25476
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilailak_Me_front.pdf603.2 kBAdobe PDFView/Open
Vilailak_Me_ch1.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Vilailak_Me_ch2.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Vilailak_Me_ch3.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Vilailak_Me_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.