Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25532
Title: การเปรียบเทียบผลการสอนวิชาวอลเลย์บอล โดยวิธีสอนแบบค้นและแก้ปัญหากับการสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิต
Other Titles: Comparison of the effectiveness between the movement exploration and the lecture-demonstration method in teaching volleyball
Authors: ดำรัส ดาราศักดิ์
Advisors: วรศักดิ์ เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลการสอนวิชาวอลเลย์บอลโดยวิธีสอนแบบค้นและแก้ปัญหา กับการสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิต วิธีดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ทดลองสอนนักเรียนประถมศึกษาปีที่เจ็ด โรงเรียนสตรีสมถวิลราชดำริ จำนวน 70 คน โดยวิธีการสอนสองแบบ คือ กลุ่มหนึ่งสอนโดยวิธีค้นและแก้ปัญหา เรียกว่า กลุ่มทดลอง อีกกลุ่มหนึ่งสอนโดยวิธีการบรรยายประกอบการสาธิต เรียกว่ากลุ่มควบคุม ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน “แบบทดสอบทักษะวอลเลย์บอล” ของ AAHPER มาทดสอบเพื่อวัดระดับความสามารถทางทักษะวอลเลย์บอลให้เท่าเทียมกันทั้งสองกลุ่ม และเมื่อสอนจบบทเรียนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ จะมีการทดสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐานอีครั้งหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คะแนนผลการสอนวิชาวอลเลย์บอลโดยเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มทดลอง ซึ่งสอนโดยวิธีสอนแบบค้นและแก้ปัญหา กับกลุ่มควบคุมซึ่งสอนโดยวิธีสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the effectiveness between the Movement Exploration and Lecture - Demonstration methods in Teaching volleyball. Seventy Prathom seventh students of Somtavil Rajdamri School were used as subjects and were divided into two groups : experimental and controlled groups with equal ability in volleyball skill based on the results of the AAHPER volleyball skill test. The experimental group was taught by the Movement Exploration method and the controlled group was taught by the Lecture-Demonstration method. The set-up, dig-up and under hand serve volleyball skills were used in the teaching in this study. The total time spent in this study was 10 weeks. At the end of the 10 – week period, the volleyball standard test of AAHFER was again used to test the students' ability. The data were then analyzed and tested the level of significant difference by the z test. It was found that there was no significant difference at .05 level between this two teaching methods.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25532
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Damras_Da_front.pdf408.29 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_ch1.pdf496.25 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_ch2.pdf842.6 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_ch3.pdf883.94 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_ch4.pdf284.05 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_ch5.pdf354.13 kBAdobe PDFView/Open
Damras_Da_back.pdf453.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.