Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันติ ไกรกาญจน์-
dc.contributor.advisorจุฬา สุขมานพ-
dc.contributor.authorณัฎฐา เจือทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-23T07:04:06Z-
dc.date.available2012-11-23T07:04:06Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741764146-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractสิทธิของผู้ขนส่งที่มีต่อคู่สัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางทะเลมีความแตกต่างกัน เนื่องจากผู้ขนส่งมีคู่สัญญาหลายฝ่ายและนิติสัมพันธ์เหล่านั้นอยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ผู้ขนส่งจึงอาจไม่ทราบถึงสิทธิต่างๆ ที่ตนมีความสัมพันธ์กับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน จากการศึกษาพบว่า สิทธิของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่งของ (Shipper) 1 ผู้รับตราส่ง (Consignee) และ ตัวแทนเรือ (Ship’s agent) ทั้งตามกฎหมายไทย , อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาไม่มีความแตกต่างเท่าใดนัก แต่สำหรับผู้รับจัดการขนส่ง (Freight forwarder) ซึ่งอาจเป็นตัวการหรือตัวแทนของเจ้าของสินค้าก็ได้ มีปัญหาว่าผู้รับจัดการขนส่งเข้าทำสัญญากับผู้ขนส่งในฐานะใด เนื่องจากหากผู้ขนส่งเรียกให้ผู้รับจัดการขนส่ง รับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่เรือหรือสินค้าอื่น ผู้รับจัดการขนส่งอาจต่อสู้ว่าตนกระทำการในฐานะเป็น ตัวแทนของเจ้าของสินค้าก็ได้ จึงควรมีสัญญามาตรฐานหรือมีกฎหมายที่กำหนดสถานะของผู้รับจัดการขนส่ง ให้ชัดเจนว่าในระหว่างผู้รับจัดการขนส่งกับเจ้าของสินค้านั้นมีสถานะใด สำหรับกรณีผู้บรรทุกขนถ่ายของบนเรือ (Stevedore) และผู้ขนย้ายของบนท่า (Shore handling personnel) โดยปกติแล้วจะเป็นเรื่องสัญญาจ้าง ทำของทั้งกฎหมายไทย 1 อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แต่มีกรณีผู้ขนย้ายของบนท่าที่เก็บรักษาสินค้าในโกดังที่ ตามกฎหมายอังกฤษและสหรัฐอเมริกาถือว่าทั้งผู้ขนส่งและผู้ขนย้ายของบนท่ามีความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับฝาก (Bailee) ส่วนเจ้าของสินค้าเป็นผู้ฝากทรัพย์ แต่กฎหมายไทยถือว่าผู้ขนส่งเป็นผู้ฝากทรัพย์เพื่อผู้อื่น (เจ้าของสินค้า) ผู้ขนย้ายของบนท่าเป็นผู้รับฝาก กรณีนี้ผู้ขนส่งตามกฎหมายไทยมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง มากกว่าตามกฎหมายอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเพราะผู้ขนย้ายของบนท่าที่เป็นผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวัง ในระดับที่กฎหมายกำหนด ในขณะที่ผู้ขนย้ายของบนท่าที่เป็น Independent Contractor ไม่มีกฎหมาย กำหนดระดับความระมัดระวังไว้ สำหรับกรณีการประกันภัยทางทะเลในขณะที่ประเทศอังกฤษมี Marine Insurance Act, 1906 และศาลในสหรัฐอเมริกาก็นำ Marine Insurance Act, 1906 มาบังคับใช้กับการประกันภัยทางทะเลในประเทศตนด้วย ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายประกันภัยทางทะเลใช้บังคับโดยเฉพาะ แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาทังที่ให้นำ Marine Insurance Act,1906 มาปรับใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมาย ทั่วไป และให้ใช้กรมธรรมในฐานะที่เป็นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะสัญญา รวมถึงให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะประกันภัยในฐานะเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง จึงควรได้มีการตรากฎหมายประกันภัยทางทะเลโดยนำ Marine Insurance Act,1906 เป็นต้นร่างเพื่อให้ผู้ขนส่ง ทราบถึงสิทธิของตนที่จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายนี้อย่างชัดเจนเพราะ Marine Insurance Act,1906 เป็นกฎหมายประกันภัยทางทะเลที่นำมาใช้ในนานาประเทศ-
dc.description.abstractalternativeCarrier’s rights against the other parties under the contracts relating to maritime transport are different. Because many parties lead to many juristic relations based on many laws, the carrier may not understand all his own rights under the different contracts. From the study, it reveals that carrier's rights against shipper, consignee, ship’s agent according to Thai law, English law and American law have no significant distinction. But, in the case of freight forwarder, who can be the principal or the agent of the cargo’s owner, the study found that there may be problems regarding the status of freight forwarder. For example, when the carrier seeks responsibility from freight forwarder, he may argue that he acts as an agent of cargo’s owner not shipper or cargo’s owner by himself. Thus, there should be standard contract or law as to settle the status and relationship of freight forwarder and the cargo's owner in the contract. For the case of stevedore and shore handling personnel, in normal case their juristic acts are governed by Hire of Work Contract under Thai law, English law and American law. In case of shore handling personnel who is keep the goods in warehouse, under English law and American law, both carrier and shore handling personnel are liable as the bailee and the cargo’s owner plays the role of the bailor. However, as Thai law holds the carrier as the bailor and the shore handling personnel as the bailee, it provides more protection to the carrier than in English law and American law. Shore handling personnel, in the role of the bailee, has the duty of care under the law, whereas under English law and American law, the shore handling personnel who is hired as an "independent contractor” has not that duty. As regards marine insurance, United Kingdom has the Marine Insurance Act,1906 (MIA), while, the United States’ court applied MIA to the marine insurance case in their country. But in Thailand, there is no specific law to apply to the case. So far, the Supreme court's decision have had three different concepts in applying MIA to adjudge the disputes. First, the court treated MIA as a general principle of laws. Second, it considered an insurance policy and applied the general law of the contract under Civil and Commercial Code and third, referred to the Civil and Commercial Code Title XX Insurance as the provision that is the most nearly applicable. To solve the problem of inconsistency, Thailand should adopt MIA as the model law for drawn legislation because MIA is the law that has been known and applied in many countries.-
dc.format.extent3999745 bytes-
dc.format.extent1667353 bytes-
dc.format.extent18675073 bytes-
dc.format.extent66627612 bytes-
dc.format.extent3945895 bytes-
dc.format.extent1812231 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleสิทธิของผู้ขนส่งตามสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการรับขนของทางทะเล : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายอังกฤษและกฎหมายสหรัฐอเมริกาen
dc.title.alternativeCarrier's rights under contracts of carriage of goods by sea : comparative study of the Law, English law and American lawen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttha_ch_front.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Nuttha_ch_ch1.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Nuttha_ch_ch2.pdf18.24 MBAdobe PDFView/Open
Nuttha_ch_ch3.pdf65.07 MBAdobe PDFView/Open
Nuttha_ch_ch4.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Nuttha_ch_back.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.