Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25575
Title: Development of Metronidazole Microemulsion gel for Periodontal use
Other Titles: การพัฒนาเมโทรนิดาโซลไมโครอิมัลชั่นเจลสำหรับใช้ในร่องลึกปริทันต์
Authors: Vachiraporn Sriprasert
Advisors: Garnpimol C. Ritthidej
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Various pharmaceutically acceptable components were investigated the possibility to form microemulsion gel (MEG) and liquid crystal (LC). Spontaneous formation was obtained by mixing four components. Isopropyl myristate (IPM), castor oil (CO) and soybean oil (SBO) were used as an oil phase; tween 80 (T₈₀), cremophor EL (CEL) and cremophor RH (CRH) as surfactant; Lutrol F-68 (L₆₈), Brij 72 (B₇₂), Brij 721S (B721s), Brij 35 (B₃₅), cetyl alcohol (C), butanol (B), glycerin (G) and propylene glycol (PG) as cosurfactant and ultrapure water were used. Pseudo-ternary phase diagrams were constructed from various combinations of these excipients to evaluate the MEG and LC existing area. Polarized light microscope was used to elucidate the formation, structure and microscopic pattern of the obtained MEG and LC. Transmission electron microscope (TEM) and SemAfore computerized program were used to determine the particle size and size distribution of system. The physicochemical properties were also investigated both before and after stability testing including visual observation, MEG type, conductivity, pH, syringeability, viscosity, loading capacity of selected MEG and LC. The potential of MEG and LC to prolong the release of 1.5% w/w metronidazole was accordingly evaluated in vitro using modified Franz diffusion cell whereas the possibility to use MEG and LC as periodontal drug delivery was studied on the antimicrobial activity against Porphyromonas gingivalis. The results indicated that types and ratios of surfactant, cosurfactant and oil used had pronounced effect on the existing region of MEG and LC. MEG area could be produced by specific type and ratio of component in a narrow range. B, C, B₇₂ and G as cosurfactant could not form MEG at any ratio. The areas of MEG in pseudo-ternary phase diagrams were mostly increased with the decreasing oil to surfactant radio. The results from dilution test and dye solubility test including conductivity test confirmed that most MEG and LC were o/w type. Results from TEM revealed that the mean droplet diameters of the system were in the range of 25-85 nm and increased after freeze-thawing. The type and amount of oil, surfactant and cosurfactant also affected the viscosity of system. Furthermore, the assessment of the possibility of using these systems as periodontal drug delivery showed that selected formulations could hold a maximum of 1.5% w/w metronidazole. Most systems exihibited birefringent property under cross-polarizing microscope. The non-newtonian and shear-thinning flow behaviors could be obtained indicating the good syringeability and injectability of the systems. The drug diffusion from MEG and LC systems was sustained to more than 24 hours and was best fitted with first order kinetic and Higuchi model. Antimicrobial activity of selected formulation showed the strong inhibition zone against P. gingivalis. by agar diffusion method. After accelerated and Thai FDA stability testing, MEG and LC still showed good physicochemical stability.
Other Abstract: สารที่ยอมรับทางเภสัชกรรมว่าปลอดภัยหลายชนิดได้ถูกนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดไมโครอิมัลชันเจล และระบบผลึกเหลว วิธีการเตรียมสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยการผสมส่วนประกอบทั้งสี่ชนิดเข้าด้วยกัน คือ น้ำมัน, สารลดแรงตึงผิว, สารลดแรงตึงผิวร่วม โดยใช้ไอโซโพรพิลเมอริสเตท, น้ำมันละหุ่ง และน้ำมันถั่วเหลืองเป็นส่วนของน้ำมัน และใช้ทวีน80, คลีโมฟอร์อีแอล, คลีโมเฟอร์อาร์เอช40 เป็นสารลดแรงตึงผิว และใช้ลูทรอลเอฟ-68, บริจ72, บริจ721-เอส, บริจ35, เซทิลแอลกอฮอล์, บิวทานอล, กลีเซอรีน และโพรพิลีนไกลคอลเป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม และน้ำในการศึกษาครั้งนี้ จากนั้นทำการสร้างเฟสไดอะแกรมจากระบบที่เตรียมจากส่วนประกอบดังกล่าวเพื่อศึกษาพื้นที่การเกิดไมโครอิมัลชันเจล และระบบผลึกเหลว โดยใช้กล้องโพลาไรส์ตรวจสอบการเกิดและกำหนดลักษณะโครงสร้างของไมโครอิมัลชันเจล และระบบผลึกเหลวที่เกิดขึ้น และยังใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนควบคู่ไปกับการใช้โปรแกรมซีมาฟอร์ เพื่อศึกษาขนาดและการกระจายของอนุภาค นอกจากนี้ยังทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพเคมีของระบบ ทั้งก่อนและหลังการศึกษาความคงตัวของระบบรวมทั้ง การสังเกตด้วยตา, ชนิดของไมโครอิมัลชันเจล, คุณสมบัติการนำไฟฟ้า, พีเอช, การไหลผ่านเข็มฉีดยา, ความหนืด และความสามารถในการละลายตัวยาออกฤทธิ์ของไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวที่เตรียมได้ ในการประเมินความเป็นไปได้ในการใช้ไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวเพื่อควบคุมการปลดปล่อยของเมโทรนิดาโซล 1.5% โดยน้ำหนักโดยใช้ฟรานซ์ดิฟฟิวชันเซล รวมทั้งการประเมินความเป็นไปได้ในการเป็นระบบนำส่งยาที่ใช้ในร่องเหงือกด้วยการศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลชีพที่มีต่อเชื้อพอไฟโรโมนาส จิงจิวอลลิส ของระบบไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวที่เตรียมได้ จากการศึกษาพบว่าชนิดและอัตราส่วนของสารลดแรงตึงผิว, สารลดแรงตึงผิวร่วม และน้ำมันมีผลต่อพื้นที่ในการเกิดไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลว ซึ่งไมโครอิมัลชันเจลสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีชนิดและอัตราส่วนขององค์ประกอบที่เหมาะสมและเกิดได้ในพื้นที่จำกัด จากผลการทดลองพบว่าการใช้บิวทานอล, เซทิลแอลกอฮอล์, บริจ 72 และ กลีเซอรีนเป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม ไม่สามารถทำให้เกิดไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวได้ พบว่าพื้นที่ในการเกิดไมโครอิมัลชันเจลในเฟสไดอะแกรมเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนของน้ำมันต่อสารลดแรงตึงผิวลดลง ผลการทดสอบโดยการเจือจาง, การย้อมสี รวมทั้งการทดสอบการนำไฟฟ้าพบว่าระบบที่ศึกษาส่วนใหญ่เกิดไมโครอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ ขนาดอนุภาคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่าขนาดของอนุภาคอยู่ในช่วง 25-85 นาโมเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของไมโครอิมัลชันเจลเพิ่มขึ้นภายหลังการทดสอบความคงตัว ชนิดและอัตราส่วนขององค์ประกอบในตำรับมีผลต่อความหนืดของไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวที่ได้ การประเมินความเป็นไปได้ในการใช้ไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลว เป็นระบบนำส่งยาที่ใช้ในร่องเหงือก แสดงให้เห็นว่าระบบสามารถที่จะละลายตัวยาเมโทรนิดาโซลได้ 1.5% โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ยังพบว่าระบบที่ได้ส่วนใหญ่มีการกระเจิงแสงภายใต้กล้องโพราไรส์ ควบคู่ไปกับคุณสมบัติการไหลแบบนอนนิวโตเนียน และเชียทินนิ่งซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ระบบที่ได้มีคุณสมบัติการไหลผ่านเข็มฉีดยาที่ดีและง่ายต่อการฉีดเฉพาะที่ จากคุณสมบัติการปลดปล่อยตัวยา พบว่าทุกระบบสามารถควบคุมการปลดปล่อยตัวยาได้ยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง โดยมีจลนศาสตร์การปลดปล่อยตัวยาเป็นแบบฮิกูชิและจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง สำหรับประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลชีพในช่องปากของระบบที่ได้พบว่าสามารถแสดงเล้นผ่านศูนย์กลางของขอบเขตในการยับยั้งเชื้อ พอไรโรโมนาส จิงจิวอลลิส โดยวิธีอาการ์ดิฟฟิวชัน ภายหลังการทดสอบความคงตัวภายใต้สภาวะเร่งและและภายหลังจากการเก็บที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าไมโครอิมัลชันเจลและระบบผลึกเหลวที่ได้มีความคงตัวทั้งกายภาพและเคมี
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25575
ISBN: 9741757255
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vachiraporn_sr_front.pdf10.35 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_ch2.pdf14.58 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_ch3.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_ch4.pdf63.51 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_ch5.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Vachiraporn_sr_back.pdf32.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.