Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2560
Title: | ประสิทธิภาพของวัคซีนรวมป้องกันโรคไวรัสไอบีอาร์ บีวีดี พีไอ-3 และบีอาร์เอสต่อการเจริญเติบโต และสมรรถภาพการสืบพันธุ์ในโคนมสาวทดแทน |
Other Titles: | Efficacy of bovine rhinotracheitis viral diarrhea parainfluenza-3 and respiratory syncytial viruses combined vaccine on growth and reproductive performance in replacement heifers |
Authors: | ธนศักดิ์ บุญเสริม, 2516- |
Advisors: | ปราจีน วีรกุล ชัยณรงค์ โลหชิต กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prachin.V@Chula.ac.th Chainarong.L@Chula.ac.th Kittisak.A@Chula.ac.th |
Subjects: | โคนม การติดเชื้อเฮอร์ปีสไวรัส โคนม -- โรคเกิดจากไวรัส วัคซีน |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไวรัสไอบีอาร์ บีวีดี พีไอ-3 และบีอาร์เอส ต่อการเจริญเติบโตและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของโคนมสาวทดแทน การทดลองที่ 1 ศึกษาในลูกโคนมที่ได้รับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 6 เดือนและฉีดกระตุ้นครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 7 เดือนจำนวน 30 ตัว และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีก 30 ตัว การทดลองที่ 2 ศึกษาในโคนมสาวที่ได้รับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุครบ 12 เดือนและฉีดกระตุ้นครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 13 เดือนจำนวน 20 ตัว และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีก 20 ตัว วัดน้ำหนักตัว เก็บตัวอย่างซีรั่มเพื่อวัดระดับแอนติบอดีต่อไวรัสไอบีอาร์และบีวีดีทุก 1 เดือน จนโคอายุครบ 18 เดือน บันทึกประวัติการผสมพันธุ์และประวัติสุขภาพของโค จากการศึกษาพบว่าการฉีดวัคซีนไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ของโคนมสาวทดแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทดลองที่ 1 โคกลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ยที่ผสมได้ (501.03 +- 44.86 วัน) แตกต่างจากโคกลุ่มควบคุม (530.93 +- 51.50 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โคกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอัตราผสมติดของการผสมครั้งแรกเท่ากับ 60% และ 63.33% จำนวนครั้งการผสมต่อการผสมติดเท่ากับ 1.8 และ 1.47 ครั้ง ตามลำดับ การทดลองที่ 2 อายุเฉลี่ยที่ผสมได้ของโคกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โคกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอัตราการผสมติดของการผสมครั้งแรกเท่ากับ 55% และ 66.67% การฉีดวัคซีนไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งการผสมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม จำนวนครั้งการผสมต่อการผสมติดเท่ากับ 2.09 และ 1.93 ตามลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ทดลอง ไม่พบจำนวนโคที่แสดงอาการป่วยของระบบทางเดินหายใจตลอดการทดลอง โคที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง 2 การทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับแอนติบอดีต่อไวรัสไอบีอาร์ และบีวีดี แตกต่างจากก่อนได้รับการฉีดวัคซีนและกลุ่มโคที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกช่วงเวลา (p<0.01) โคกลุ่มควบคุมของทั้ง 2 การทดลองตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อไวรัสไอบีอาร์และบีวีดี ตลอดระยะเวลาที่ทดลอง |
Other Abstract: | To determine the effect of a combined viruses vaccine, containing IBR, BVD, PI-3, and BRS immunogens, on the growth and reproductive performance of replacement heifers. The first trial was comprised of 30 claves which were vaccinated at the age of 6 and 7 months and a control group of 30 unvaccinated calves. The second trial comprised of 20 heifers vaccinated at the age of 12 and 13 months and a control group of 20 unvaccinated heifers. Heifers were monthly weighed and serum samples were collected to measure IBR and BVD antibody titers, by a serum neutralization test monthly until heifers were 18 months old. Reproductive parameters and the development of any illneses were also recorded as well. The study showed that the growth rate did not improve in the vaccinated heifers. In the first trial, the age at the first service of vaccinated group was significantly younger than the control group. (501.03 +- 44.86 d vs. 530.93 +- 51.50 d ; p<0.05) The first service conception rate in the vaccinated groups was 60%and 63.33% in the control group. Services per conception for the vaccinated and the control group were 1.8 and 1.47, respectively. In the second trial, the age at the first service in both groups was not significantly different. The first service conception rate for the vaccinated group was 55% and 66.67% for the control group. Services per conception for the vaccinated and the control groups were 2.09 and 1.39, respectively. Vaccination with the combined viruses vaccine was not associated with any difference in service per conception for either group. The mean of IBR and BVD SN antibodies titers in the vaccinated group in both trials were significantly different from the control group over all trial periods. (p<0.01) There were no overt cases of illness. During the trial period, the control heifers were seronegative to both IBR and BVD. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2560 |
ISBN: | 9741717652 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanasak.pdf | 559.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.