Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25609
Title: การสะสมและกำจัดแมงกานีสของสาหร่ายเกลียวทอง Spirulina platensis ในน้ำเสียสังเคราะห์
Other Titles: Manganese accumulation and removal by Spirulina platensis in synthetic wastewater
Authors: ดวงมณี เดชเดชาชาญ
Advisors: สมเกียรติ ปียะธีรธิติวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทดลองเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina platensis) ซึ่งได้จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลี้ยงในสารละลายอาหารสูตรของ Zarrouk เพื่อทำการศึกษาความสามารถในการสะสมแมงกานีสของสาหร่าย และการลดแมงกานีสในน้ำเสียสังเคราะห์ ทดลองเลี้ยงภายใต้ความเข้มแสง 10,000 ลักซ์ ให้แสงสว่าง 12 ชั่วโมง มืด 12 ชั่วโมง อุณหภูมิห้องมีการให้อากาศตลอดเวลา พบว่าที่ความเข้มข้นของแมงกานีสในสารละลายอาหาร เริ่มต้นเท่ากับ 16 และ 32 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่าย ที่ความ เข้มข้นเท่ากับ 8 มิลลิกรัมต่อลิตร สาหร่ายมีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด โดยมีอัตราการเติบโตจำเพาะ เท่ากับ 0.336 การศึกษาการสะสมแมงกานีสของสาหร่ายพบว่าสาหร่ายสามารถสะสมแมงกานีสได้ ดีที่สุดที่ค่าความเป็นกรด - ด่างเท่ากับ 9 ความเข้มข้นของแมงกานีสเริ่มต้นในสารละลายอาหาร เท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถสะสมแมงกานีสได้สูงสุดเท่ากับ 20.32 ug/mg dw มีอัตราการสะสมจำเพาะเท่ากับ 4.06 ug/minute. mg dw สาหร่ายเกลียวทองสามารถสะสมแมงกานีสได้อย่างรวดเร็วในเวลา 5 นาทีแรกหลังจากนั้นการสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่การสะสมจะสิ้นสุด เมื่อความเข้มข้นแมงกานีสในเซลล์สาหร่ายมีค่าเท่ากับ 30 ug/mg dw สาหร่ายเกลียวทองเป็น สาหร่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยโปรตีน 63 - 68% ของน้ำหนักแห้ง ดังนั้น สาหร่ายที่มีการสะสมของแมงกานีสจึงสามารถนำมาใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ได้ ในการทดลองนี้ สาหร่ายที่มีความเหมาะสม คือ สาหร่ายที่เพาะเลี้ยงโดยใช้ความเข้มข้นแมงกานีสเริ่มต้นเท่ากับ 8 mg/1 ค่าความเป็นกรด - ด่างเท่ากับ 9 โดยมีการสะสมแมงกานีสเท่ากับ 18.8 ug/mg dw
Other Abstract: Manganese accumulation and reduction from synthetic wastewater study on Spirulina (Spirulina platensis) obtained from Institute of Food Research and Product Development, Kasetsart University was able to accumulate manganese.Spirulina was cultured เท Zarrouk’s medium under the light intensity of 10,000 lux at room temperature with aeration. Initial manganese concentration at 16 mg/l and 32 mg/l inhibited the growth of spirulina. The suitable concentration of manganese for growing Spirulina was 8 mg/l at specific growth rate of 0.336. Accumulation of Mn by Spirulina platensis was the highest at pH 9 and manganese concentration of 4 mg/l, The highest manganese absorption capacity was 20.32 ug/mg dry weight. The specific uptake rate was 4.06 ug/minute. mg dw. Spirulina accumulated manganese rapidly within 5 minutes after that The uptake rate was slow and ended when manganese in the cell was 30 ug/mg dw. Spirulina has high nutrition compose of 63 - 68% protein of dry weight. Thus, spirulina which has manganese accumulation can be used for mixing in animal feed. This experiment,spirulina which cultured in initial concentration of manganese 8 mg/l at pH 9, had an absorption capacity was ug Mn/mg dry weight.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25609
ISBN: 9745314269
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangmanee_de_front.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_ch1.pdf828.44 kBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_ch2.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_ch3.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_ch4.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_ch5.pdf626.64 kBAdobe PDFView/Open
Duangmanee_de_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.