Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25676
Title: การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13
Other Titles: A study of the physical fitness of Chulalongkorn Varsity Athletes participating in the thirteenth university grames of Thailand
Authors: รุจ แสงอุดม
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2528 ภายในกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบาและระหว่างกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายซึ่งมีรายการทดสอบ 12 รายการคือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตที่หัวใจบีบตัวขณะพัก ความจุปอด ความอ่อนตัว เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ยืนกระโดดไกล สมรรถภาพการจับออกซิเจน สูงสุด นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis Of Variance) ของการทดสอบสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการภายในและระหว่างกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา ของนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง เปรียบเทียบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพศชาย กลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 63.06, 69.50 และ 77.26 ครั้ง/นาที ตามลำดับ ความดันโลหิตที่หัวใจบีบตัวขณะพัก 117.30, 116.63 และ 119.47 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ความจุปอด 61.76, 61.25 และ 60.49 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนักตัว ความอ่อนตัว 13.71, 13.66 และ 11.32 เซนติเมตร ตามลำดับ เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง 0.186, 0.119 และ 0.189 วินาที ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน 0.76, 0.75, และ 0.72 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง 1.66, 1.57 และ 1.52 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา 2.20, 2.13 และ 1.96 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าอก 0.42, 0.40 และ 0.39 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน 0.51, 0.57 และ 0.39 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ การยืนกระโดดไกล 1.34, 1.34 และ 1.29 เซนติเมตร/ส่วนสูง ตามลำดับ สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด 57.67, 51.05 และ 44.39 มิลลิเมตร/ กิโลกรัม/นาที ตามลำดับ 2. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิงกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 71.38, 73.31 และ 77.27 ครั้ง/นาที ตามลำดับ ความดันโลหิตที่หัวใจบีบตัวขณะพัก 108.87, 106.81 และ 110.54 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ความจุปอด 51.98, 50.86 และ 49.40 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความอ่อนตัว 15.86, 13.47 และ 13.29 เซนติเมตร ตามลำดับ เวลาปฏิกริยาตอบสนอง 0.184, 0.192 และ0.197 วินาที ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน 0.60, 0.59 และ 0.55 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง 1.36, 1.31 และ 1.02 กิโลกรัม/ น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา 1.85, 1.83 และ 1.68 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าอก 0.30, 0.27 และ 0.25 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน 0.38, 0.35 และ 0.34 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว ตามลำดับ การยืนกระโดดไกล 1.20, 1.18 และ 1.14 เซนติเมตร/ส่วนสูง ตามลำดับ สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด [50.87, 47.07 และ40.27 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที ตามลำดับ 3. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชายภายในกลุ่มประเภทกีฬาหนักที่ประกอบด้วย 8 ชนิดกีฬาในละรายการทดสอบ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ภายในกลุ่มประเภทกีฬาปานกลางที่ประกอบด้วย 9 ชนิดกีฬาในแต่ละรายการทดสอบ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ภายในกลุ่มประเภทกีฬาเบาที่ประกอบด้วย 4 ชนิดกีฬา ในแต่ละรายการทดสอบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิงภายในกลุ่มประเภทกีฬาหนักที่ประกอบด้วย 5 ชนิดกีฬาในแต่ละรายการทดสอบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ภายในกลุ่มประเภทกีฬาปานกลางที่ประกอบด้วย 7 ชนิดกีฬาในแต่ละราย การทดสอบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ภายในกลุ่มประเภทกีฬาเบาที่ประกอบด้วย 4 ชนิดกีฬาในแต่ละรายการทดสอบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา 5. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชายระหว่างกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา ในแต่ละรายการทดสอบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักและสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด 6. สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิงระหว่างกลุ่มประเภทกีฬาหนัก ปานกลางและเบา ในแต่ละรายการทดสอบไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate and to compare the physical fitness of Chulalongkorn Varsity Athletes participating in the thirteenth University Games of Thailand with in the group of the high, medium and low cardiovascular endurance sport types and among the groups of the high, medium and low cardiovascular endurance sport types. The physical fitness variables which used to compare were : the resting heart rate, the resting systolic blood pressure, the vital capacity, the trunk flexibility, the reaction time, the hand grip strength, the lower back muscle strength, the leg muscle strength, the chest muscle strength, the upper back muscle strength, the standing long jump and the maximum oxygen uptake. The obtained data were then analyzed in order to find means, standard deviations and the One Way Analysis of Variance in which the significant defference with in the group and among the groups were determined and the Sheffe’ test all possible comparison. It was found that: 1. The physical fitness means of Chulalongkorn University of men athletes in high, medium and low cardiovascular endurance sport types were; 63.06, 69.50 and 77.26 beats per minute in the resting heart rate; 117.30, 116.63 and 119.47 mm.Hg in the resting systolic blood pressure; 61.76, 61.25 and 60.49 cm[superscript 3] in vital capacity; 13.71, 13.66 and 11.32 cms in the trunk flexibility; 0.186, 0.195 and 0.189 seconds in the reaction time; 0.76, 0.75 and 0.72 kilograms per body weight in the hand grip strengty; 1.66, 1.57 and 1.52 kilograms per body weight in the lower back muscle strength; 2.20, 2.13 and 1.96 kilograms per body weight in the leg muscle strength; 0.42,0.40 and 0.39 kilograms per body weight in the chest muscle strength; 0.51, 0.57 and 0.49 kilograms per body weight in the upper muscle strength; 1.34, 1.34 and 1.29 cms per body height in standing long jump; 57.67, 51.05 and 44.39 milliliters per kilogram per minute in the maximum oxygen uptake. 2. The physical fitness means of Chulalongkorn University of women athletes in high, medium and low cardiovascular endurance sport types were; 71.38, 73.31 and 77.31 beats per minute in the resting heart rate; 108.87, 106.81 and 110.54 mm.Hg in the resting systolic blood pressure; 51.98, 50.86 and 49.40 cm[superscript 3] in the vital capacity; 15.86, 13.47 and 13.29 cms in the trunk flexibility; 0.184, 0.192 and 0.197 seconds in the reaction time; 0.66,0.59 and 0.55 kilograms per body weight in the hand grip strength; 1.36, 1.31 and 1.02 kilograms per body weight in the lower back muscle strength; 1.85, 1.83 and 1.68 kilograms per body weight in the leg muscle strength; 0.30, 0.27 and 0.25 kilograms per body weight in the chest muscle strength; 0.38, 0.35 and 0.34 kilograms per body weight in the upper muscle strength; 1.20, 1.18 and 1.10 cms per body height in the standing long jump; 50.87, 47.07 and 40.27 milliliters per kilogram per minute in the maximum oxygen uptake. 3. The physical fitness of Chulalongkorn University of men athletes with in the group of high cardiovascular endurance sport types (8 sports) were not significantly different at the .05 level, with in the group of medium cardiovascular endurance sport types (9 sports) were not significantly different at the .05 level except in the leg muscle strength and with in the group of low cardiovascular endurance sport types (4 sports) were not significantly different at the .05 level. 4. The physical fitness of Chulalongkorn University of women athletes with in the group of high cardiovascular endurance sport types (5 sports) were not significantly different at the .05 level except in the leg muscle strength, with in the group of medium cardiovascular endurance sport types (7 sports) were not significantly different at the .05 level and with in the group of low cardiovascular endurance sport types (4 sport) were not significantly different at the .05 level except in the leg muscle strength. 5. The physical fitness of Chulalongkorn University of men athletes among the groups of high, medium and low cardiovascular endurance sport types were not significantly different at the .05 level except in the resting heart rate and the maximum oxygen uptake. 6. The physical fitness of Chulalongkorn University of women athletes among the groups of high, medium and low cardiovascular endurance sport types were not significantly different at the .05 level except in the resting heart rate, the lower back muscle strength and the maximum oxygen uptake.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25676
ISBN: 9745672475
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruj_Sa_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_ch1.pdf991.77 kBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_ch2.pdf732.28 kBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_ch3.pdf302.62 kBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_ch4.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_ch5.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Ruj_Sa_back.pdf643.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.