Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25707
Title: ผลของการฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริกต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6
Other Titles: The effects of supplemental Plyometric training on basketball jump shooting ability of Mathayom Suksa 4 - 6 students
Authors: ธนศักดิ์ แพทยานนท์
Advisors: วิชิต คนึงสุขเกษม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริกต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชายของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยทำการทดสอบความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลแล้วจัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มๆละ 15 คน โดยวิธีการจัดกลุ่มให้มีความสามารถใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดวิธีการทดลองให้แต่ละกลุ่มดังนี้ กลุ่มทดลอง ฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริก ทำการฝึกสัปดาห์ละ 2 วันคือ จันทร์,ศุกร์ ควบคู่กับฝึกทักษะการกระโดดยิงประตู กลุ่มควบคุม ฝึกทักษะการกระโดดยิงประตูเพียงอย่างเดียว ทำการฝึกสัปดาห์ละ 3 วันคือ จันทร์,พุธ และศุกร์ ทำการฝึกทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบความสามารถในการกระโดดยิงประตู ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way analysis of variance with repeated measures) ถ้าพบความแตกต่างให้เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของตูกี เอ โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.หลังการทดสอบสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดสอบสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริก ควบคู่กับการฝึกทักษะการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลแบบปกติ มีความสามารถในการยืนกระโดดแตะแนวดิ่ง การวิ่งกระโดดแตะ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา มากกว่ากลุ่มที่ฝึกทักษะการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ฝึกทักษะการกระโดดยิงประตู บาสเกตบอลแบบปกติ มีความสามารถในการกระโดดยิงประตู การก้าวเท้ายิงประตู การยืนกระโดดแตะแนวดิ่ง การวิ่งกระโดดแตะ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกทักษะการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลแบบปกติ มีความสามารถในการกระโดดยิงประตู การก้าวเท้ายิงประตู การยืนกระโดดแตะแนวดิ่ง การวิ่งกระโดดแตะ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of plyometric training on basketball jump shooting ability of Mathayomsuksa 4-6 students. Thirty male basketball players of Chulalongkom University Demonstration School were purposively random sampled to be subjects in this study. They were divided into two groups (15 players in each group) according to their jump shooting abilities. The experimental group had supplemental plyometric training together with normal jump shooting training for 2 days a week which took place on Monday and Friday while the control group had only jump shooting training for 3 days a week which took place on Monday, Wednesday and Friday. The total duration of training was 8 weeks. Before training, jump shooting ability and leg muscle stamina were tested. The results of training at the end of the 4th week and the 8th week were analyzed by means, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance with repeated measures. Any differences between the pair were then compared by using tukey (a) method at the .05 significant level. Research results showed that : 1. After the end of 4th week and the 8th week, the group with supplemental plyometric training together with normal jump shooting training had more significant ability of vertical jump, running jump and leg muscle stamina than the group with jump shooting training level at .05 level. 2. After the end of 4th week and the 8th week, the group with jump shooting training had more significant ability of jump shooting skill, lay-up, vertical jump, running jump and leg muscle stamina than before training at .05 level. 3. After the end of 4th week and the 8th week , the group with supplemental plyometric training together with normal jump shooting training had more significant ability of jump shooting skill, lay-up, vertical jump , running jump , and leg muscle stamina than before training at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25707
ISBN: 9741750242
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanasak_pa_front.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_ch1.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_ch2.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_ch4.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_ch5.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Thanasak_pa_back.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.