Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25769
Title: ความสำคัญของอันนัมสยามยุทธ์ ต่อไทย กัมพูชา และญวน
Other Titles: The importance of the Annameses-Siamese war at Siam, Cambodia and Annam
Authors: วีรนันท์ วารีวิชชนนท์
Advisors: รอง ศยามานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อันนัมสยามยุทธ์
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
Issue Date: 2513
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มุ่งที่จะค้นหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสงครามระหว่างไทยกับญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อย่างละเอียดเพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายในการทำสงครามของทั้งสองฝ่ายที่ต้องการชิงอำนาจทางการเมืองเหนือเขมร เพื่อเสนอกลยุทธแห่งสงครามในสมัยนั้นของทั้งสองฝ่าย และเพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของการทำสงครามซึ่งยืดเยื้อถึง 14 ปีนี้ที่มีต่อคู่ปรปักษ์รวมทั้งเขมรซึ่งเป็นที่ปรารถนาของไทยและญวน เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ การเสนอข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์ควบคู่ไปด้วย วิทยานิพนธ์นี้มี 9 บท บทนำกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และประโยชน์ที่ได้จากวิจัยนี้ บทที่สอง กล่าวถึงสภาพทั่วไปทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศของประเทศที่เกี่ยวข้องในอันนัมสยามยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วยเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ญวน ในสมัยพระเจ้าเวียตนามมินมางและพระเจ้าเทียวตรี และเขมรในสมัยสมเด็จพระอุทัยราชาถึงสมเด็จพระหริรักษ์รามา เพื่อเป็นการปูพื้นฐานอย่างคร่าวๆ ว่ามีสภาพอย่างไร จึงทำสงครามขับเคี่ยวกันนานเช่นนั้น บทที่สาม กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในอันนัมสยามยุทธ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เขมรเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยและญวนผันแปรจนเกิดสงครามขึ้นพิจารณาทางภูมิศาสตร์ เขมรเป็นประเทศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างไทยกับญวนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ เมื่อใดประเทศที่กำลังมากกว่าแผ่อำนาจเข้ามา เมื่อนั้นเขมรต้องยอมเป็นประเทศราช ส่งบรรณาการให้ทั้งสองฝ่ายมาช้านาน พิจารณาทางประวัติศาสตร์พวกเขมรมักรบพุ่งชิงอำนาจกันเองอยู่เนืองๆ จึงเกิดแตกแยกเป็นสองพวก ซึ่งแต่ละฝ่ายมักไปขอกำลังจากไทยและญวนมาช่วย ดังนั้น เขมรจึงเป็นสมรภูมิระหว่างไทยกับญวนมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดจลาจลทั้งในเขมรและญวน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงอุปการะทั้งราชวงศ์ญวนและเขมร แต่การที่ญวนเริ่มมีท่าทีแผ่อำนาจมาทางเขมรตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 1 และในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าผู้ครองเขมรก็เริ่มฝักใฝ่ทางญวน ทำให้นโยบายของไทยต่อดินแดนซึ่งถือว่าเป็นประเทศราชในทางทฤษฎีเปลี่ยนแปลงไป ไทยเริ่มใช้อิทธิพลเข้าครอบคลุมเขมรในทางปฏิบัติด้วยเพื่อคอนอำนาจของญวน ดังนั้น ในรัชกาลที่ 2 ไทยจึงดำเนินการทหารเข้าครอบครองดินแดนบางส่วนของเขมร เพราะฉะนั้น ความสำคัญของเขมรทวีขึ้น กล่าวคือ มิใช่แต่เพียงเป็นประเทศราชส่งบรรณาการเท่านั้น แต่เป็นประเทศกันกระทบ (Buffer State) ระหว่างไทยกับญวนด้วย บทที่สี่ กล่าวถึงมูลเหตุของอันนัมสยามยุทธ์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ญวนสนับสนุนเขมรตลอดจนลาวให้เอาใจออกห่างจากไทย ไทยจึงฉวยโอกาสเมื่อเกิดจลาจลขึ้นในญวนใต้ซึ่งได้ร้องขอความช่วยเหลือจากไทย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลญวนที่กรุงเว้นั้น เปิดฉากการรบเพื่อชิงอำนาจในเขมรกลับคืนมา สงครามจึงอุบัติขึ้น บทที่ห้า ถึงบทที่แปด กล่าวถึงอันนัมสยามยุทธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2376-2390 ซึ่งแบ่งออกเป็นการรบถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ละครั้งเสนอการวางแผน การจัดกำลัง กลยุทธ์ ตลอดจนความชำนาญของทั้งสองฝ่ายซึ่งผลัดกันรุกผลัดกันรับ ไม่มีฝ่ายใดที่ได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดยึดครองเขมรไว้ในอำนาจทั้งหมดและได้วิเคราะห์ผลของการรบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า กลยุทธของญวนในการขุดอุโมงค์ซ่อนตัวนั้นเป็นวิธีการที่ได้นำกลับมาใช้อีกในสงครามเวียตนามปัจจุบัน ในที่สุดทั้งญวนและไทยต่างยอมทำไมตรีต่อกันด้วยสภาพการณ์แวดล้อมบางอย่าง ยอมรักษาสถานะเดิม (status quo) ในเขมรไว้ คือ เขมรเป็นประเทศราชขึ้นต่อทั้งไทยและญวน บทที่เก้า เป็นการวิเคราะห์ความสำคัญของอันนัมสยามยุทธ์ต่อประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ ไทยกลับมีอำนาจในเขมรและมีความมั่นคงปลอดภัยที่มีเขมรเป็นประเทศคั่นกลางเสมือนรัฐกันกระทบระหว่างไทยกับญวน ญวนก็ได้ชื่อว่ามีอำนาจในเขมรเช่นกัน เพราะเขมรส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าแผ่นดินญวน ซึ่งสิทธินี้ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากและไทยเสียเปรียบเมื่อฝรั่งเศสยึดอำนาจในญวนและอ้างสิทธิสืบมรดกนี้จากญวนเพื่อมีอำนาจในเขมร จนในที่สุดเขมรซึ่งทั้งญวนและไทยต่างรบพุ่งชิงอำนาจกันมานานนั้น ต้องตกไปเป็นของมือที่สาม คือ ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเขมรนั้นผลจากอันนัมสยามยุทธ์ คือ เป็นประเทศราชของไทยและญวน ทำให้บ้านเมืองยุติการเป็นสมรภูมิรบประชาชนมีโอกาสทำมาหากินค้าขายไปมาอย่างสงบสุขและเสรี ภายใต้กษัตริย์ปกครองมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สังคมเขมรกลับคืนสู่สภาพปกติ ผู้คนไม่ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากจากกัน รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกวาระหนึ่ง ในตอนท้ายผู้เขียนได้สรุปผลของการวิจัย แม้ว่าจะทำการวิจัยตามหลักฐานทางฝ่ายไทยส่วนมาก ซึ่งค้นทั้งเอกสารขั้นต้น คือ สมุดไทยดำจากหอสมุดแห่งชาติ และเอกสารขั้นรองจากหนังสือและวารสารต่างๆ และหลักฐานทางญวนเขมรเท่าที่ค้นคว้าได้ แต่ก็ทำให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับอันนัมสยามยุทธ์ละเอียดสมดังความมุ่งหมายดังกล่าวข้างต้น และเสนอแนะว่า ถ้าได้ค้นคว้าจากหอจดหมายเหตุญวนและเขมรรวมทั้งไม่มีอุปสรรคในการอ่านภาษานั้นๆ จะได้อะไรใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย
Other Abstract: This research is an attempt to examine in detail the material concerning the war between Siam and Annam in the reign of King Nangklao or Rama III in order to make a study of the aims of the war by which both of them wanted to take over Cambodia, to present the tactics of the war in that period and to analyse the importance of the long fourteen-year war for the adversaries and Cambodia. This work consists of two kinds of material: presentation of the facts and analysis of them. The thesis is divided into nine chapters. The introductory chapter is a quick survey of the problem, the aims, the scope and the method of the research. The second chapter is concerned with the general background, including the politics, the economy, the society and the foreign affairs of the countries involved in the Annamese-Siamese war: Siam under Rama III, Annam under Minh-Mang and Thieu-Tri and Cambodia from Ang-Chan to Ang-Duong. The third chapter deals with the relationship among these three countries in the reigns of King Rama I and Rama II. Cambodia constituted the important strategic point that converted the relationship between Siam and Annam into war. From a geographical point of view, Cambodia was a small country sandwiched between Siam and Annam which were big ones. Whenever the more powerful on extended her power, Cambodia must yield as a tributary state to that one. From an historical point of view, the Cambodians were inclined to fight among themselves for power. They separated themselves into two sides which appealed for help from Siam and Annam. As a matter of fact, Cambodia had been a battleground between Siam and Annam since the period of Ayudhya. During the reign of Rama I, confusion arose in the dynasties ruling both Cambodia and Annam. Rama I supported these two dynasties. The fact that Annam became more powerful in the reign of Rama II posed a threat to Siam. It caused a change of the Thai policy towards the tributary states in order to balance the Annamese power. During the reign of King Rama II, Siam annexed several Cambodian border provinces by means of military force. Cambodia, being once a Thai tributary state which had to send tribute to Siam, became more important than before. It happened to be a buffer state between Siam and Annam. The fourth chapter relates the causes of the war in the reign of King Rama III, when Annam assisted in alienating Cambodia and Laos from Siam. Siam therefore seized the opportunity to intervene in Cambodia when the confusion was widespread in Saigon. An appeal by the Saigon people was made for help from Siam to fight against the government at Hue. They began to fight for power over Cambodia. Thus the war broke out. The fifth to the eighth chapters present the war from 1833 to 1847. This war was divided into four parts. Each part included the plan, the preparation of the army, the tactics and the skill of the adversaries which alternated between the defensive. No one could absolutely occupy the whole country. The results of the war are also analysed in each part. It is worthy of observation that the Annamese tactics of hiding in tunnels are being repeated in the war now being fought in Vietnam. Finally both Annam and Siam proposed peace by keeping the status quo in Cambodia: Cambodia was a tributary state of Siam and Annam. The last chapter analyses the importance of this war for the countries involved in it: Siam got back sovereign rights and the security of having a buffer state between her and Annam. Annam had sovereign rights in Cambodia too, thus constituting a problem. Siam lost her interest when France occupied Saigon and claimed that she was the heir to the Annamese suzerainity over Cambodia. At last, Cambodia, for which Annam and Siam had waged a long drawn-out war, became a French protectorate in the reign of King Mongkut. According to Cambodia, the results of the war turned her into a tributary state of both countries. The country ceased to be the battlefield. The people enjoyed peace and freedom in earning their living under one King and patronised the Buddhist religion. Reverting to its usual status, the Cambodian society became united again. The thesis concludes with the results of the research and recommendation. This work is largely based on Thai primary sources which include Thai manuscripts and also secondary sources from books and periodicals, as well as some Annamese and Cambodian sources as far as they are available. Bearing all this in mind, the writer recommends that if there is an opportunity to find more primary sources from the Archives of Vietnam and Cambodia and there is no difficulty about translating and incorporating them in the thesis, it would be more comprehensive and useful to the reader than in its present form.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25769
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veeranant_Va_front.pdf540.7 kBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch1.pdf391.75 kBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch2.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch3.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch4.pdf815.4 kBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch6.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch7.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch8.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_ch9.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Veeranant_Va_back.pdf504.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.