Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25778
Title: องค์การที่ให้บริการครอบครัวและผู้มาขอรับบริการ : การศึกษาการให้บริการทางสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย
Other Titles: Family service agencies and their clients : a study of casework treatment
Authors: วีณา นนทพันธาวาทย์
Advisors: สุพัตรา สุภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของผู้มาขอรับบริการกับการมาขอรับบริการเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว ปัญหาที่นำมาขอรับบริการ บริการที่ได้รับ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของนักสังคมสงเคราะห์ในการให้บริการครอบครัว ข้อมูลที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้ รวบรวมมาจากการสัมภาษณ์และการเยี่ยมบ้านผู้มาขอรับบริการ ในองค์การที่ให้บริการครอบครัว จำนวน 4 องค์การ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลจากนักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานในองค์การทั้ง 4 แห่งอีกด้วย ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้ขอรับบริการในองค์การที่ให้บริการครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา จำนวน 217 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยผู้ที่มีอายุน้อยมาขอรับบริการเป็นจำนวนมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก ส่วนผู้ที่ผ่านการสมรสแล้ว มาขอรับบริการมากกว่าผู้ที่ยังไม่สมรสในจำนวนผู้ที่ผ่านการสมรสมาแล้วนี้ ผู้ที่หย่าร้างมาขอรับบริการมากกว่าผู้อื่น ในด้านการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีอาชีพลูกจ้าง และค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยอาศัยผู้อื่นอยู่ในแหล่งการค้าหรือปลูกบ้านอยู่เองในที่เช่า ผู้ขอรับบริการดังกล่าวแล้วส่วนใหญ่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มีความต้องการทางด้านการเงิน และบริการที่ได้รับจากองค์การ ก็คือการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ขอรับบริการ โดยให้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับบุคลากรที่ไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น ยานพาหนะในการออกเยี่ยมบ้าน และการติดตามผลของการปฏิบัติงาน ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ตั้งสมมุติฐานในการศึกษาไว้ว่า “ภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ของผู้มาขอรับบริการในองค์การที่ให้บริการครอบครัว มีผลต่อการมาขอรับบริการเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว” ผลการศึกษาปรากฏว่า ภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของผู้มาขอรับบริการในองค์การที่ให้บริการครอบครัวไม่มีผลต่อการมาขอรับบริการเป็นประจำหรือครั้งคราว นอกจากนี้ผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า องค์การที่ให้บริการครอบครัวทั้งของรัฐและเอกชน ควรที่จะร่วมมือและประสานงานกันในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร วิธีการ และความคิดเห็นในการให้บริการเพื่อให้เกิดสัมฤทธิผล ในการให้บริการแก่ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดของสังคม ให้มีความผาสุก และมีความมั่นคงอันจะส่งผลดีต่อประเทศชาติในที่สุด.
Other Abstract: The purpose of this thesis is to test the relationships between certain characteristics of clients of four family service agencies with the continuance and discontinuance of the casework treatments and services. The nature of clients’ problems, the services received from the agencies and the problems of social workers in family service itself are included in this study. The data for the study are collected from the interview of 217 clients and 23 social workers in four different family service agencies. It is found that most of clients are female with elementary education background. The younger clients seem to request more service than the older ones. Married women tend to seek aids more than unmarried women. The divorcees come for service more than the married people. Most of clients are of low income group. They mainly engage in petty commerce and household duties. Most of them live in rented houses. The major problem is economic difficulty. Consequently, needs for financial support and aids for their livehood are constantly sought from the family service agencies. The general problem of the family service agencies is the lack of substantial personnel and facilities for the follow-up-treatments. The hypothesis of this study is as follows : the continuance and discontinuance of treatments are related to the clients’ social, economic and education backgrounds. The study finally indicates that these social, economic and education factors are found to have no direct effect on the continuance and discontinuance of family services. It is recommended that all existing family service agencies should aim at a more constructive coordination in information exchange, methods and services, thus, avoiding the duplication of service and, at the same time, bringing about the general improvement of treatments. The service will, then, be more beneficial to the clients and their family.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25778
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vina_No_front.pdf500.3 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch1.pdf642.16 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch2.pdf816.46 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch3.pdf953.18 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch4.pdf310.42 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch5.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Vina_No_ch6.pdf520.52 kBAdobe PDFView/Open
Vina_No_back.pdf763.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.