Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25802
Title: | การกัดเซาะของน้ำต่อโครงสร้างสะพานและท่อ |
Other Titles: | Effect of scour on bridge and culvert |
Authors: | สมรักษ์ ต่อวงศ์ไพชยนต์ |
Advisors: | ชัยพันธุ์ รักจิจัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สะพานและท่อลอด อันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของถนนสำหรับการสัญจรที่ถูกสร้างขึ้นมาขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ จึงนับเป็นโครงสร้างชลศาสตร์ประเภทหนึ่ง ดังนั้นการกัดเซาะโดยการไหลผ่านของน้ำ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักต่างๆ ที่ทำให้เกิดการวิบัติของสะพานและท่อได้ โดยเหตุที่ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการพัฒนา จึงได้มีการก่อสร้างถนนในท้องถิ่นชนบทเพิ่มขึ้นในแต่ละปีเพื่อเร่งเร้าการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของสังคมชนบท ประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พบว่ามีโครงสร้างสะพานและท่อลอดของถนนชนบทจำนวนมากเกิดวิบัติ ยังผลให้การสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในด้านอุปสรรคของการสัญจรและการซ่อมแซมบำรุงรักษา จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษาถึงสาเหตุของการวิบัติของโครงสร้างสะพานและท่อลอด ตลอดจนอิทธิพลของการกัดเซาะโดยการไหลของน้ำต่อโครงสร้างดังกล่าว การศึกษาได้ทำการทบทวนและรวบรวมหลักวิชาการต่างๆ อันประกอบด้วย ทฤษฎีชลศาสตร์ของการกัดเซาะเบื้องต้น ผลการศึกษาและทดลอง และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับการกัดเซาะ โดยเฉพาะการกัดเซาะต่อโครงสร้างที่ขวางการไหลของน้ำ และทำการศึกษาและรวบรวมหลักการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม ในกรสำรวจออกแบบก่อสร้างสะพานและท่อลอด ที่ได้มีการปฏิบัติโดยทั่วไปในวงงานวิศวกรรมของไทย ตัวอย่างที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์ เป็นเหตุการณ์วิบัติของสะพานและท่อลอดที่เกิดขึ้นจริงในช่วงปี 2520-2526 อันประกอบด้วยการวิบัติของสะพาน 4 แห่ง และการวิบัติของท่อลอด 57 แห่ง ข้อมูลในการศึกษาได้มาจากแบบแปลนของการก่อสร้างและซ่อมแซมที่ระยะเวลาต่างๆ กัน ข้อมูลการสำรวจภาคสนาม ภาพถ่ายและข้อมูลด้านอุทกวิทยา ซึ่งรวบรวมมาจากหน่วยงานต่างๆ และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนามเพิ่มเติมระหว่างการศึกษา การศึกษาได้พบว่าการวิบัติของสะพานส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจาก การกัดเซาะและการศึกษาออกแบบด้านชลศาสตร์และอุกวิทยาไม่เพียงพอ ในกรณีของท่อลอดพบว่าเกิดการวิบัติจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำร้อยละ 60 และร้อยละ 35 มีผลมาจากการกัดเซาะและการออกแบบอัตราการระบายน้ำต่ำกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งสรุปได้ว่าการกัดเซาะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการวิบัติของโครงสร้างสะพานและท่อลอด และยังได้พบว่ามีช่วงว่างในการพิจารณาวางแผนและการสำรวจออกแบบด้านวิศวกรรมโดยทั่วไปอันได้แก่การขาดความสนใจต่อการศึกษาปัญหาและออกแบบด้านชลศาสตร์และอุทกวิทยาให้เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยวิศวกรผู้ปฏิบัติงานมักจะให้ความสนใจเพียงด้านความแข็งแรงของโครงสร้างสะพานส่วนบนและฐานรากเท่านั้น ในตอนท้ายของการศึกษาได้มีข้อเสนอแนะต่างๆที่จะลดการวิบัติของโครงสร้างสะพานและท่อลอด |
Other Abstract: | Bridges and culverts, the essential components of road for transportation, are counted as a type of hydraulic structure that obstruct the natural passage of water flow. Consequentially scouring by the flow of water may be one of the main causes for the failure of bridges and culverts. As Thailand is in a developing stage, more rural roads have been constructed each year to stimulate the growth of rural economy and quality of life. However, the failures of bridges and culverts are often experienced and causes the economic losses due to disruption of transportation and maintenance costs. It is thus interesting to study the causes of these failures as well as scouring by water flow upon these structures. The study begins with the review and summary of some basic hydraulic theories on scouring, results of previous studies and experiments, and past engineering experiences related to scouring problems, especially the scouring of structures obstructing water flow. In addition, practical engineering procedures in the survey and design for the construction of bridges and culverts as normally practiced in Thailand are delineated and summarized. The study cases are the failures of bridges and culverts the actually happened during 1977-1983. They include 4 cases of bridge failures and 57 cases of culvert failures. Data and information employed in this study are mainly obtained from drawings for constructions and repairing works at various periods, data from field surveys, photographs of the events, and hydrologic data which are collected from various agencies. Further, some field survey and observations were also made during the study period for confirmation of data and information. It is found that the failures of most bridges were mainly caused by scouring and inadequate study and design in the hydraulic and hydrological aspects. Meanwhile, the failures of road culverts were primarily caused by downstream erosion for about 60 percent and by erosion and the under design drainage capacity than threat actually happened for about 35 percent. Consequently it may be concluded that scouring by water flow is an important factor for the failure of bridges and culverts. In addition there is a significant gap in the planning and the survey and design process in general. Such gap is the lack of interest in the proper study and design in the hydraulic and hydrological aspects. Engineers offer concentrate only on the design works of superstructures and foundation. Some measures to reduce the failure of bridges and culverts have been recommended. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25802 |
ISBN: | 9745631353 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somraks_To_front.pdf | 682.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch1.pdf | 278.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch2.pdf | 978.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch3.pdf | 710.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch4.pdf | 898.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch5.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch6.pdf | 624.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_ch7.pdf | 302.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraks_To_back.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.