Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25816
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอล กับความสามารถทางร่างกาย
Other Titles: Relationships between basketball abilities and physical abilities
Authors: สมศักดิ์ เผือกพันธ์
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอล กับความสามารถทางร่างกาย ได้แก่ การทรงตัว ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และเวลาปฏิกิริยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายที่เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลระดับคณะหรือมหาวิทยาลัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบทดสอบความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลของ อุดม พิมพา เครื่องมือวัดการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่และร่างกายอยู่กับที่ การวิ่งระยะทาง 50 เมตรการวิ่งเก็บของและเครื่องจับเวลาอิเล็คโทรนิควัดเวลาปฏิกิริยา นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบกลุ่มตัวอย่างประชากรไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับความสามารถทางร่างกายมีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้ 1. ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 (0.22) 2. ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 (0.45) 3. ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับความเร็วมีความสัมพันธ์กันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 (0.22) 4. ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับความคล่องแคล่วว่องไวมีความสัมพันธ์กันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ( r = .025) 5. ความสามารถทางกีฬาบาสเกตบอลกับเวลาปฏิกิริยาระหว่างสายตากับมือมีความสัมพันธ์กันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 (r = 0.35)
Other Abstract: The purpose of the study was to investigate the relationships between basketball abilites and physical abilities. A stabilometer speed, agility and reaction time.The subjects in the study were 150 male basketball players of Kasetsart and Chulalongkorn University. Pimpa Modification of Bunn Basketball Test was used for basketball abilities. A stabilometer was used for testing the ability of static balance. The Johnson Stagger Jump Test was used for the ability of dynamic balance. The 50 meter sprint was used for the speed. The shuttle run was used for the agility. The electronic timer was used for measuring reaction time. The obtained data were analyzed by the Pearson’s Product Movement Correlation. The results of the study were found as follows : 1. There was significant different at the .01 level between basketball abilities and dynamic balance. (r = 0.22) 2. There was significant different at the .01 level between basketball abilites and static balance. (r = 0.45) 3. There was significant different at the .01 level between basketball abilities and speed. (r = 0.22) 4. There was significant different at the .01 level between basketball abilities and agility. (r = 0.25) 5. There was significant different at the .01 level between basketball abilities and reaction time. (r = 0.34)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25816
ISBN: 9745633526
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_Phu_front.pdf395.34 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_ch1.pdf591.37 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_ch2.pdf808.52 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_ch3.pdf445.77 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_ch4.pdf272.15 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_ch5.pdf436.06 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Phu_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.