Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25859
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระชัย ปูรณโชติ
dc.contributor.advisorวไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
dc.contributor.authorสมพงษ์ แย้มประยูร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-24T15:51:56Z
dc.date.available2012-11-24T15:51:56Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25859
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับครูอาจารย์ 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เป็นอยู่จริงกับที่ควรจะเป็น 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาการฝึกอบรมและคัดเลือกบุคคลที่จะเป็นผู้บริหารโรงเรียนในโอกาสต่อไป สมมุติฐานของการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยส่วนรวมด้าน Consideration กับด้าน Initiating Structure อยู่ในระดับสูงทั้งสองด้าน 2. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน กับของครู อาจารย์ ในโรงเรียนไม่แตกต่างกัน 3. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เป็นอยู่จริงกับที่ควรจะเป็น ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28 โรงเรียนมีจำนวนผู้บริหาร 28 คน และครูอาจารย์ 520 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ได้ดัดแปลงมาจากแบบสอบถาม LBDQ (Leader Behavior Description Questionnaire) ของ แอนดรูว์ ฮาลปิน (Andrew W. Halpin) ซึ่งแยกพฤติกรรมผู้นำออกเป็นสองด้าน คือ ด้าน Initiating Structure และ Consideration การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยค่า t (t-test) ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยส่วนรวมทั้งสองด้านอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมทางการบริหารด้าน Initiating Structure อยู่ในระดับปานกลาง แต่พฤติกรรมทางการบริหารด้าน Consideration อยู่ในระดับสูง 2. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอยู่จริงทั้งสองด้าน ด้านInitiating Structure และด้าน Consideration ตามความคิดเห็นของผู้บริหารกับครู อาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้บริหารให้คะแนนพฤติกรรมทางการบริหารของตนเองสูงกว่าที่ครูอาจารย์ให้ 3.พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ควรจะเป็นทั้งสองด้าน และด้าน Initiating Structure ตามความคิดเห็นของผู้บริหารกับครู อาจารย์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ด้าน Consideration แตกต่างกัน ผู้บริหารโรงเรียนให้คะแนนพฤติกรรมที่ควรจะเป็นด้าน Consideration สูงกว่าที่ครู อาจารย์ให้ 4. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอยู่จริงกับที่ควรจะเป็นทั้งสองด้าน ด้าน Initiating Structure และด้าน Consideration ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ผู้บริหารให้คะแนนพฤติกรรมทางการบริหารที่ควรจะเป็นสูงกว่าพฤติกรรมที่เป็นอยู่จริง 5. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอยู่จริงกับที่ควรจะเป็นทั้งสองด้าน ด้าน Initiating Structure และด้าน Consideration ตามความคิดเห็นของครู อาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ครู อาจารย์ให้คะแนนพฤติกรรมทางการบริหารที่ควรจะเป็นสูงกว่าพฤติกรรมที่เป็นอยู่จริง 6. ผู้บริหารโรงเรียนและครู อาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาควรมีพฤติกรรมทางการบริหารที่ควรจะเป็นสูงถึง 23 ข้อจากแบบสอบถามทั้งหมด 30 ข้อ
dc.description.abstractalternativePurposes : The purposes of this research were as follows : 1. To study the administrative behavior of the secondary school administrators. 2. To compare the administrators’ opinions on their administrative behavior with those of the teachers. 3. To compare the real and ideal administrative behavior of the secondary school administrators. 4. To recommend means to improve the secondary school administration as well as the criteria for the selection of future school administrators. Hypotheses : 1. The administrative behavior of the secondary school administrators on both dimensions, the Condideration and the Initiating Structure are high. 2. The administrators’ opinions on their administrative behavior are not significantly different from the teachers’. 3. The real and ideal administrative behavior of the secondary school administrators, according to the administrators and the teachers’ opinions, are not significantly different. Procedures: The subjects involved in this research were 28 administrators and 520 teachers from 28 secondary schools in Thailand Northeastern Region. The instrument used was a questionnaire adapted from Halpin’s LBDQ (Leader Behavior Description Questionnaire) which concentrated on two dimensions of leader behavior: Initiating Structure and Consideration. The statistical treatment included percentage, means, standard deviation and test of significance by t-test. Findings: 1. The real administrative behavior of the school administrators on both dimensions, the Initiating Structure were found to be average, but the Consideration was high. 2. The administrators and teachers’ opinions with respect to the real administrative behavior of the school administrators on both dimensions, Initiating Structure and Consideration were found to be different with significance at .01 level. The administrators rated them higher than the teachers. 3. The administrators and teachers’ opinions with respect to the ideal administrative behavior on both dimensions, the Initiating Structure were found to be the same with significance at .01 level. But on the Consideration was found to be different, the administrators rated it higher than the teachers. 4. The administrators’ opinions on the real and ideal administrative behavior of the school administrators on both dimensions, Initiating Structure and Consideration were found to be different with significance at .01 level. The administrators rated the ideal administrative behavior higher than the real one. 5. The teachers’ opinions on the real and ideal administrative behavior on both dimensions, Initiating Structure and Consideration were found to be different with significance at .01 level. The teachers rated the ideal higher than the real one. 6. Both school administrators and teachers agreed that the secondary school administrators should perform 23 expected administrative behaviors out of 30 in the questionnaire.
dc.format.extent608450 bytes
dc.format.extent870822 bytes
dc.format.extent4352227 bytes
dc.format.extent721865 bytes
dc.format.extent801320 bytes
dc.format.extent1019497 bytes
dc.format.extent1940794 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen
dc.title.alternativeAdministrative behavior of the secondary school administrators in Thailand Northeastern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_Ya_front.pdf594.19 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_ch1.pdf850.41 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_ch2.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_ch3.pdf704.95 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_ch4.pdf782.54 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_ch5.pdf995.6 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ya_back.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.