Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25882
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ในการเรียนวิชาการศึกษา 18 : พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ จากชุดเทปบันทึกภาพ และจากการบรรยาย
Other Titles: Comparision of acheivement of higher certificate of education students in learning "Education 18:Teaching Science Behavior" between video tape series and lecture method
Authors: วิษณุ สุวรรณเพิ่ม
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างชุดเทปบันทึกภาพ เรื่องพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์จากชุดเทปบันทึกภาพ และจากการบรรยาย การดำเนินงาน ผู้วิจัยสร้างบทโทรทัศน์ขึ้น เมื่อปรับปรุงแล้วได้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ โดยบันทึกลงเทปบันทึกภาพ เรื่องพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรของกรมการฝึกหัดครู จากนั้นผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบขึ้นตามเนื้อหาวิชาในบทเรียนทางโทรทัศน์ จำนวน 100 ข้อ เพื่อหาความเชื่อมั่นกับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ได้ทำการวิเคราะห์และเลือกข้อสอบที่มีความเชื่อถือได้สูงไว้ 50 ข้อ หลังจากนั้นได้สุ่มนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นสูง ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2518 ที่กำลังเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาเอกและไม่เคยทำข้อสอบชุดนี้มาก่อน จำนวน 82 คน จากนักศึกษาทั้งหมด 153 คนโดยใช้ตารางสุ่ม ให้นักศึกษา 82 คนทำข้อสอบแล้วแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ตามระดับความสามารถในการทำข้อสอบกลุ่มละ 41 คน แล้วให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมาทดลองเรียนวิชาพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ ให้กลุ่มทดลองเรียนจากเทปบันทึกภาพ และกลุ่มควบคุมเรียนจากการบรรยายโดยแบ่งการทดลองสอนออกเป็น 3 ครั้ง หลังจากทุกกลุ่มทำข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้ว นำข้อมูลมาทดสอบโดยใช้ค่า “แซด” (Z – test) เพื่อหาความมีนัยสำคัญทางสถิติ. ผลการวิจัย ผลปรากฏว่า การเรียนวิชาพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นสูง ของกลุ่มทดลองที่เรียนจากชุดเทปบันทึกภาพ และกลุ่มควบคุมที่เรียนจากการบรรยาย มีสัมฤทธิผลทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นั่นคือผลการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นสูงเรียนวิชาพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์จากเทปบันทึกภาพได้ผลดีกว่าการเรียนจากการบรรยาย ข้อเสนอแนะ การใช้เทปบันทึกภาพเรื่องพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์จะต้องวางแผนงานอย่างรัดกุม ผู้สอนต้องเข้าใจคุณสมบัติของโทรทัศน์ เนื้อหาวิชา หลักสูตร ตลอดจนต้องฝึกซ้อมแก้ไขและปรับปรุงบทโทรทัศน์ก่อนสอนจริงหรือก่อนบันทึกด้วยทุกครั้ง ในการถ่ายทำหรือบันทึกต้องมีผู้ร่วมงานที่เข้าใจเรื่องโทรทัศน์ และทำงานประสานกันได้ดีพอ การเลือกภาพยนตร์ที่นำมาตัดต่อกับการบันทึกภาพตามเนื้อหาวิชา ต้องตรงกับวิชาที่จะสอนนั้นและต้องบรรยายเป็นภาษาไทย ในการสอนทางโทรทัศน์ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป เช่นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นสูง จากการทดลองนี้ควรใช้เวลาสอนเรื่องละประมาณ 35 – 40 นาทีจะดีที่สุด และสิ่งสำคัญในการสอนทางโทรทัศน์ก็คือ อย่าปล่อยให้ผู้เรียนชมโทรทัศน์ตามลำพัง เพราะว่าบางบทเรียนผู้เรียนอาจสงสัยและซักถามบ้างจะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้น คือครูโทรทัศน์จะต้องอยู่ในห้องเรียนขณะสอนด้วยเทปบันทึกภาพทุกครั้งด้วย
Other Abstract: Purpose : 1. To construction a videotape series in Teaching Science Behaviors. 2. To compare the achievement of Higher Certificate of Education Students in Teaching Science Behaviors between learning from videotape series and the lecture method. Procedure : First, the investigator constructed TV scripts for the series and rehearsed before videotaping the program. Then, the test of 100 items on Teaching Science Behaviors was constructed and tried out to determine reliability and validity. Only 50 items of high validity were employed. Two groups of 82 students randomly selected from 153 first year students of Higher Certificate of Education were experimented. The control group (41 students) learned Teaching Science Behaviors from lectures; the experimental group ( 41 students) studied from the videotape series. The data , collected from both groups in three experiments, were computed to determine the significant difference of achievement with the Z – test at the .05 level. Result : It was found that there was a significant difference in achievement between the control and experimental groups at .05 level. The students’ achievement in learning Teaching Science Behaviors from videotape series performed better at the posttests than those learning from the lecture methods. Recommendations : In using videotape series in Teaching Science Behaviors, it is recommended that (1) the instructor should have a thorough understanding of television medium, and television presentations, live, or prevideotape; (2) cooperation from concerned production personnel are needed to guarantee efficiency of the program, (3) film footages selected for inserts should be very relevant to the content and students’ experience. If possible, foreign sound versions should be dubbed into Thai; (4) each television presentation should be about 35 – 40 minutes long, and used for specific purposes, such as Science demonstrations where steps and details could be observed; and (5) while using videotaped lessons, the instructor should be present in class to motivate students’ interest.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25882
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisanu_Su_front.pdf472.15 kBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_ch2.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_ch3.pdf439.9 kBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_ch4.pdf279.3 kBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_ch5.pdf376.45 kBAdobe PDFView/Open
Wisanu_Su_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.