Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25883
Title: | การตลาดของเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Marketing of electric circuit breakers for residences in Bangkok metropolitan area |
Authors: | วิษณุ อ่ำมี |
Advisors: | สุภาภรณ์ พลนิกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาทางด้านการตลาดของเครื่องป้องกันอันตราจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะการตลาดของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้กำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วอันเป็นผลเนื่องมาจากประชาชนเพิ่มความสนใจในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้นซึ่งถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์เมื่อได้ปัจจัยพื้นฐานทั้งสี่ครบแล้วย่อมต้องแสวงหาความปลอดภัยเป็นประการต่อมา นอกจากนี้ข่าวสารจากทางราชการและสื่อมวลชนทำให้ประชาชนได้รับรู้อุบัติภัยประจำวันอันเนื่องมาจากการใช้ไฟฟ้า ซึ่งปีหนึ่งๆสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาทอันเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีมูลค่ามหาศาล ผู้เขียนจึงตระหนักในข้อนี้และสนใจปัญหาที่เกิดขึ้นอีกทั้งต้องการศึกษาทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อยู่แล้ว จึงเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขึ้นมา จากการศึกษาในส่วนของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายโดยการสัมภาษณ์โดยตรงพบว่าในตลาดปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิตและผู้จำหน่ายดำเนินงานเป็นธุรกิจเอกเทศเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เพียงประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้นเป็นเพียงธุรกิจที่ใช้วิธีรวมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในสายผลิตภัณฑ์เดียวกันดำเนินงานเป็นธุรกิจผู้จำหน่ายขึ้นมา ธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์เป็นเอกเทศมีทั้งผลิตเองและสั่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ การผลิตในประเทศมีมูลค่าน้อยโดยการสั่งซื้อวัสดุสำเร็จรูปมาประกอบในโรงงานในประเทศส่วนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศปีหนึ่งๆ มีการสั่งซื้อมูลค่ากว่าร้อยล้านบาท ส่วนการตั้งราคาขายใช้วิธีนำราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปรวมกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อหาราคาสุทธิต่อหน่วยแล้วจึงบวกกำไรที่ต้องการ แต่มีบางยี่ห้อตั้งราคาโดยคำนึงถึงช่องทางการจำหน่ายด้วย ด้านช่องทางการจำหน่ายส่วนใหญ่เริ่มจากผู้ผลิตโดยส่งไปยังตัวแทนจำหน่าย และตัวแทนจำหน่ายย่อย (ถ้ามี) จึงถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย มีการจัดงานแสดงสินค้า มีการโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร เป็นต้น สมมุติฐานที่ตั้งไว้คือเหตุผลสำคัญที่สุดของผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยคือเพื่อป้องกันการเสียชีวิตเนื่องจากไฟฟ้าดูด ราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อยี่ห้อของเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า สำหรับที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค และการส่งเสริมการจำหน่ายที่สำคัญที่สุดสำหรับเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยคือการใช้พนักงานขายซึ่งบริษัทส่งไป จากการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภค ปรากฏว่าเหตุผลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.04) ซื้อเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยเพราะกลัวไฟฟ้าเดินลัดวงจรจนเกิดอัคคีภัย ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.77) มีความเห็นว่าคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อยี่ห้อของเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย และการส่งเสริมการจำหน่ายที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.40) ทราบข้อมูลคือจากคำแนะนำของผู้เคยใช้มาก่อน ผู้เขียนเสนอให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายกับหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เช่น กองตำรวจดับเพลิง กองบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น ตระหนักในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยการร่วมมือกันเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติภัยที่เกิดขึ้นประจำวันตลอดจนมีการสาธิตวิธีป้องกัน นอกจากนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน เช่น ขยายสินเชื่อการลงทุน ออกกฎหมายลดภาษีนำเข้าสำหรับวัสดุที่จะนำมาผลิตในประเทศเพื่อเป็นการลดต้นทุนให้ต่ำลง อันเป็นผลต่อการลดราคาขายให้ต่ำลงได้ จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและของประเทศด้วย |
Other Abstract: | A study of the marketing of electric circuit breakers for residences in Bangkok Metropolitan area is of great interest because of the rapid expansion of the market for this product owing to the increasing need for improved safety for life and property. Human nature dictates that men first of all struggle for the four basic needs of existence. After attaining these requirements, men strive for safety and security. Furthermore, general public information and daily news reports about fire intensify man’s concern for life and property. These fire damages cost the Thai economy nearly one billion baht a year. Because of these excessive losses and damages and because of the writer’s personal interest in the expanding market for these circuit breakers, this topic has merited investigation. Research was conducted through direct interview of both manufacturers and suppliers. Surveys reveal that only about 20% of both parties deal solely in this product. The rest of the businesses deal in other related products as well. For those business operating only in conjunction with electrical circuit breakers, they are either producers or agents of foreign and domestic goods. There is little domestic manufacture of this product, so the bulk of these goods are imported from abroad by specific agents or general distributors. Eventhough there is some local manufactures, it is also dependent on imports of spare parts from other countries. So, when setting the market price for circuit breakers, both manufacturers and distributors generally use the mark- up policy. This is also determined by the channel of distribution. Businesses dealing solely in this product are those which launch them through advertisement on television and radio, in newspapers and magazines, and by exhibitions. The writer’s hypothesis is that the most important reason for the purchase of electric circuit breakers for residences is that they make lives safer. Price is the determining factor regarding brand selection, so promotion of the product depends largely on the salesmen. By surveying consumer attitudes, it was discovered that 56.04% purchased these products due to fear of fire, 80.77% felt that quality was the most important factor in the purchase of these products, and 54.4% based their decisions on information from actual users. The writer suggests that the Government and private sector, including the Fire Department, public welfare agencies, manufacturers and suppliers, recognize the need for a cooperative effort to distribute information about the dangers of using electricity in order to promote this product. In addition, the Government ought to financially support current and prospective manufacturers and distributors who want to invest in these business, especially by extending credit to them and by reducing import taxes on parts and materials for manufacture. As a result, prices would decrease, enabling more consumers to purchase the product. Indirectly, people will feel that their lives and property are more secure due to the use of these products. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25883 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisanu_Um_front.pdf | 506.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_ch1.pdf | 560.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_ch2.pdf | 652.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_ch3.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_ch4.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_ch5.pdf | 655.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Um_back.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.