Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25921
Title: แนวทางวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
Other Titles: Quidelines for industrial development planning in Rayong Province
Authors: สวัสดิ์ ใจเย็น
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดระยอง มีบทบาทสำคัญในหลานด้าน คือ เป็นจังหวัดหนึ่งในแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณพื่นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในอันดับสูง และถูกกำหนดให้เป็นเมืองรองของพื้นที่เฉพาะ 3 จังหวัดบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ด้วย และที่สำคัญคือพื้นที่มาบตาพุดซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดระยองได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า จังหวัดระยองจะมีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากในอนาคต การศึกษานี้ จึงพยายามศึกษาเพื่อแสวงหาโอกาสหรือศักยภาพต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง โดยพิจารณาในด้านทรัพยากรชนิดต่าง ๆ สภาพปัจจัยหลัก และปัจจัยสนับสนุน และนโยบายรัฐบาลประกอบกับสภาพอุตสาหกรรมที่มีอยู่ ทั้งนี้ การพิจารณาด้านทรัพยากรจะศึกษาไปถึงเขตพื้นที่ต่อเนื่องด้วย ผลการพิจารณาพบว่า จังหวัดระยองมีทรัพยากรพอสมควรต่อการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะผลผลิตทางด้านการเกษตร นอกจากนั้นในเขตพื้นที่ต่อเนื่องก็มีทรัพยากรหลายชนิดพอที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดระยองได้อย่างดี ส่วนสภาพปัจจัยหลักและปัจจัยสนับสนุนที่จำเป็นต่อการประกอบการอุตสาหกรรมจังหวัดระยองมีพร้อมและเพียงพอ ทางด้านนโยบายของรัฐบาลก็สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้เป็นอย่างดี จึงสรุปได้ว่าโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดระยองมีอยู่สูง และเมื่อพิจารณาวิเคราะห์เพื่อกำหนดประเภทและชนิดอุตสาหกรรมที่เหมาะสมสำหรับจังหวัดระยอง ผลปรากฏว่า มีอุตสาหกรรมที่เหมาะสม 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่ผลิตตามความต้องการของตลาดท้องถิ่นและภาค อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมที่อาจเคลื่อนย้ายจาก กทม. และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมหลัก รายละเอียดของชนิดอุตสาหกรรม 5 ประเภทดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นวัตถุดิบ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมพืชผลการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม ประเภทอุตสาหกรรมที่ผลิตตามความต้องการของตลาดท้องถิ่นและภาค ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมผลิตภาชนะบรรจุของ ประเภทอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้ากีฬา อุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า และอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์ ประเภทอุตสาหกรรมที่อาจเคลื่อนย้ายมาจาก กทม. ได้แก่ อุตสาหกรรมห้องเย็น อุตสาหกรรมพลาสติค อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมี และประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติค อุสาหกรรมเคมีภัณฑ์พื้นฐาน และอุตสาหกรรมกระจก
Other Abstract: Rayong province is of significances in many aspects, that is, being among one of the specific areas which receive a high priority in the Fifth Plan. Particularly with regard to the Eastern Seaboard Development Plan. Among its leading significances is the Map Ta Phut area, an integral part of the Rayong province, which is now becoming the development target for industrial development of the Eastern Seaboard Plan. It is therefore clear that in future Rayong will be of paramount importance in industrial sector. This study attempts to find out if there are opportunities and potentialities for industrial development by considering the natural resources, existing conditions, environmental factors, government policies and natural resources of nearby provinces. The results of finding show that Rayong has sufficient amount of resources for industrial development, especially with regard to the productivity of agriculture. In addition, in the adjacent areas, several kinds of resources are abundant enough to support Rayong Industrial Development, not to include main surrounding and supporting factors for industrial development which Rayong already has. Apart from that the government policies gives a green light for the support of industrial development in this area. It therefore could be concluded that Rayong has a high opportunity for industrial development. With careful consideration as to determine categories and types that Rayong is appropriate for five industrial categories:- - Resource-Based Industries - Local-Regional Market-Oriented Industries - Export Processing Industries - Decentralization of industries - Down Stream Industries With respect to the details of industrial types among the 5 categories:- - the Resource-Based Industries are mining industries, glass and mirror industries, ceramic industries, agro-industries, marine fish industries - the Local-Regional Market-Oriented Industries are steel and iron industries, animal food industries and industries with containers -the Export Processing Industries are sporting shoes industries, integrated circuits industries and artificial flower industries - those industries that may move from Bangkok Metropolis (Decentralization industries) are cold storage industries, plastic industries, milk industries and basic chemical industries - the Down Stream Industries are plastic industries, basic chemical industries and mirror industries
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25921
ISBN: 9745666025
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawat_Ch_front.pdf745.82 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch1.pdf406.02 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch2.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch3.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch4.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch6.pdf915.41 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch7.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_ch8.pdf600.87 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ch_back.pdf833.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.