Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25923
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี จากการจัดกิจกรรมนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 6
Other Titles: Opinion of school administrators and teachers concerning citizenship characteristics derived from organizing student activity programmes in the lower secondary schools in educational region six
Authors: สวัสดิ์ นิเทศวรวิทย์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 6 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 6 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากร 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 189 คน ครูจำนวน 375 คน รวมเป็นประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทั้งสิ้น 564 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling ) เครื่องมือในการวิจัย ใช้แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากการจัดกิจกรรมนักเรียน โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากแบบสำรวจที่ส่งไป 564 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 491 ฉบับ หรือร้อยละ 87.05 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้ค่าที ( t – test ) ผลการวิจัย ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ 1. เกี่ยวกับสภาพการจัดกิจกรรมนักเรียนไนปีการศึกษา 2526 พบว่า กิจกรรม ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์โรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างจัดทุกโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ กิจกรรมส่งเสริมวิชาการต่าง ๆ ในหลักสูตรและกิจกรรมศาสนามากกว่าร้อยละ 99 ของกิจกรรมทั้งหมด ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ จัดเป็นอันดับรองลงไป และกิจกรรมส่งเสริมการใช้สินค้าไทยเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดน้อยที่สุด 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแต่ละกิจกรรมพบว่า กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีในระดับมากทุก ๆ ด้าน รวมทั้ง 36 ด้าน ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดความเป็นพลเมืองดีในระดับมากบางลักษณะ ส่วนกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมทัศนศึกษาที่ก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีในระดับมากมีน้อย 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแต่ละลักษณะทั้ง 36 ด้าน พบว่า ลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และด้านความภูมิใจในความเป็นไทยเป็นลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่สามารถเกิดขึ้นในระดับมากในทุก ๆ กิจกรรมที่จัด ส่วนลักษณะด้านอื่น ๆ เกิดในระดับมากในบางกิจกรรม 4. ในการวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเกือบทุกกิจกรรมที่จัด ยกเว้นกิจกรรมการใช้ห้องสมุด กิจกรรมส่งเสริมการใช้สินค้าไทยและกิจกรรมนันทนาการ
Other Abstract: Purposes of Research 1. To study opinions of school administrators and teachers concerning citizenship characteristics derived from organizing student activity programs in lower secondary schools in Educational Region Six. 2. To compare opinions of school administrators and teachers concerning citizenship characteristics derived from organizing student activity programs in lower secondary schools in Educational Region Six. Research Procedures : Sampling of this study composed of 189 school administrators and 375 teachers which were selected by stratified random sampling, made the total to be 564 in numbers. The instrument used in this study was a questionnaire which was construct by the researcher in the from of check list and rating scale. Of the total 564 questionnaires sent of, 491 or 87.05 percent were completed and returned. Date, then were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard diviation, and t - test. Research Findings ; 1. Concerning the student activities programs operated in the lower secondary schools in Educational Region Six, it was found that boy – scouts and girlscouts promoting activity, and the extra curriculum activity and Religious activity more than 99 percent of schools operated. Other activities were also operated in school at the lower percentages and the Thai consuming promotion activity was operated at the least percentage. 2. Concerning activity which brought about the citizenship characteristic, it was found that the boy – scouts and girl – scouts activity brought about at high level in all ospects, the others, most aspects brought at high level only few aspect brought about at the lower level, except in the aspects of conservation of arts and field trips mostly brought about of the lower level and few at the high level. 3. Concerning citizenship characteristics deriving from student activity programs in schools it was found that the characteristics of royalty to nation, religion, and the King, and proud to be Thai were the characteristics which were derived at the high level in all activities operated. The other characteristics were derived at the high level in only some activities. 4. There is statistical significant difference at the .05 level in almost every activity operated in schools except library operated activity, Thai consuming promotion activity, and recreation activity which do not show a significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25923
ISBN: 9745634212
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawat_Ni_front.pdf494.45 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_ch1.pdf669.64 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_ch3.pdf409.28 kBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_ch4.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_ch5.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sawat_Ni_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.