Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25936
Title: | การปรับปรุงระบบการควบคุมพัสดุคงคลังของโรงงานผลิตน้ำตาล |
Other Titles: | Inventory control system improvement in sugar factory |
Authors: | ก้อง สุวรรณธารารังษี |
Advisors: | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน อนุวัฒน์ เลอมานุวรรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบพัสดุคงคลัง โดยมีกรณีศึกษาคือโรงงานผลิตน้ำตาล มีการผลิตแบต่อเนื่องตามฤดูกาล ประกอบด้วยช่วงสองช่วงคือช่วงผลิต และช่วงบำรุงรักษาเครื่องจักร จากข้อมูลพัสดุคงคลังแสเงให้เห็นว่า พัสดุที่หมดความต้องการมีมูลค่าสูงประมาณ 4.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 13% และพัสดุเคลื่อนไหวช้ามีมูลค่าสูงประมาณ 8.5 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% ของมูลค่าพัสดุคงคลังทั้งหมด ซึ่งจะเห็นว่าระบบการบริหารพัสดุไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งในช่วงการบำรุงรักษาเครื่องจักร ยังเกิดการขาดแคลนของพัสดุขึ้นส่งผลให้เกิดการล่าช้าในการเริ่มต้นฤดูการผลิตไป 7 วัน ค่าเสียโอกาสอันเนื่องมาจากการพัสดุขาดแคลนคิดเป็นปริมาณน้ำตาลดิบได้เท่ากับ 6,300 ตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 45.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณน้ำตาลทรายขาวได้เท่ากับ 4,200 ตัน หรือเท่ากับ 40.1 ล้านบาท งานวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลพัสดุคงคลัง แล้วจึงแบ่งกลุ่มพัสดุคงคลังออกเป็น 4 กลุ่มตามจุดประสงค์การใช้งาน คือ กลุ่มพัสดุอะไหล่ กลุ่มพัสดุสิ้นเปลือง กลุ่มพัสดุสนับสนุนการผลิตและกลุ่มอื่นๆ จากนั้นกำหนดเกณฑ์เพื่อแบ่งพัสดุตามความสำคัญออกเป็น 3 ประเภทคือ พัสดุประกันความเสี่ยง พัสดุร่วมกัน และพัสดุปกติ โดยมี 3 เกณฑ์คือ มูลค่าการเก็บ ระยะเวลาในการจัดหา อัตราหมุนเวียนพัสดุ และทำการกำหนดนโยบายเพื่อใช้ควบคุมปริมาณพัสดุคงคลังโดยกำหนดค่าสูงสุด-ต่ำสุดของแต่ละรายการ นโยบายที่นำมาใช้ได้แก่ การคำนวณ EOQ กับการกำหนดระดับมูลภัณฑ์กันชนสำหรับรายการที่มีระยะเวลาสั่งซื้อยาวกลุ่มพัสดุที่มีอัตราใช้คงที่ การกำหนดปริมาณสูงสุด-ต่ำสุดคงที่ หรือระบบสองถัง หรือสั่งซื้อเท่าจำนวนที่ต้องการควบคู่กับการกำหนดระดับมูลภัณฑ์กันชนสำหรับกลุ่มพัสดุที่มีอัตราการใช้ไม่แน่นอน ซึ่งนโยบายควบคุมทำให้ประหยัดต้นทุนจม โดยยอดพัสดุคลเหลือลดลง จากเดิมมูลค่าประมาณ 34.9 ล้านบาทลดลงเหลือประมาณ 31.2 ล้านบาทหรือประมาณ 11.87% ของมูลค่าพัสดุคงคลังคงเหลือ หรือเท่ากับ 2.78 ล้านบาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บลดลงเท่ากับ 34,768.77 บาทต่อปี มีการจัดทำแผนการใช้งานพัสดุเพื่อเป็นการป้องกันการขาดแคลนของพัสดุ ซึ่งทำให้ไม่เกิดการล่าช้าในการซ่อมบำรุง |
Other Abstract: | This research objective is to study and improve the inventory system efficiency. A case study is a sugar factory that has continuous and seasonal production. It includes 2 periods, which are operation period and maintenance period. The inventory information shows that the inventory management system was not efficient, the inventory value of dead stock was about 4.8 million baht, 13% and the inventory value of sleeping stock was about 8.5 million baht, 23% of the overall inventory value. In maintenance period the shortage items occurred and effected to a production plan at the beginning of the production season, 7 delayed days. The opportunity cost of part shortage was about 6,300 metric ton of raw sugar, 45.9 million baht or about 4,200 metric ton of refine sugar, 40.1 million baths. This research approach began by gathering the inventory information, and then inventory items were categorized in four types, by functional objective, which are spare part item, supplies item, supporting item, and the others. Next, defined the inventory item status in three groups by the important factors, on-hand quantity, procurement lead-time, and inventory turnover. The inventory status is insurance item, common item, and local item. After that, determining the maximum-minimum quantity policy to control limit for the inventory items. The economic order quantity, EOQ, and safety stock were applied for the steady usage demand and long procurement lead-time period items, the constant max-min interval or two bin system or order-as-required with safety stock level are applied for high variation usage demand. This research enables improvement by reducing cost on hand inventory, the sunk from, 34.9 million baht to 31.2 million bath or 11.87% of overall or 2.78 million baht per year. Reduce carrying cost 34,768.77 bath per year. The material plans have prepared for protected the shortage part, a cause of a maintenance plan delay. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25936 |
ISBN: | 9741738382 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kong_su_front.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch1.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch2.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch3.pdf | 9.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch4.pdf | 7.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch5.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch6.pdf | 15.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_ch7.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_su_back.pdf | 28.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.