Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25967
Title: ปัญหาของประสบการณ์นิยมในการเข้าใจประสบการณ์
Other Titles: The problems of empiricism in understanding experience
Authors: สรยุทธ ศรีวรกุล
Advisors: มารค ตามไท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาของงานวิจัยนี้คือ ปัญหาว่าชาวประสบการณ์นิยมจะประสบกับปัญหาอะไรบ้างในการอธิบานปรากฏการณ์ และในท่ามกลางปัญหาทั้งหลายเหล่านั้นปัญหาอะไรสำคัญที่สุดซึ่งสามารถที่จะสั่นคลอนรากฐานของความรู้ตามทรรศนะของประสบการณ์นิยม งานวิจัยครั้งนี้จึงมีขึ้นเพื่อสืบสาวดูว่าวิทยาศาสตร์ตามทรรศนะของประสบการณ์นิยมสามารถดำรงอยู่ได้หรือไม่ ปัญหานี้กำลังเป็นที่สนใจในวงการญาณวิทยาและปรัชญาวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ในตอนแรกผู้เขียนจะวิเคราะห์มโนภาพของประสบการณ์ตามแนวประสบการณ์นิยมคลาสสิคของฮูม เพราะผู้เขียนเชื่อว่าฮูมเป็นคนที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ชัดเจนที่สุด การวิเคราะห์ของเขาเป็นแบบอย่างที่ชาวประสบการณ์นิยมยุคหลัง ๆ เจริญรอยตาม หลังจากนั้นผู้เขียนจะวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของทฤษฎีวิทยาศาสตร์และมโนภาพของกฎตามทรรศนะของชาวปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยา ทั้งหมดที่ผู้เขียนต้องการจะชี้ให้เห็นในขั้นตอนที่ 1 นี้ก็คือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวประสบการณ์นิยมในการที่จะขจัดอภิปรัชญาออกไปให้หมดจากวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 ผู้เขียนจะพยายามชี้ให้เห็นความล้มเหลวของประสบการณ์นิยมคลาสสิคในการที่จะแยกกฎออกจากข้อสรุปทั่วไปซึ่งจริงโดยบังเอิญและการนิ่งเงียบต่อปัญหาดังกล่าวของชาวปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยา ต่อจากนั้นผู้เขียนจะวิเคราะห์ถึงมูลฐานทางประสบการณ์ของความรู้และสถานภาพทางประสบการณ์ของกฎและจะพยายามชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของประสบการณ์นิยมในการอ้างเหตุผลสนับสนุนวิธีการอุปนัย ขั้นตอนที่ 3 กล่าวถึงปัญหาหลักที่ทำให้ชาวปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยาพ่ายแพ้ ต่อจากนั้นจะกล่าวถึงทางเลือก 2 ทาง คือ อุปกรณ์นิยมหรือสัจนิยม ถ้าเลือกทางแรกก็จะจบลงที่อำเภอใจของนักวิทยาศาสตร์ ถ้าเลือกทางที่สองก็จะหนีไม่พ้นอภิปรัชญา วาน ฟราสเซิน ไม่เลือกทั้งสองทางแต่กลับเสนอประสบการณ์นิยมเชิงสร้างเสริมขึ้นมา ขั้นตอนที่ 4 ผู้เขียนจะพยายามสรุปว่า วาน ฟราสเซิน ก็เป็นเช่นเดียวกับชาวปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยาในแง่ที่ว่าพวกเขาต่างก็นิ่งเงียบต่อปัญหาการแยกกฎออกจากข้อสรุปทั่วไปซึ่งจริงโดยบังเอิญ อย่างไรก็ดี วาน ฟราสเซิน แตกต่างจากชาวปฏฐานนิยมทางตรรกวิทยาในแง่ที่ว่าในขณะที่ชาวปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยามุ่งไปที่ระดับวากยสัมพันธ์ วาน ฟราสเซิน มุ่งไปที่ระดับอรรถศาสตร์แต่ทั้งสองระดับต่างก็พบชะตากรรมแบบเดียวกัน คือ การติดเชื้อทฤษฎี
Other Abstract: The problem of this research is what are the difficulties the empiricists confront in explaining certain phenomena, Then, among these difficulties, which ones are the most influential to strike the Empiricist foundation of knowledge. Thus the research is performed in order to investigate whether or not scientific knowledge according to the Empiricist views can live. This problem is once more of interest among contemporary epistemologists and philosophers of science. This research is divided into 4 staged. First, I analyze the concept of experience according to Humean Classical Empiricism because Hume, I believe, was the philosopher who most clearly demonstrated this area. His analysis can be taken for granted as the culmination for the later empiricists. Then I speak of structure of scientific theories and the concept of laws according to the logical positivists. Briefly speaking, all I would like to demonstrate in this stage is the consensus of the empiricists in demarcating metaphysics from science. Second, I will try to show the failure of Humean Classical Empiricism in distinguishing genuine laws from accidental regularities as well as the disregard of the logical positivists upon the so-called problem. Then I will analyze the empirical foundation of knowledge together with the empirical status of laws and try to indicate the failure of the empiricists in justifying the principle of induction. Third, I will describe main difficulties which cause the logical positivists to surrender. Afterwards two alternatives are offered: Instrumentalism or realism. If the farmer is chosen, the empiricists will finally find themselves with the individual or collective whim of scientist. If the latter is chosen, they will inevitably confront metaphysics their dreadful enemy. Bas C. van Fraassen a contemporary empiricist chooses neither the former nor the latter. On the contrary, be develops Constructive Empiricism instead. Fourth, I will try to conclude that van Fraassen is similar to the logical empiricists in the way that they all ignore the problem of demarcation between laws and accidental generalisations. However, van Fraassen is different from the logical positivists in the way that be aims at the level of semantics whereas the logical positivists are concentrated at the level of syntax. Unfortunately, both levels inevitably find the same fate, i.e., theory –laddenness.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25967
ISBN: 9745645621
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorayut_Sr_front.pdf417.75 kBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_ch1.pdf375.38 kBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_ch2.pdf989.71 kBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_ch3.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_ch5.pdf697.24 kBAdobe PDFView/Open
Sorayut_Sr_back.pdf367.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.