Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25995
Title: งานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยพลศึกษา สังกัดกรมพลศึกษา
Other Titles: The education administrative tasks of physical education colleges under the auspices of The Department of Physical Education
Authors: ดิษพงค์ วิเศษไชยศรี
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารงานของ วิทยาลัยพลศึกษา สังกัดกรมพลศึกษา 2.เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยพลศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ งานบริหารงานวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักศึกษา งานธุรการ การเงิน อาคารสถานที่และการบริการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3.เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารของวิทยาลัยพลศึกษา วิธีดำเนินงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ ผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษา จำนวน 56 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และฝ่ายวิชาการ และอาจารย์จำนวน 249 คน ของวิทยาลัยพลศึกษาทั้ง 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบ กำหนดตัวเลือก และแบบประเมินค่า ถามเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาและปัญหาการบริหารของวิทยาลัยพลศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ด้านคือ งานบริหารวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักศึกษา งานธุรการ การเงิน อาคารสถานที่และบริการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ใช้สอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม โดยส่งแบบสอบถามไป 313 ฉบับ ได้รับคืนมาและใช้ได้ 305 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.44 ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามกำหนดตัวเลือกเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารงานขิงวิทยาลัยพลศึกษา ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ตอบโดยเฉพาะ ส่งแบบสอบถามไป 14 ฉบับ ได้รับคืนมาทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. วิทยาลัยพลศึกษาทั้งหมดจะมีโครงสร้างของระบบบริหารการศึกษาคล้ายคลึงกัน คือเป็นแบบสายบังคับบัญชาสายเดียวทุกแห่ง โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในวิทยาลัย มีผู้ช่วยผู้อำนวยการสามฝ่ายคือ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และฝ่ายวิชาการ มีแผนภูมิแสดงโครงสร้างการแบ่งสายงานบังคับบัญชา มีการเขียนกำหนดบทบาทหน้าที่ และขอบข่ายความรับผิดชอบของตำแหน่งต่างๆ มีการจัดทำคู่มือและระเบียบการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ไว้เด่นชัด บรรยากาศในการทำงานเปิดเผย สามัคคี มีอิสระ และให้ความสำคัญต่อฐานะตำแหน่งมากพอสมควร การบริหารงานมักเป็นไปตามกฎเกณฑ์มากพอสมควร มักมีระบบสื่อสารภายใน มีประสิทธิภาพรวดเร็ว และทั่วถึง การตัดสินใจในปัญหาของวิทยาลัยมักใช้คณะกรรมการการบริหารของวิทยาลัย 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยพลศึกษา อยู่ในระดับน้อยมี 4 ด้านคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ งานบุคคล งานธุรการ การเงิน อาคารสถานที่และการบริการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมากมีด้านเดียวคือ ด้านการบริหารงานบริหารกิจการนักศึกษา 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานการศึกษาของวิทยาลัยพลศึกษา ว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 4 ด้าน คือ ด้านปัญหาการบริหารงานวิชาการ งานบุคคล งานธุรการการเงิน อาคารสถานที่และบริการ ส่วนความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากมีด้านเดียวคือ ด้านการบริหารกิจการนักศึกษา
Other Abstract: The Purposes of The Study: 1. To study the structure of educational administrative system of Physical Education Colleges under the auspices of the Department of Physical Education. 2. To study the educational administrative tasks of physical Education Colleges, especially in the areas of academic, personnel, student affairs, business which included finance, buildings and grounds and services, and public relations administration. 3. To study the problems concerning the educational administrative tasks of Physical Education Colleges. Procedures: The sample used in this research was composed of two groups of persons: 56 administrators, (They are director, assistant directors in business, assistant directors in student affairs, and assistant directors in academic adminstration) and 249 teachers from 14 Physical Education Colleges. The instruments used in this study were two forms of questionnaires. Form one included a checklist, rating scale questionnaire concerning the tasks of educational administration of Physical Education Colleges. The items of the questionnaire included five areas of educational administrative;-tasks as-stated above. Three hundred and thirteen copies of the questionnaires were distributed among the two groups of the population. Three hundred and five copies, or 97.44 persent, were returned. Form two of the questionnaire was especially constructed for the directors of Physical Education Colleges. It included a checklist questionnaire concerning the structure of the administrative system of Physical Education Colleges. Fourteen copies of the questionnaire were distributed and all, or 100 percent, were returned. The data were analysed by using percentages, means, and standard deviations. Findings: 1. The structure of the administrative system of all Physical Education Colleges are similar. They are the line form of structure. The director of Physical Education Colleges has the highest responsibility in the college. Three assistants directors are appointed to help with the work in business, student affairs, and academic administration. In every college there are both an organization chart and written clearly function and responsibility to show the span of control of each position. There are manuals and description of regulation for work with clearly written policy and objectives. The climate in the organization is open, unified, and free. The people realize the importance of their position and status moderately. The communication system is well organized through most of the organization. The decision-making is made by the committee in solving the problems of the college. 2. The opinions of the administrators and teachers of Physical Education Colleges concerning the carried out the educational administrative tasks are at the below average level in 4 areas stated above. The only area in student affairs is rated at a high level. 3. Problems concerning administrative tasks in Physical Education Colleges are rated at below average level in 4 areas by the administrators and te[ac]hers. The only one area, student affairs, is rated at a high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25995
ISBN: 9745634921
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dispong_Vi_front.pdf534.3 kBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_ch1.pdf713.38 kBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_ch2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_ch3.pdf432.73 kBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_ch4.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_ch5.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Dispong_Vi_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.