Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26054
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการวิเคราห์ความถดถอยเชิงซ้อน และการวิเคราห์จำแนกกลุ่ม เพื่อใช้ในการแยกกลุ่ม 2 กลุ่ม
Other Titles: A comparative study between multiple regression and discriminant analysis in classifying 2 groups
Authors: วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาเปรียบเทียบการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนและการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มเพื่อใช้ในการแยกกลุ่ม 2 กลุ่ม เมื่อกำหนดให้ตัวแปรอิสระเข้าสมการพร้อม ๆ กัน ในการวิเคราะห์ทั้งสองวิธี และเมื่อกำหนดให้ตัวแปรอิสระเข้าสมการโดยวิธีการถดถอยขั้นบันได (Stepwise regression) เปรียบเทียบกับวิธีขั้นตอนของ Mahalanobis ซึ่งทำการวิเคราะห์คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ (SPSS[superscript x]) จากข้อมูลที่ประกอบไปด้วยสัดส่วนของค่า 1 และ 0 ของตัวแปรตามสองด้าน (dichotomous) แบบต่าง ๆ คือ .50: .50 .55: .45 .60: .40 .65: .35 .70: .30 .75: .25 .80: .20 .85: .15 .90: .10 และ .95: .05 โดยที่สัดส่วนแต่ละแบบใช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 10 20 30 40 และ 60 ผลการศึกษาพบว่า ทุกแบบของสัดส่วนของตัวแปรตามและทุกขนาดตัวอย่าง เกณฑ์ที่เหมาะสมในการแยกค่าพยากรณ์ที่ได้จากสมการการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ [สูตรสมการการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน] เมื่อ y [superscript ^ ] [subscript 1i ]และ y [superscript ^ ] [subscript 2i ] แทนค่าพยากรณ์ที่ได้จากสมการถดถอยเชิงซ้อน เมื่อตัวแปรตามมีค่าเป็น 1 และ 0 ส่วน n[subscript 1 ] และ n[subscript 2 ] แทนขนาดตัวอย่าง เมื่อตัวแปรตามมีค่าเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ผลการแยกกลุ่มโดยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนใกล้เคียงกับผลการแยกกลุ่มโดย ใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม นอกจากนี้สมการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนและการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มจากทุกแบบของสัดส่วนของตัวแปรตาม และทุกขนาดตัวอย่าง พบว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ ตัวแปรอิสระมีลำดับความสำคัญสอดคล้องกัน สัดส่วนของค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยมีค่าใกล้เคียงกับสัดส่วนของค่าสัมประสิทธิ์การจำแนกกลุ่ม และเครื่องหมายของค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งสองวิธี ไม่ว่าจะมีเครื่องหมายต่างกันหรือเหมือนกัน ก็ให้ผลสรุปที่สอดคล้องและคล้อยตามกันทั้งสองวิธี และในการวิเคราะห์โดยวิธีถดถอยขั้นบันไดและวิธีขั้นตอนของ Mahalanobis ณ ระดับนัยสำคัญเดียวกัน ชุดของตัวแปรอิสระที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการก็เป็นตัวแปรอิสระชุดเดียวกัน ในกรณีที่การวิเคราะห์มีตัวแปรหุ่น (dummy variable) จำนวนมาก การวิเคราะห์ทั้งสองวิธี ก็ยังสามารถแยกกลุ่มได้ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: In comparative study between multiple regression analysis and discriminant analysis for the purpose of classifying 2 groups, two types of comparison are between both analyses. Firstly, independent variables are inserted into the equation by direct method to both analyses. Secondly, they are inserted into the equation by stepwise regression method to the former analysis and stepwise discriminant of Mahalanobis method to the latter. These methods are calculated by statistical package for the social sciences (SPSS…..) for the data comprising various types of proportion of value 1 and 0 of dichotomous dependent variables. The types of proportion are .50: .50, .55: .45, .60: .40, .65.35, .70:.30, .75:.25, .80: .20, 85: .15, .90:10 and .95:.05 each with the sample sizes of 10, 20, 30, 40 and 60. The results of the study show that, with all types of proportion of dependent variables and all sample sizes, the suitable criteria in separating the predicted values obtained from multiple regression equation into 2 groups is (multiple regression equation)where y [superscript ^ ] [subscript 1i ]and y [superscript ^ ] [subscript 2i ]are the predicted values and n[subscript 1 ] and n[subscript 2 ] are the number of sample sizes when the dependent variables have values of 1 and 0 respectively. By using this criteria, the results of both analyses are similar. Moreover, from the equation obtained from multiple regression analysis and discriminant analysis with different proportions of dependent variables and all sample sizes, it was found that some relationship exist, namely: the order of significance of independent variables are associated, the proportion of coefficients in multiple regression is similar to that in discriminant analysis, and the signs of coefficients obtained from these two methods, whether the signs are different of similar, leads to a similar and corresponding result for both methods. Apart from this, in analyzing by stepwise regression method and stepwise discriminant of Mahalanobis method at the same level of significance, the independent variables selected are the same. Furthermore, in analyzing a large number of dummy variables, both analyses can be used to separate the groups similar results.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26054
ISBN: 9745664901
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilailuck_Ch_front.pdf591.43 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_ch1.pdf293.56 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_ch2.pdf466.88 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_ch3.pdf284.81 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_ch5.pdf276.01 kBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_Ch_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.